แนะนำหนังสือดี:สถาบันพระบรมราชชนก


การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของวิชาชีพพยาบาลและสาธารณสุข

ผู้สนใจในสาขาวิชาชีพการพยาบาลและสาธารณสุขน่าจะได้อ่านหนังสือฉบับนี้ เป็นเอกสารประกอบการประชุมวิชาการประดับประเทศปี2550 ในโครงการปฏิรูปการเรียนการสอนของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นผลการศึกษาจาก18วิทยาลัยนำร่องการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่เน้นความเป็นมนุษย์ และการศึกษาโดยยึดนักเรียนสำคัญที่สุดชื่อ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ จาก www.pi.ac.th เป็นความพยายามรวบรวมเป็นAction Research นานถึง3ปีมีรายละเอียดน่าสนใจมากเล่มหนึ่ง ดูการศึกษาดูที่การพัฒนาอาจารย์มีในเล่มนี้ และผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาภาคภูมิใจผลการดำเนินงานครั้งนี้มาก เป็นการบันทึกผลการศึกษา ตอนแรกๆเป็นการเล่าเรื่องง่ายๆไม่ซับซ้อนแต่ยังมีการถอดบทเรียนเป็นวิชาการพอสมควร สลับกับการเล่าเรื่องที่เป็นผลการศึกษาเชิงบูรณาการของชุมชนที่เฉียบคมมากเล่มหนึ่ง  เสียดายนิดหนึ่งที่น่าจะออกมานุ่มนวลกว่านี้ ไม่รู้คำว่านุ่มนวลกับอัดแน่นอยู่คู่กันได้ไหม ซึ่งตนเองก็ไม่รู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร เพียงแต่รู้สึกว่าอ่านไปต้องเปิดพจนานุกรมภาษาไทยเป็นไทยควบคู่ไปด้วย จากการฟังผู้ดำเนินการศึกษาบรรยายขั้นตอนการดำเนินงานน่าจะมีความสุขในการทำงาน อดใจไม่ได้ที่จะต้องรีบไปรับเอกสารก่อนหมด แต่ผิดหวังเล็กน้อยที่เป็นเอกสารวิชาการอัดแน่นด้วยผลการศึกษาแบบคุณภาพคับเล่มจริงๆ อ่านไปคิดตามไปได้ไม่กี่หน้าก็ต้องวาง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะตัวเองอ่านแล้วเครียด หรือว่าขี้เกียจอ่าน แต่ไม่น่าใช่ประการหลังเพราะตั้งใจอ่านจริงๆ หรือว่าเพราะตั้งใจอ่านจึงเครียด ทำอย่างไรให้การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการเป็นการเล่าเรื่อง ในลักษณะStory Tellingง่ายๆ ถ่ายทอดผลการศึกษาแบบคนทั่วไปสามารถอ่านได้ ไม่เฉพาะวิชาชีพการพยาบาลและสาธารณสุขเท่านั้น นี่เป็นความต้องการตามความรู้สึกส่วนตัวจริงๆ แต่คนอื่นอ่านอาจไม่รู้สึกเหมือนตนเองก็ได้ ไม่เชื่อลองไปLoadและอ่านดู ยืนยันว่าดีมากขอบอก น่าสนใจ อาจารย์ นพ.สุริยะ วงค์คงคาเทพ การันตีอยู่ทั้งคน มุมมองของการศึกษาในความเป็นมนุษย์ของวิชาชีพดูเมตตายิ่งนัก ถ้านักศึกษานำไปใช้และปฏิบัติได้จริงจนเป็นวิถีชีวิต แทบไม่ต้องมีมาตรฐานวิชาชีพกำกับได้เลยเชียว ตำราทั้งหลายต้องฉีกทิ้งอีกมาก เป็นแนวทางเดียวกับการบูรณาการหมวดศึกษาทั่วไปที่ ม.ขอนแก่นนำร่องอยู่ในขณะนี้ มีหลักการสำคัญอยู่ไม่กี่อย่างที่ตนเองสรุปได้ คือ ประการแรก ครูต้องไม่เป็นครู ตำราต้องไม่ใช้เป็นคัมภีร์ การสอนต้องไม่มี ประการที่สองความรู้ไปหาเอาข้างหน้า ตามการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การเข้าถึงปัญหาและประการสุดท้าย ปัญหาต่างๆจะแก้ไขตัวเองได้ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมของผู้เกี่ยวข้องกับปัญหา ไม่ใช่เป็นของผู้มอง ผู้คิดหรือคนดูคิดว่าเป็นปัญหา แต่ผู้ที่อยู่กับปัญหาเขาพึงพากันได้เหมือนปัญหามีไว้แก้ไม่มีแกฉันคงเหงา การยอมรับความคิดและวิธีคิดของชาวบ้าน อาจสรุปได้ว่าความเป็นมนุษย์ไม่เท่ากันด้วยการคิดเท่านั้นเอง ทั้งๆที่ตัวตนไม่แตกต่าง มุมมองที่เคยเศร้าแทนเขา ที่คิดว่าชาวบ้านขาดโอกาส ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรและระบบบริการ ภาครัฐพยายามเอื้อโดยนโยบายและสร้างช่องทางความสามารถในการเข้าถึงที่เท่าเทียมกัน เร่งระดมความช่วยเหลือ สร้างช่องทางแบบ Gate Way บนหอคอยงาช้าง แต่ขอโทษชาวบ้านเขาอาจไม่สนใจ ไม่อยากได้ เวลาที่คุณนั่งสัมภาษณ์เขาคงเบื่อไม่อยากตอบ ห่วงงานแต่เกรงใจตามนิสัยคนไทย ถ้าชาวบ้านเขารู้ว่าคุณเก็บข้อมูลไปศึกษาเรื่องอะไร โดยเฉพาะการศึกษาปัญหาของชุมชน ปัญหาระบบสุขภาพที่มีธง สถิติอ้างอิงประกอบมากมาย ไม่สามารถทำให้ชาวบ้านที่เค้ากินนอน เรียนรู้กับปัญหามีความสุขหรือทุกข์ได้ เพราะเขาเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับมัน(ปัญหานั้นๆ)ซ่ะแล้ว เรายังมัวศึกษาปัญหา ปัจจัยสำเร็จ แนวทางการป้องกันอยู่นั่นแหละ ....ปัญหาใดๆไม่สำคัญเท่าปัญหาของการไม่รู้จักตนเอง.....คุณว่าจริงไหม

หมายเลขบันทึก: 143177เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2007 02:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท