ครูชำนาญการพิเศษ..อีกหนึ่งคุณภาพของโรงเรียน


                                วันนี้เป็นวันสุดท้าย (๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐) ครูที่มีความประสงค์จะขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น ซึ่งครูทั้งหลายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนต้องยื่น วฐ.๑ ผ่านโรงเรียนถึง สพท.จนถึงห้วงเวลาสุดท้าย ๑๖.๓๐ น.  สำหรับโรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม มีครูที่ประสงค์ยื่น วฐ.๑ รอบนี้ รวมจำนวน  ๑๒  คน  แบ่งเป็นชำนาญการ    คน  ชำนาญการพิเศษ  ๙ คน และเชี่ยวชาญ    คน  ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ    คน  รองผู้อำนวยการ    คน  และครู  ๑๐ คน  ต้องขอขอบคุณ คุณครูทุกท่านที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ  การส่ง วฐ.๑ แสดงให้เห็นถึงชัยชนะที่เกิดขึ้นจากพลังใจของตนเองและคนรอบข้าง  เป็นบันไดขั้นที่ ๑ ...เมื่อรอบ เมษายน ๒๕๕๐  มีครูยื่น วฐ.๑ จำนวน ๑๖ คน เข้ารับและผ่านการประเมินด้านที่ ๑ และ ๒  จำนวน ๑๑ คน ยอมถอย ๑ ก้าว เพื่อก้าวใหม่ที่มั่นใจ จำนวน   คน   ปัจจุบันมีครูทั้งหมด ๔๑  คน   มีครูชำนาญการพิเศษ จำนวน    คน  ผมมีความเชื่อมั่นว่า ภายในปี ๒๕๕๒  จะมีครูชำนาญการพิเศษ เพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า  ๑๐  คน จะมีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้นทุกปี...ผมภูมิใจและขอเป็น ๑ แรงใจให้ทุกท่านประสบความสำเร็จได้รับการเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นทุกท่าน

                               

                                 สมัยที่ผมดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๐) วาระแรกที่ผมไป มีครูจำนวน  ๓๘  คน ไม่มี อาจารย์ ๓ (หรือวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ-ในปัจจุบัน) แม้แต่คนเดียว ครูปฏิบัติงานอย่างมีความสุข อยู่กันอย่างสบายๆ สอนกันสัปดาห์ละประมาณ ไม่เกิน ๑๒ คาบ/สัปดาห์ ไม่มีใครสนใจที่ก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่   ผมเสียดายเวลาที่พวกเขาต้องสูญเสียไป...ผมต้องนับ ๑ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู  สร้างและให้โอกาส ๑๐๐%  สำหรับครูที่รักความก้าวหน้า  ปี  ๒๕๔๕  มี ครู ๑ คน เสนอขอกำหนดตำแหน่ง อาจารย์ ๓   ปี ๒๕๔๖-๒๕๔๘  มีครูเสนอขอ จำนวน ๘ คน มีย้ายออกระหว่างปี   คน  ซึ่งรวมทั้งเกณฑ์เก่าและเกณฑ์ใหม่  ผลผลิตแห่งความสำเร็จก็เริ่มจากคนที่    คุณครูเผชิญ  คงพล  อาจารย์   คนแรกนับตั้งแต่ตั้งโรงเรียนมากว่า ๓๐ ปี ฮือฮากันมาก   คนที่  ๒ คุณครูทวีศักดิ์  ศรีกระจ่าง   คนที่    คุณครูสุพล  สละชีพ   คนที่ ๔  คุณครูสมร  เพชรรัตน์   คนที่ ๕  คุณครูนิตยา พงษ์พัฒน   คนที่ ๖  คุณครูสุรเดช  งามสงวน และคนที่ ๗ ล่าสุด คุณครูชัยวัฒน์  ด้วงช้าง   รวม    คน ใน ๔ ปี    เดือนที่ผมบริหารโรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา  ผมสนับสนุนงบประมาณ  เสริมกำลังใจ  ทุกรูปแบบ   ครูที่ส่งได้ ๑๐๐ %  สำหรับครูที่ย้ายออก ๒ คน ภายหลังได้ ๑  คน ยอมถอย ๑ ก้าว    คน....ทำไมผมจึงนำมากล่าวในที่นี้  ด้วยว่าผมมีความสุข  ผมทำหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนได้อย่างสมบูรณ์ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ซึ่งเป็นหน้าที่หนึ่งของการบริหารโรงเรียน  เป็นความทรงจำที่ดี...อย่างน้อยครูชำนาญการพิเศษ ก็ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนที่สูงขึ้น เปลี่ยนแท่งเงินเดือนใหม่  มีเงินประจำตำแหน่ง ๕,๖๐๐ บาท/เดือน และเงินตอบแทนพิเศษ อีก ๕,๖๐๐  บาท/ เดือน  ชีวิตความเป็นครูและครอบครัวดีขึ้น บางท่านพอเงินตกเบิกก็ถอยรถเก๋งป้ายแดง ทันที    มีครูท่านหนึ่ง ได้อาจารย์ ๓  ปีนั้นผมให้ ๒ ขั้น ทันที ด้วยผมให้นโยบายไว้ว่าใครได้ อาจารย์ ๓ ผมจะให้ ๒  ขั้น  ผมรู้หลังจากที่มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนแล้ว เตรียมส่งผลการพิจารณาให้ สพท. คืนนั้นพอรู้ผมก็มาเปิด Website ของ ก.ค.ศ.ดู ก็รู้ว่าจริง รุ่งเช้าก็เชิญ รองผู้อำนวยการมาพบ ขอให้เปลี่ยนลำดับผู้ที่ได้รับการพิจารณาไว้ให้เป็นครูท่านนี้..นอกจากนี้ครูท่านนี้ยังรักความก้าวหน้าขออนุญาตลาศึกษาต่อปริญญาโทภาคพิเศษ ซึ่งตรงกับแนวคิดของผมอีก  ครูโรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษาสมัยนั้น จบปริญญาโท เพียง ๑ คน ทำอย่างไรก็เชียร์ให้เรียนต่อยากมาก ด้วยเพราะวัยและภาระครอบครัว  ในเวลาต่อมาหลังจากที่ผมย้าย ครูที่ส่งคำขอ ก็เลื่อนเป็นชำนาญการพิเศษ ตามลำดับ  หากผมอยู่ต่อทุกคนได้  ๒ ขั้นแน่นอน  ผมไม่ได้ตามต่อว่า ผู้อำนวยการท่านใหม่มีนโยบาย เหมือนที่ผมมีหรือไม่

                              

                              ผมเล่ามายืดยาว นั้น ด้วยจะแสดงให้เห็นว่า บทบาทของผู้อำนวยการโรงเรียนสิ่งสำคัญคือ ความก้าวหน้าในวิชาชีพครู  ครูก็จะมีความสุข  จะส่งผลดีต่อการพัฒนานักเรียน  ครูมีความมั่นคงในรายได้  ครอบครัวก็จะมั่นคง   โรงเรียนก็จะเป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะถือว่าเมื่อครูมีคุณภาพ  นักเรียนและโรงเรียนย่อมมีคุณภาพด้วยเช่นกัน  ...แต่สิ่งหนึ่งที่ครูทุกท่านต้องตระหนักในหน้าที่สำคัญ หลังจากที่ได้เลื่อนตำแหน่งหรือวิทยฐานะสูงขึ้นก็คือ รักษาตำแหน่งหรือวิทยฐานะนั้นไว้อย่างมีเกียรติศักดิ์ศรี  มีภูมิรู้   ภูมิธรรม  ภูมิฐาน เป็นครูผู้ให้วิชาความรู้แก่นักเรียน  เป็นกัลยาณมิตรที่ดีกับทุกคน โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียน และครูในโรงเรียนนั้น..หลายคนหลงตนเองเกินพอดี มองว่า อาจารย์ ๓ ระดับ ๘ หรือชำนาญการพิเศษเทียบเท่า ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ หรือสูงกว่า ผู้อำนวยการชำนาญการ.. การสำคัญตนว่าเทียบเท่า หรือสูงกว่า  ก็อาจมีปัญหาในการบริหารโรงเรียนของผู้อำนวยการโรงเรียนได้   ขอให้ตระหนักอยู่เสมอว่า  ผู้อำนวยการโรงเรียน คือ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในโรงเรียน  ครูคือผู้ใต้บังคับบัญชา  การอยู่ร่วมกันก็จะเป็นกัลยาณมิตรอย่างยั่งยืน...สวัสดีครับ     
หมายเลขบันทึก: 143350เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 04:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ท่าน ผอ.ยอดเยี่ยมมาก  ให้การสนับสนุนเกินร้อย ครูย่อมมีกำลังใจเต็มเปี่ยม  อยากให้มี ผอ.แบบนี้มากๆ ที่แสดงบทบาทเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพครู  อันจะส่งผลถึงคุณภาพโรงเรียน....

สวัสดีครับ คุณแจ่มใส

            ขอบคุณครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็น และขอบคุณครับสำหรับคำชม..โดยบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนครับ..ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ  ครูเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดของโรงเรียนครับ  การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาที่ดีเริ่มต้นที่ครูครับ ครูมีคุณภาพ  นักเรียนก็มีคุณภาพ ส่งผลให้สังคมมีคุณภาพด้วยครับ

           แวะมาเยิ่ยมกันบ่อยๆ นะครับ สวัสดีครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท