Mobile Unit :: คนจนผู้ยิ่งใหญ่


สิ่งที่ดิฉันประทับใจคือ แต่ละคณะพยายามตัดทอนงบประมาณของตัวเองลง ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะประหยัดงบประมาณได้มากที่สุด แต่ไม่มีสักคณะที่จะเลิกล้มกิจกรรมแม้จะรู้ดีว่าถ้าลดงบประมาณลงจะต้องทำกิจกรรมนั้นๆ อย่างลำบากมากขึ้นก็ตาม

            ถ้ามีกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเกิดขึ้น  โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. ทำกิจกรรมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง                                           
  2. เป็นกิจกรรมเพื่อการบริการวิชาการแก่สังคม จึงเน้นการให้บริการและความรู้เป็นหลัก                                                     
     
  3. เดินทางสลับกันเดือนละ 1 จังหวัด (สรุปว่าออกต่างจังหวัดทุกเดือนๆ ละ 1 จังหวัดสลับกันไป)
  4. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อครั้งประมาณ 80 คน จาก 16 คณะ 3 หน่วยงาน                                                           
                                                                                            
  5. มีเบี้ยเลี้ยงชนิดตอบแทนน้ำใจที่ไม่มากให้กับทุกคนที่ร่วมกิจกรรม
  6. มีชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่มารอรับบริการมากกว่า 1,000 คนต่อครั้ง                                            
              
  7. ใช้รถบัสขนาด 65 ที่นั่ง 1-2 คัน หรือเสริมรถตู้แทนในบางครั้งของทุกครั้งที่ออกให้บริการ
  8. มีการจัดประชุมเตรียมการกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง
  9. มีการสำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกให้บริการจริงทุกเดือน
.

           เราเรียกกิจกรรมทั้ง 9 ข้อข้างต้นนี้ว่า Mobile Unit ค่ะ

           คำถามคือ ท่านคิดว่า กิจกรรมตลอดทั้งปีนี้ ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการกิจกรรมนี้เท่าไหร่?

           คำตอบคือ

            1. ปี 2549 ได้รับงบประมาณ 3,000,000 บาท

            2. ปี 2550 ได้รับงบประมาณ 2,700,000 บาท

            3. ปี 2551 ได้รับงบประมาณ 2,600,000 บาท

           งบประมาณดังกล่าวจะได้มาจาก 3 แหล่งทุนดังนี้ค่ะ

           1. จากงบประมาณแผ่นดิน

           2. จากงบประมาณรายได้    

           3. จากเงินผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท

           หลังจากได้รับงบประมาณมาแล้ว  จะมีการจัดสรรให้กับแต่ละคณะที่เข้าร่วมกิจกรรม  โดยให้แต่ละคณะเสนอโครงการเข้ามายังหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ และร่วมพิจารณางบประมาณร่วมกัน

           29  ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา เป็นวันพิจารณางบประมาณดังกล่าว  โดยมีผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ) และ ผศ.ดร.เสมอ ถาน้อย (ผู้อำนวยการสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา) เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ และได้รับความร่วมมือจากแต่ละคณะเป็นอย่างดี มีคณะกรรมการตัวแทนจากแต่ละคณะเข้าร่วมประชุม แต่ ปัญหาคือ งบประมาณที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอต่อกิจกรรมที่แต่ละคณะขอมา โดยเกินงบประมาณมาเป็นจำนวนเงิน 7 แสนบาท -_-"

           สิ่งที่ดิฉันประทับใจคือ แต่ละคณะพยายามตัดทอนงบประมาณของตัวเองลง ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะประหยัดงบประมาณได้มากที่สุด  แต่ไม่มีสักคณะที่จะเลิกล้มกิจกรรมแม้จะรู้ดีว่าถ้าลดงบประมาณลงจะต้องทำกิจกรรมนั้นๆ อย่างลำบากมากขึ้นก็ตาม

           ดิฉันขอยกตัวอย่างกิจกรรมของคณะพยาบาลศาสตร์  ที่นำทีมโดย ดร.นงนุช โอบะ และ อาจารย์กุลระวี วิวัฒนชีวิน จัดโครงการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางเพศในเยาวชนจังหวัดพิษณุโลกและกิจกรรมพัฒนาสุขภาพอนามัยความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนปรถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี 

.

 

           กิจกรรมดังกล่าวกระทำในสองจังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุทัยธานี มีการเสนอของบประมาณมาทั้งสิ้น 103,400 บาท  โดยชี้แจงรายละเอียดมาพร้อมสรรพ ดิฉันอ่านรายละเอียดแล้วรู้ได้เลยว่า อาจารย์พยายามประหยัดงบประมาณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ถึงกระนั้นงบประมาณก็ยังเกินความสามารถที่หน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ จะให้การสนับสนุนได้  อาจารย์ทั้งสองก็พยายามตัดทอนงบประมาณลงอีกในทุกๆ ทาง 

            ภาพที่คณะกรรมการแต่ละคณะพยายามช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณที่เกินมา แม้จะขอกันไม่ได้มาก หรืออาจเรียกได้ว่าขอกันมาแบบประหยัดกันสุดๆ แล้วนั้น  ทำให้ดิฉันรู้สึกขึ้นมาในทันทีทันใดว่า "นี่ล่ะมั๊งที่เค้าเรียกกันว่า คนจนผู้ยิ่งใหญ่"  ยิ่งใหญ่ในความรู้สึกของความมีน้ำใจ ที่แม้โครงการเราจะมีเงินงบประมาณให้ไม่มาก ค่าตอบแทนในการออกให้บริการแต่ละครั้งก็น้อยมาก  แต่ทุกคนก็ยังร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจกรรมนี้เสมอมา  จากผู้ให้บริการในแต่ละครั้ง 65 คนในปีแรกที่ดิฉันก้าวมาทำงานที่นี่ จนบัดนี้เกือบจะทะลุ 100 คนแล้วนั้น  เป็นบทพิสูจน์ถึงของความร่วมแรงร่วมใจของคณะทีมอาจารย์และเจ้าหน้าที่ชาวโมบาย แห่ง มหาวิทยาลัยนเรศวรทุกคน

            ถ้าใครๆ เรียกการมีเงินจำนวนน้อยและไม่เพียงพอต่อการใช้ว่า "ความจน" ดิฉันคงเปรียบเทียบไม่ผิดเป็นแน่  ถ้าจะบอกว่า ณ ปัจจุบันนี้หน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ของเรา ยังจนอยู่      

           ขอบพระคุณคณะกรรมการและผู้ประสานงาน อาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมออกให้บริการทุกท่านที่ทำให้ดิฉันได้เห็นกับตาตัวเองว่า "คนจนผู้ยิ่งใหญ่" นั้น เป็นอย่างไร

.

 

           .

หมายเลขบันทึก: 143545เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2007 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เป็นกำลังใจให้ชาวโมบายทุกคนนะครับ
  • คงไม่มีโอกาสได้ไปช่วยงานแล้ว ตอนนี้มาฝึกงานแล้ว
  • ขอบคุณครับ

ชาวแฟนพันธุ์แท้ Mobile unit สู้ๆๆ

ถึงแม้งบประมาณจะน้อยลง...แต่เราไปด้วยใจเกินร้อยค่ะ

       ดูงบประมาณที่พี่แอ๊วนำมาเสนอ ลดลงทุกปีเลยนะครับ แต่โครงการนี้เป็นอะไรที่ทำเพื่อ ชาวบ้านที่รอคอยความช่วยเหลือจากเราจริงๆ อย่างที่พี่แอ๊วบอก เป็นงานบริการประชาชน ซึ่งแต่ละครั้งที่ออกหน่วย จะเห็นว่าจะมีผู้คนมารับบริการอย่างล้นหลาม อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต ที่ไปทุกคนเหนื่อย แต่สิ่งที่ได้กลับมาเมื่อถึงมหาวิทยาลัย คือความอิ่มเอมใจ ที่ได้ออกไปช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยด้วยกัน ยังไงในปีต่อๆ ไปทางมหาวิทยาลัยน่าจะสนับสนุนงานตรงนี้ อย่างน้อยก็อย่าให้เรื่องของงบประมาณ มาเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน เพื่อชาวบ้านตาดำๆ ครับ

ถ้ามีงบน้อยก็ควรเลือกกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่สุดหรือดีที่สุดเท่าที่งบประมาณมีนะครับผมว่า แม้บางกิจกรรมอาจจะเห็นว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนมากก็ตาม แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเราไม่สามารถทำได้ทุกอย่างที่เราต้องการ แต่เราเลือกที่จะทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราทำได้ อาเมน
  • เพิ่งรู้นะเนี่ย.....ว่าลำบากขนาดนี้น่ะ
  • คนที่ได้รับบริการคงซึ้งในน้ำใจน่าดู
  • เป็นกำลังใจให้สู้ๆ

ถ้าใครได้เข้ามาทำตรงนี้จะรับรู้ความรู้สึกได้ทุกรสชาติของชีวิตเลยว่าเป็นอย่างไร  สุข  ทุกข์  เหนื่อย  ท้อแท้  และเครียดกับงบประมาณที่ได้รับ  แต่ก็จะทำต่อไปคะ  ด้วยหัวใจที่แข็งแกร่ง

ขอบพระคุณกำลังใจจากทุกๆ ท่านค่ะ

ซาบซึ้ง ^^"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท