เมื่อจะได้ศึกษาวิจัยการพัฒนาเครือข่ายที่นครศรีธรรมราช


ผมคิดว่าคลังข้อมูลสำคัญที่จะเปิดหน้าต่างๆให้กับคณะนักวิจัยก็คือบล็อกต่างๆในเมืองคอนนี่แหละครับ ที่จะเปิดทาง นำทางไปสู่แหล่งข้อมูลที่ลึกกว่าต่อไป

บ่ายๆของวันนี้ได้รับโทรศัพท์จาก ผอ.วรวิทย์ กิตติคุณศิริ ผอ.กศน.จังหวัดเพชรบุรีว่าขอให้ผมช่วยเป็นคณะทำงานในโครงการวิจัยให้หน่อย

ผมเรียก ผอ.วรวิทย์ติดปากว่า พี่หวอ เพราะเราเคยทำงานอยู่ กศน.ภาคใต้สงขลา ในฝ่ายพัฒนาวิชาการและพัฒนาบุคลากรมาด้วยกัน ประมาณปี 2535-2537 สนิทสนมกันมาก พี่หวอก็เรียกผมว่าน้องบ่าว ตามธรรมเนียมคนใต้ ซึ่งคนที่อายุมากกว่าจะเรียกคนที่อายุน้อยกว่าว่าน้องบ่าว และคนที่อายุน้อยกว่าเรียกคนที่อายุมากกว่าไอ้บ่าว....บางครั้งผมก็เรียกไอ้บ่าว...บางครั้งก็พี่หวอ...คำว่าไอ้คำนี้ไม่ได้หยาบนะครับ ผมเองก็เรียกพี่ชายผมคนโตว่าไอ้บ่าวเหมือนกัน (อายุมากกว่าผม 10 ปี)

พี่หวอบอกว่า มสธ.โดย ศ.ดร.สุมาลี สังข์ศรี (คน กศน.รุ่นเก่า) และ กศน. กำลังทำโครงการวิจัยหารูปแบบการส่งเสริมเครือข่ายเพื่อร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งพี่หวอก็เป็นหนึ่งในคณะทำงานชุดนี้ด้วย......คุยกันสั้นๆเลยไม่ทราบจุดประสงค์ว่าทำไปทำไม ผมเข้าใจว่าน่าจะทำไว้รองรับการปรับกระบวนทัศน์การทำงานใหม่ ตาม พรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งจะพลิกโฉม กศน.ไปมากทีเดียว

พี่หวอบอกว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในสิบจังหวัดทั่วทั้งประเทศที่โดดเด่นในเรื่องการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย จึงได้กำหนดให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่าง

รายละเอียดยังไม่ได้คุยกันมากนัก กรอบการศึกษาวิจัยก็ยังไม่เห็น แต่พี่เขาบอกว่าจะรีบแฟกซ์มาให้เร็วๆนี้

ขอผมว่าช่วยเป็นคณะทำงานในพื้นที่รองรับคณะจากส่วนกลางให้ด้วย

เรื่องราวจะเป็นไปอย่างไร จะมาเก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อใดแล้วผมจะรายงานให้ทราบเป็นระยะๆ นะครับ

ชุมชนอินทรีย์หรือชุมชนเรียนรู้ที่นครศรีธรรมราช นัยหนึ่งก็คือการเปิดพื้นที่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเต็มทั้งจังหวัดทุกหมู่บ้าน 1,551 หมู่บ้าน ทำงานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย ภายใต้โมเดลการพัฒนาที่เรียกว่า "หยดน้ำเพชรโมเดล"

ผมว่าคณะวิจัยอาจจะได้พบกับเครือข่ายทั้งเครือข่ายราชการ ภาคประชาสังคม ปราชญ์ชาวบ้าน ภาคประชาชน โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน นวัตกรรม และเครื่องมืออีกหลายอย่าง

การวิจัยครั้งนี้อาจจะเป็นวาระสำคัญวาระหนึ่งที่จะได้มีการต่อภาพชุมชนอินทรีย์ทั้งหมด เมื่อมองผ่านแว่นขยายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ผมคิดว่าคลังข้อมูลสำคัญที่จะเปิดหน้าต่างๆให้กับคณะนักวิจัยก็คือบล็อกต่างๆในเมืองคอนนี่แหละครับ ที่จะเปิดทาง นำทางไปสู่แหล่งข้อมูลที่ลึกกว่าต่อไป

ขอบคุณ G2K อีกครั้งครับ

หมายเลขบันทึก: 141873เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับครูนง
  • เยี่ยมมากเลยครับ
  • หากไม่มี g2k คนภูธรคงไม่ค่อยมีใครรู้จัก หรือรู้ว่าเราทำอะไรกันบ้างนะครับ
  • ประกาศผล blogger ที่นี่ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

น้องสิงห์ป่าสัก ครับ

            เห็นด้วยกับน้องถึงประโยชน์ของ G2K

            ตามไปดูและออกความเห็นประกาศผลบล็อกเกอร์ชาวกรมส่งเสริมฯแล้วครับ สุดยอดมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท