กาดหลู่ ร่องรอยแห่งวัฒนธรรม


กาดหลู่ ร่องรอยแห่งวัฒนธรรม

กาดหลู่  แปลแยกทีละคำได้ว่า  กาด = ตลาด ส่วน  หลู่ = ให้

 รวมๆแล้วแปลว่าตลาดที่คนมาจับจ่ายเพื่อเตรียมสิ่งของสำหรับทำบุญทำทาน   งานกาดหลู่เป็นประเพณีของชาวอำเภอปายตั้งแต่สมัยโบราณ 

แรกเริ่มเกิดจากการที่ชาวบ้านต้องเดินทางรอนแรมจากท้องที่ทุรกันดาร บ้างก็เดินเท้า  บ้างก็นั่งเกวียนรอนแรมจากทั่วอำเภอปายมารวมกันที่ในเวียง  หรือเขตเทศบาลในปัจจุบัน  เพื่อรอตลาดนัดในวันรุ่งขึ้น  จะได้ซื้อหาของที่จำเป็นสำหรับวันออกพรรษา

ตอนแรกที่มาถึงก็ต้องนอนกางดินกินกลางทราย  ด้วยความจำเป็นที่จะป้องกันสิงสาราสัตว์ ก็มารวมกลุ่มกันอยู่  พอมารวมกลุ่มกันจึงมีการหากิจกรรมมาละเล่น  ตอนแรกอาจจะเล่นสะล้อซอซึง  เครื่องดนตรีพื้นบ้าน  หรือไม่ก็ขับร้องลำนำ  ที่เรียกว่า  ค่าว  ซอ 

ต่อมาก็เกิดพัฒนาการขึ้นมีการละเล่นต่างๆมากมาย  เป็นที่สนุกสนานครึกครื้นอย่างมากในปัจจุบัน

 สำหรับเทศกาลกาดหลู่ปีนี้ จัดวันที่  ๒๔-๒๕  ตุลาคม  ๒๕๕๐  มีเวที  ถึงแปดเวที  มีกิจกรรมต่างๆมากมาย  เช่นแข่งทำอาหารพื้นเมือง  ประกวดร้องเพลง  โชว์ดนตรีพื้นเมือง  ดนตรีลูกทุ่ง  ดนตรีสากล ดนตรีสตริง  การชนกว่าง  รำกิ่งกะหล่า หรือนางนก  โต  ปล่อยโคมลอย  แล้วก็มีจ๊าดไต  หรือลิเกไทยใหญ่  ซึ่งหาดูยากมากในปัจจุบัน 

คืนแรกผ่านไปแล้วด้วยความราบรื่น  ชาวบ้านท้องถิ่นทั้งคนเมือง  พี่น้องชาวจีน พี่น้องลีซอ พี่น้องกะเหรี่ยง พี่น้องมูเซอ พี่น้องม้ง  รวมทั้งพี่น้องไต  ต่างมีรอยยิ้มเปื้อนหน้าตามๆกัน  อ้อ...นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็แฮปปี้มากๆ

ส่วนรูปถ่ายเดี๋ยวตามมาในไม่ช้า

หมายเลขบันทึก: 141711เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เพิ่งได้เข้ามาอ่าน
  • อ่านแล้วก็ม่วนนำบ้านเพิ่นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท