ชีวิตที่เป็นอยู่ดี ด้วยมีการศึกษา


มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ์ด้วยการฝึก

  มนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ์ด้วยการศึกษา    

           ธรรมชาติพิเศษที่เป็นส่วนเฉพาะของมนุษย์คือ เป็นสัตว์ที่ฝึกได้พัฒนาได้ เรียนรู้ได้ จะเรียกว่าเป็นสัตว์พิเศษได้ คือแปลกจากสัตว์อื่น ในแง่ที่ว่าสัตว์อื่นฝึกไม่ได้หรือฝึกแทบไม่ได้แต่มนุษย์นี้ฝึกได้และพร้อมกันนั้นเป็นสัตว์ที่ต้องฝึกด้วย 

          พูดสั้น ๆ ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึกและฝึกได้ สัตว์อื่นแทบไม่ต้องฝึก เพราะมันอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ เกิดมาแล้วเรียนรู้จากพ่อแม่นิดหน่อย ไม่นานเลย มันก็อยู่รอดได้ อย่างลูกวัวคลอดออกมาสักครู่หนึ่ง ก็ลุกชี้นเดินได้ ไปกับแม่แล้ว และก็อยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณไปจนตลอดชีวิต เกิดมาอย่างไรก็ตายไปอย่างนั้น หมุนเวียนกันต่อไป ไม่สามารถสร้างโลกของมันต่างจากโลกของธรรมชาติได้

         แต่มนุษย์นี้ต้องฝึก ต้องเรียนรู้ ถ้าไม่ฝึก ไม่เรียนรู้ก็อยู่ไม่ได้         ไม่ต้องพูดถึงจะอยู่ดี แม้แต่รอดก็อยู่ไม่ได้ มนุษย์จึงต้องอยู่กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเป็นเวลานับสิบปี ระหว่างนี้ก็ต้องฝึกต้องหัดต้องเรียนรู้ไป แม้แต่กิน นั่ง นอน ฯลฯ มองในแง่นี้เหมือนเป็นสัตว์ที่ด้อย แต่เมื่อมองในแง่บวกว่าฝึกได้ เรียนรู้ได้ก็กลายเป็นแง่เด่น คือ พอฝึกเริ่มเรียนรู้แล้ว คราวนี้มนุษย์ก็เดินหน้า มีปัญญาเพิ่มพูนขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐอะไร ๆ ได้ มีความเจริญทั้งทางนามธรรม และทางวัตถุธรรม สามารถพัฒนาโลกของวัตถุ เกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ มีศิลปวิทยาการเกิดเป็นวัฒนธรรม อารยธรรม จนกระทั่งเกิดเป็นโลกของมนุษย์ซ้อนขึ้นมา ท่ามกลางโลกของธรรมชาติ

         หลักความจริงนี้สอนว่า มนุษย์มิใช่จะประเสริฐขึ้นมาเองลอย ๆ แต่ประเสริฐได้ด้วยการฝึก ถ้าไม่ฝึกแล้วจะด้อยกว่าสัตว์ดิรัจฉาน จะต่ำทรามยิ่งกว่าหรือไม่ก็ทำอะไรไม่เป็นเลยแม้จะอยู่รอดก็ไม่ได้

         การฝึกศึกษาพัฒนาตน จึงทำให้มนุษย์กลายเป็นสัตว์ที่ประเสริฐเลิศสูงสุด ซึ่งเป็นความเลิศประเสริฐที่สัตว์ทั้งหลายไม่มี

         ความดีเลิศประเสริฐของมนุษย์นั้น จึงอยู่ที่การเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนาคนขึ้นไป มนุษย์จะเอาดีไม่ได้ ถ้าไม่มีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน เพราะฉะนั้น จึงต้องพูดให้เต็มว่า "มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก" (ความรู้นี้ได้จากการอ่านหนังสือพุทธธรรมของท่านพระธรรมปิฎก) (ป.อ.ปยุตฺโต)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การฝึก
หมายเลขบันทึก: 140786เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้, จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.

อ่านเพิ่มเติมที่

http://www.kusol.com/supasit%20table/section21.html

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท