พัฒนาองค์กร...ความสัมพันธ์...การมีส่วนร่วม...ความเป็นเจ้าของ


"เจ้าของบ้าน" กับ "คนเช่าบ้าน" มีพฤติกรรมการแสดงออกต่อบ้านไม่เหมือนกันหรอกครับ
  • ผมได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับเรื่อง "การประหยัดพลังงานในส่วนของภาคราชการ"  วิทยากรท่านบอกว่า ปัญหาของการประหยัดพลังงานของส่วนราชการ ที่ทำให้การรณรงค์ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรก็คือ  บุคลากรของรัฐไม่รู้สึกว่า "ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงานในกิจการของรัฐ เป็นค่าใช้จ่ายของตนเอง" นอกจากไม่รู้สึกว่าเป็นค่าใช้จ่ายของตนเองแล้ว ยังรู้สึกว่า "การประหยัดพลังงานของส่วนราชการ  เป็นการบั่นทอนความสะดวก สบายของตนเอง และอาจจะเป็นข้ออ้างว่า ทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน
    • เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องจริงนะครับ...การมององค์กรโดยไม่ให้ความสำคัญกับบุคลากร  น่าจะเป็นการโพกัสผิดจุด  องค์กรกับบุคลากรแยกกันไม่ออกหรอกครับ  องค์กรเป็น "นามธรรม"  แต่บุคลากรเป็น "รูปธรรม" ครับ  รูปธรรมต้องชัดเจนและได้รับความสนใจก่อนครับ ความเป็นนามธรรม จึงจะพอมองรูปร่างออก  แค่เพียงมองรูปร่างออกนะครับ ยังไม่ต้องมองถึงความมั่นคง หรือการพัฒนา ...เราชอบพูดกันเรื่อง "การพัฒนาและการบริหาร" ครับ  ซึ่งมันน่าจะผิดขั้นตอน "ถ้ายังไม่มีการสร้าง แล้วจะมีอะไรให้พัฒนาหรือบริหาร" ครับ หลักสูตรการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นร้อยเป็นพันหลักสูตร จะขึ้นต้นด้วย "การบริหาร......"  แม้แต่ตำแหน่งงาน ก็มีแต่ "ผู้บริหาร" ครับ
  • ท่านเคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร  แล้วพบว่า วัตถุประสงค์ของการอบรม.....เพื่อให้บุคลากรมีความสุข มีความสะดวก สบายในการทำงาน....เคยพบอย่างนี้บ้างไหมครับ....ผมไม่รู้ว่าปัจจุบันเราตกเป็นเครื่องมือของนักวิชาการที่กำหนดหลักสูตรในการอบรมหรือสัมมนาหรือเปล่า  หน่วยงานจะมีการจัดอบรมสัมมนาทุกปี  ปีละเรื่องสองเรื่อง แล้วแต่กระแสการอบรมจะเห่อเรื่องอะไร....
    • ต่อไปนี้เป็นแนวคิดส่วนตัวนะครับว่า...ถ้าจะ "พัฒนาองค์กร"...เริ่มต้นด้วยการพัฒนา "ความสัมพันธ์" ระหว่างบุคลากรในองค์กรก่อนดีไหมครับ  หัวหน้างานกับลูกน้อง  เพื่อนร่วมงานกับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ ความรู้สึกที่ดีต่อกันหรือเปล่า ถ้าสร้างตรงนี้ไม่ได้ ยังไม่ต้องทำเรื่องอื่นครับ ....เรื่องต่อไปคือ "การมีส่วนร่วม" กระบวนการทำงานในองค์กร เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในส่วนที่ควรจะมีส่วนร่วมบ้างไหมครับ เช่น การแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ  ไม่ใช่ว่าเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการทำตามคำสั่งอย่างเดียว ....อีกประเด็นที่สำคัญมาก ๆ คือ "ความเป็นเจ้าของ"  ว่าง ๆ  เราคงต้องมานั่งถามตัวเองว่า องค์กรที่เราทำงานด้วยนี้ เป็นของเราหรือเปล่า เราเป็น "เจ้าขององค์กร"  หรือเป็น"ลูกจ้างองค์กร"  ความรู้สึกการเป็น "เจ้าของ" หรือ "ลูกจ้าง"  จะส่งผลต่อทัศนคติ  และทัศนคติ จะแสดงออกมาในรูปของ "พฤติกรรม" 
  • "เจ้าของบ้าน" กับ "คนเช่าบ้าน" มีพฤติกรรมที่แสดงออกต่อบ้านไม่เหมือนกันหรอกครับ 

หมายเลขบันทึก: 142309เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2007 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ.อุไรวรรณ อยู่ชา วิทยากรผู้ร่วมอภิปรายในงานสถาปนามหาวิทยาลัย

ในหัวข้อ การสร้างความเป็นเจ้าของสถาบันฯ อาจารย์อุไรวรรณ พูดได้

โดนใจมากครับ "คำว่าแสดงความเป็นเจ้าของนั้น เป็นนามธรรม เห็นพูด

และรณรงค์กันเยอะแยะไปหมดแต่พฤติกรรมไม่เกิด อยากให้ไปช่วยกัน

ค้นหามาก่อนว่า รูปธรรมที่ต้องการเห็นจากคำว่า "ความเป็นเจ้าของ" ที่

องค์การต้องการให้บุคลากรปฏิบัตินั้น คือพฤติกรรมใดบ้าง หนึ่งสองสาม

และ พฤติกรรมนั้นผู้บริหารทุกระดับ ก็เริ่มเป็นผู้แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน

เรียกว่าเป็น Role Model และสื่อสาร รณรงค์ให้บุคลากรเห็นประโยชน์

ความสำคัญก่อนที่จะไปขอความร่วมมือและรณรงค์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม

พฤติกรรมนั้น" ครับ อาจารย์เน้นสร้างทัศนคติที่ดีของผู้บริหารต่อองค์การก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท