ประสบการณ์ กลุ่มศึกษานพลักษณ์ + สุนทรียสนทนา + ปัจจุบันขณะ 2


การศึกษานพลักษณ์ มันก็ต้องมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน .....ก็คงเป็นทำนอง "รู้ตัวให้ทัน" ว่าตอนนี้เราคิดอะไรอยู่ เรารู้สึกอะไรอยู่.... ถ้าเราไม่รู้ตัวเราก็ทำตามเดิมๆ ของลักษณ์เราที่ทำโดยอัตโนมัติ ...
ข้อความข้างล่างคือ ข้อความที่ดิฉันตอบน้องคนหนึ่งในกระดานสนทนาของสมาคมนพลักษณ์ไทย ค่ะ
สำหรับคำว่า "ปัจจุบันขณะ" ลองหาอ่านในหนังสือของท่าน ติช นัท ฮัน ดูนะคะ ท่านชอบใช้คำว่า now and here ค่ะ
ก็เหมือนกับที่หลายท่านเคยปฏิบัติธรรม ทราบอยู่แล้วว่า ปัจจุบันขณะคือ รู้ตัวเราเองทันว่าเรากำลังหายใจเข้าอยู่ หรือหายใจออกอยู่ เพราะคนส่วนใหญ่ ตอนนี้หายใจเข้าหรือออก ยังไม่รู้ตัวเลย ประมาณเดียวกันแหล่ะค่ะ


แต่คราวนี้ การศึกษานพลักษณ์ มันก็ต้องมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน .....ก็คงเป็นทำนอง "รู้ตัวให้ทัน" ว่าตอนนี้เราคิดอะไรอยู่ เรารู้สึกอะไรอยู่.... ถ้าเราไม่รู้ตัวเราก็ทำตามเดิมๆ ของลักษณ์เราที่ทำโดยอัตโนมัติ ... เช่นลักษณ์สี่ดื่มด่ำกับอารมณ์ความรู้สึกตอนนั้นอยู่ หากไม่รู้ตัว มันยิ่งดื่มดำมากขึ้นๆๆๆ คนอื่นเข้าหาตอนนั้นไม่ได้เลย เขาก็รู้สึกว่าเราอารมณ์แปรปรวน

หรือคนแปดเมื่อโกรธ ก็แสดงพลังมากมายออกไปอาละวาดผู้คน แต่ถ้ารู้ทัน ก็รู้ที่จะแสดงให้คนอื่นเห็นความโกรธแต่พองาม อะไรทำนองนี้แหล่ะค่ะ...

หรือคนห้า เวลาใครมาถามอะไร ก็เห็นให้ทันว่า ไม่ใช่เขามาจุ้นกะชีวิตเรา ก็แค่เขามามีปฏิสัมพันธ์กะเราด้วยเท่านั้น คนแต่ละลักษณ์ต้องหา point ของปัจจุบันขณะของตัวเองค่ะ เพื่อจะได้ลดทอนทุกข์อันเกิดจากการตามรู้ไม่ทันลักษณ์ตัวเองทีจะออกอาการ


ส่วนเรื่องความเงียบ ถือว่าเป็นความงามในสุนทรียสนทนานะคะ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะส่วนใหญ่เราพูดกัน แต่เราไม่ค่อยฟังกันค่ะ ในวงสุนทรียสนทนา เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง เราอาจจะต้องใช้เวลาไตร่ตรอง ก่อนที่เราจะพูด เพราะหากเราเห็นปฏิกิริยาการพูดสวนออกไปเร็วๆ เราจะพบว่า เราทำโดยอัตโนมัติ เราไม่ได้ฟังจริงๆ เท่าใดนัก เราเอาตัวเราเป็นที่ตั้งเยอะอยู่

ในบางครั้งสุนทรียสนทนาในครั้งแรกๆ ของบางที่ บางกลุ่ม ถึงขนาดว่าต้องมีกติกาเลยนะคะว่า ให้ฟังคนอื่นพูดไม่น้อยกว่า 3 คน หรือแล้วแต่ขนาดวง ก่อน แล้วตัวเองถึงจะมีสิทธิ์พูดซ้ำ เพราะบางคนไม่ได้ใส่ใจที่จะฟังคนอื่นเลย มาพูดๆๆๆ และพูด เท่านั้น

แต่ของเราไม่ถึงขนาดนั้นค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 142061เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2007 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ขอบคุณ อาจารญ์อัญชลี ที่ถ่ายทอดได้ดี ทำให้ได้เห็นภาพของกระบวนการ ทั้งๆ ที่ตัวผมไม่ได้อยู่ที่นั่น .. . ติดตามอ่านอยู่ครับ แต่เพิ่งเข้ามาทิ้งร่องรอยเอาไว้ในบันทึกนี้
หรือคนห้า เวลาใครมาถามอะไร ก็เห็นให้ทันว่า ไม่ใช่เขามาจุ้นกะชีวิตเรา ก็แค่เขามามีปฏิสัมพันธ์กะเราด้วยเท่านั้น

อ่านแล้วหัวเราะเลยครับ นึกว่าเป็นอยู่คนเดียว, ที่แท้เป็นธรรมชาติของ type 5 

สนใจเรื่องนพลักษณ์และสุนทรียสนทนาพอดีเลยคะ พอได้ไปอบรมมาครั้งนึงแล้วลองมาดูคนรอบตัว แล้วเราก็ปลงๆกับที่เขาเป็นได้มากขึ้นนะคะ ที่รู้จักมีที่เห็นแจ่มๆก็หลายคนคะ

-ลักษณ์ 1 ละเอียดมากๆ ตัวหนังสือต้องผ่านการกลั่นกรอง คั่นหน้า คั่นหลัง เว้นวรรค พี่ท่านดูหมด

- ลักษณ์2 พี่เขาจะให้ ดูแลทุกคน คอยห่วงใยไปทั่ว แต่เฉพาะคนสนิทนะคะ ..แต่เวลาโกรธตาจะถลึงออกนอกเบ้าเลยคะ ตลกดี..

-ลักษณ์ 5 พี่คนนี้จะชอบอ่านหนังสือมาก แล้วเงียบไม่ค่อยพูดกับใคร แต่เก่งคะ

- ลักษณ์ 6 น้องคนนี้จะช่างสงสัยมาก จะทำอะไรแต่ละเรื่องคิดแล้วคิดอีกอยู่นั่นล่ะ แต่พอทำก็ทำได้ดีนะคะ

-ลักษณ์ 7 พี่นี้เจ้าแม่ไอเดีย คิดฝันสารพัด  แต่ไม่เคยทำเองเลย ให้คนโน่นทำ ให้คนนี้ทำ

- ลักษณ์ 8 โหดมาก ชอบใช้คำแรงๆ ว่าคนอื่นแต่กับลูกน้องตัวเองจะกางปีกปกป้อง แล้วกลับมาอัดเองไม่ให้ใครแตะ รักแรง เกลียดแบบไม่เผาผีเลยคะ

ที่ทำงานเลยมันส์มากคะ...แล้วตัวเองเป็นลักษณ์ 4 ที่ชอบวนเวียนกับสิ่งที่เกิดมาแล้วต้องพยายามดึงตัวเองกลับมาให้อยู่กับปัจจุบันเหมือนกันคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน  ทักทาย และแสดงความคิดเห็นค่ะ

 รู้สึกอบอุ่นดีสำหรับที่นี่ ....555 ปกติคนห้าไม่ค่อยพูดแบบนี้นะคะ .... แต่รู้สึกอย่างนี้จริงๆ .....ขอบคุณ

หวัดดีค่ะ พี่นุช

พยายามทำความเข้าใจไปด้วย และสังเกตตัวเองไปด้วยเหมือนกัน ดีจังค่ะ ที่มีที่แลกเปลี่ยนความคิดตรงนี้ อยากมีคำถามหรือแนวทางที่จะค้นหาไทป์ของตัวเอง มีคำแนะนำไหมคะ

ผึ้งค่ะ

ขอบคุณน้องผึ้งที่แวะมาทักทาย

แนวทางค้นหา type ของตัวเอง ก็อย่างที่เราทำ Typing Interview กันไปแล้วเป็นวิธีหนึ่ง

อีกวิธีหนึ่งคือ การทำแบบทดสอบ .... เดี๋ยวพี่จัดการส่งทางอีเมล์ให้นะคะ

วิธีที่หลายคนบอกว่าน่าจะดีที่สุด คือ การเข้ารับการอบรมหลักสูตร "นพลักษณ์ขั้นต้น" 3 วันค่ะ  เพราะคนที่จะตอบได้ว่าเราเป็นลักษณ์ใด คือตัวเราเองค่ะ  ดังนั้นในกระบวนการอบรม จึงมีการออกแบบมาเพื่อเอื้อให้ผู้เข้ารับการอบรม สังเกต ใคร่ครวญ ความเป็นตัวเองตั้งแต่เด็กจนโต เพื่อระบุลักษณ์ของตนเองค่ะ

ต้องขออภัยทุกท่านนะคะ  เนื่องด้วยไม่ค่อยรู้มารยาทของ gotoknow เท่าใดนัก ที่ตอบรวมเหมาทูกท่านไว้ในที่เดียวกัน

แต่ไปเห็นบันทึกของท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่เห็นตอบเป็นรายบุคคลก็เลยขอแก้ตัวนิดนึงนะคะ

 อาจารย์ประพนธ์คะ ได้กำลังใจที่จะเขียนขึ้นเยอะเลยค่ะ ที่รู้ว่าอาจารย์แวะมาอ่าน ได้เห็นอาจารย์แว๊บๆ วันที่ไปชมการแสดงของ Mr.Gil Alon ด้วยค่ะ .... และขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ที่ให้ความคิดเห็นต่อสำนักงาน ก.พ.ร.เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมสัมมนา (ดิฉันเป็นประชากรหนึ่งในนั้นค่ะ..แต่ไม่ได้เป็นข้าราชการ เป็นเพียงคนทำโครงการใน ก.พ.ร.)

คุณ pphetra  ยินดีต้อนรับคนห้ามาพูดคุยกันบ่อยๆ นะคะ ... เบอร์ห้าบ้าเห่อเหมือนกันค่ะ

คุณโรงเรียนพ่อแม่คะ เห็นคล้ายๆ กันเลยค่ะ เมื่อศึกษานพลักษณ์แล้วพบว่า หลายครั้งที่เราโกรธคนลักษณ์โน้น ลักษณ์นี้ ในอดีตหน่ะ มองกลับไปแล้วขำค่ะ และสามารคถให้อภัย  หมายถึงไม่โกรธคนอื่นง่ายเหมือนสมัยก่อนค่ะ  เพราะเห็นทุกข์ของความเป็นคนลักษณ์ต่างๆ  และเห็นทุกข์ของตัวเองที่จะต้องแก้ไข พัฒนากันไปค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท