ลปรร.การทำงานพัสดุ ฉบับ 4


การทำงานพัสดุ

อีกเรื่องที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องต่อจากการที่เราจัดหาพัสดุด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้ง E-Auction ทั้ง E-Shopping มาแล้ว เราต้องมาทำสัญญา การทำสัญญาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนเป็นอย่างมาก เพราะแต่ละขั้นตอน แต่ละข้อความเป็นเรื่องของกฎหมายทั้งนั้น ลองอ่านเรื่องที่พี่เขามาเล่าต่อนะคะ 

พี่ตุ๊ก (จิรัญญา) : เล่าเรื่อง “การทำสัญญาประทับใจเรื่องนี้เพราะได้รับคำชมจากหัวหน้าฝ่ายว่าทำสัญญาได้เรียบร้อย และสมบูรณ์ที่สุดขั้นตอนสำคัญคือการตรวจเอกสารก่อนทำสัญญาซื้อขาย / จ้าง เมื่อรับเรื่องอนุมัติให้ซื้อ/จ้าง  จากหัวหน้างานเริ่มดำเนินการตรวจสอบ รายละเอียดต่าง ๆ ว่ามีครบหรือไม่  เช่น วงเงินที่จัดซื้อ/จ้างตรงกับใบเสนอราคาหรือไม่  มีหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ และผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) ใบ ภ.พ. 20  ฯลฯ และใครเป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในเอกสารที่เสนอราคา  และเอกสารอื่น ๆ ถ้าผู้มีอำนาจไม่มาด้วยตนเองต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนโดยมีลายเซ็นผู้มีอำนาจ,  ผู้รับมอบอำนาจ,  พยาน  2  คน  ลงนามพร้อมติดอากรแสตมป์  (ถ้ามอบอำนาจอย่างเดียวติดอากรแสตมป์ 10.- บาท / มอบอำนาจหลายอย่างติดอากรแสตมป์ 30.- บาท) สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ  (ถ้ามี)    
 ขั้นตอนการทำสัญญา
1.     เมื่อตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้ตรวจสอบรายการกับใบเงินประจำงวด  วงเงิน  ชื่อรายการให้ถูกต้อง
2.     นำรายงานผลการซื้อ/จ้าง ที่อนุมัติแล้วไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายงบประมาณคุมยอดเงิน ทำหนังสือแจ้งผู้ขาย/ผู้รับจ้าง กรณีที่เสนอราคาได้ให้มาทำสัญญา  และที่เสนอราคาไม่ได้พร้อมสิทธิอุทธรณ์   โดยเสนอผ่านหัวหน้างานและหัวหน้าฝ่ายพัสดุ  เสนอผู้อำนวยการกองคลัง  และเสนอกรมลงนาม
3.     โทรศัพท์แจ้งผู้ขาย/ผู้รับจ้าง  ให้เตรียมทำหนังสือค้ำประกัน สัญญา(กรณีไม่ใช้เงินสด) ,  หนังสือมอบอำนาจให้ลงนามในสัญญาซื้อขาย/จ้าง  (กรณีในต้นเรื่องไม่ได้มอบให้ลงนามในสัญญา)
4.     นำเอกสารต่าง ๆ ไปถ่ายเอกสาร จำนวน  2  ชุด  ดังนี้
·        รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของกรมอนามัย    
·        ใบเสนอราคา
·        รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของผู้ขาย/ผู้รับจ้าง
·        หนังสือมอบอำนาจ  (ถ้ามี)
·        หนังสือค้ำประกัน / ใบเสร็จรับเงินกองคลัง
·        หนังสือยินยอมให้หักค่าธรรมเนียมการโอนเงินที่ธนาคารเรียกเก็บ
·        หน้าสมุดบัญชีของธนาคาร
·        ข้อมูลผู้ขาย
·        หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล,  หนังสือบริคณห์สนธิ  บัญชีผู้ถ้อหุ้นรายใหญ่, บัญชีรายชื่อกรรมผู้จัดการ และผู้มีอำนาจควบคุม (ถ้ามี) สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ,   ใบ ภ.พ. 20 ฯลฯ

5.     นำเอกสารข้อ 4  ประทับตรายาง  ผู้ซื้อ/ผู้ว่าจ้าง,  ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง,  พยาน, พยาน
6.      เรียกผู้ขาย/ผู้รับจ้างมารับหนังสือที่เรียกมาทำสัญญา
7.     พิมพ์สัญญาซื้อขาย/จ้าง จำนวน  2  ชุด  พร้อมประทับตรายาง เหมือนข้อ 4
8.     เรียกผู้ขาย/ผู้รับจ้างมาลงนามสัญญาซื้อขาย/จ้างพร้อมประทับตรายางทุกแผ่น
9.     ทำบันทึกถึงผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่  เรื่อง  ให้ลงนามในสัญญาซื้อขาย/จ้างเพื่อให้นิติกรตรวจสอบสัญญาซื้อขาย/จ้าง จัดชุดเอกสารเสนอหัวหน้างาน    หัวหน้าฝ่ายพัสดุ    ผู้อำนวยการกองคลัง  ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่  เพื่อให้นิติกรตรวจสอบสัญญาซื้อขาย/จ้างพร้อมลงนามพยาน และเสนอกรมลงนามในสัญญาซื้อขาย/จ้าง
10.    เจ้าพนักงานพัสดุ นำหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขาย/จ้าง  (ต้นฉบับ)  ส่งให้ฝ่ายการเงิน(กรณีใช้เงินสดมาค้ำประกันสัญญา ต้องทำบันทึกถึงฝ่ายการเงินให้รับเงินสดเพื่อออกใบเสร็จรับเงิน  แล้วนำไปถ่ายเอกสารจำนวน  2  แผ่นมาเป็นรายละเอียดแนบท้ายสัญญาส่วนใบเสร็จรับเงินตัวจริงคืนให้ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง)
11.  นำสัญญาซื้อขาย/จ้างที่กรมลงนามเรียบร้อยแล้วมาจัดพิมพ์วันที่   พิมพ์วันครบกำหนด
12.  เจ้าพนักงานพัสดุเรียกผู้ขาย/ผู้รับจ้าง  มารับคู่สัญญา  (กรณีเป็นสัญญาจ้างถ้าวงเงิน 200,000.- บาท  ติดอากรแสตมป์  แต่ถ้าวงเงินเกิน 200,000.-  บาท  ให้นำสัญญาจ้างไปซื้อตราสาร ที่กรมสรรพากรภายใน  15  วันนับแต่วันลงนามในสัญญามีผลบังคับ
13. นำสัญญาซื้อ/จ้างพร้อมรายละเอียดแนบท้ายทั้งหมด  ไปถ่ายเอกสารเพื่อแจ้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ   สำเนาเก็บเข้าแฟ้ม  และถ้าวงเงินเกิน  1,000,000.-บาท   ต้องแจ้งกรมสรรพากร   แจ้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
14.บันทึกรายละเอียดในสัญญาซื้อขาย/จ้าง  ลงในเครื่อง  Terminal   หรือ Web Excell เพื่อเข้าระบบ  GFMIS
15.  เจ้าพนักงานพัสดุ บันทึกรายละเอียดของสัญญาซื้อขาย/จ้าง   ในสมุดทะเบียนคุมสัญญาซื้อขาย/จ้าง เจ้าพนักงานพัสดุ  ทำบันทึกส่งสำเนาสัญญาซื้อขาย/จ้างพร้อมรายละเอียดแนบท้ายสัญญาและบันทึกขออนุมัติซื้อ/จ้าง  ให้กองเจ้าของเรื่องแจ้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง  
             - (สรุป) ต้องคุมเงินที่งบประมาณก่อนทำสัญญา เดิมการทำสัญญาโดยเจ้าหน้าที่พัสดุทำเป็นคู่กัน (ทำงานแทนกันเวลาลา) ได้ความรู้จากคู่เรียนรู้/ผู้เสนอแนะจากคุณจารุพา ด้วยวิธีการจดขั้นตอน ถามหัวหน้างาน
ศึกษาจากระเบียบควบคู่กันไป ขั้นตอนการทำสัญญาดูจากเอกสารระบบควบคุมภายใน การจัดเรียงสัญญาตามภาคผนวก เรียกบริษัทมาลงนามในสัญญาพร้อมรายละเอียดแนบท้ายทุกหน้า  เสนอหัวหน้าฝ่ายลงนามพยาน เสนอผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ให้นิติกรลงนามพยาน และเสนอกรมลงนามตรงผู้ว่าจ้าง/ผู้ซื้อ
             - คุณพรรณีเสริม : ต้องทำรายละเอียดต่ออีกมากมาย เช่น การบริหารสัญญา ต้องทำอย่างไรให้ตัวเองได้ทั้งจดและจำ เพื่อเตือนตัวเองไปในตัว  ต้องทำให้ครบวงจร  เพื่อปิดรูรั่วทั้งหมด เช่น สัญญาครบกำหนดเมื่อใด ผู้ขาย/ผู้รับจ้างส่งมอบของ/งานหรือไม่ ต้องแจ้งการปรับหรือไม่ ต้องติดตามเร่งรัดการส่งมอบหรือไม่ เป็นต้น

ปัจจัยความสำเร็จ

1)              ใฝ่รู้/เรียนรู้ 2)              มีความละเอียดรอบคอบ (จดและถาม) 3)              ทำงานเกิดความชำนาญ/ประสบการณ์ 4)              เป็นที่ปรึกษา/แนะนำได้ 5)              จัดทำคู่มือของตัวเอง

                   อาจจะยาวไป แต่เป็นเรื่องของรายละเอียด ถ้าเขียนเล่าไม่หมด เดี๋ยวใครเอาไปปฏิบัติจะผิดพลาดได้ ค่อย ๆ อ่านนะคะ ถ้าพิมพ์ผิดพลาดหรือไม่เข้าใจส่วนใด สอบถามหรือให้คำแนะนำได้ค่ะ น้อมรับด้วยความยินดี ...ครับผม

คำสำคัญ (Tags): #การทำงานพัสดุ
หมายเลขบันทึก: 141936เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • โอ้ โห ละเอียดมากจริงๆ เลยค่ะ ... แบบนี้โปร่งใสแน่นอนเลยละค่ะ ... เยี่ยม
คนนี้เค้า เป็น คนลายมือ  งดงาม ดั่ง พิมพ์เชียวละ  มาดูได้
  • โค-สะ-นา ขนาดนี้ ต้องไปดู คุณพี่ตุ๊ก (จิรัญญา) ให้ได้เลยละค่ะ
  • จะเปิดโอกาสให้เมื่อไรคะเนี่ยะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท