30 มค. … KM Team Tour … สำนักส่งเสริมสุขภาพ (1)


เป้าหมาย KM ของสำนักฯ

 

หลังเฉลิมฉลองวันหยุดตรุษจีน + กับ ดูแดจังกึม ตอนบันทึกขุมความรู้ ... ชักสงสัยขึ้นมารึเปล่าคะว่า แล้วมันเกี่ยวกันยังไง อันนี้ต้องไปถามคุณหมอนันทานะคะ ยังไม่บอก

... คุณหมอนันทา คุณหมอสมศักดิ์ และ KM Team กลางกรมอนามัย กว่า 10 ชีวิต ออกตะลอนทัวร์ สู่สำนักส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่หน่วยหนึ่งของกรมอนามัยนะคะ มาดูกันตอนเริ่มต้นกันก่อน ว่า สำนักส่งเสริมสุขภาพมองเป้าหมาย KM ของสำนักฯ เป็นอย่างไร วันนี้เอาพอ serve serve ก่อนนะคะ ... แล้วจะมีเรื่องเล่า เรื่องเรียน เรื่องน่ารู้ ติดตามต่อ ... อีกมากมาย

นพ.ชื่น เตชามหาชัย หัวหน้ากลุ่มวัยทำงาน สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยคุณหมอชื่น มาเล่าให้ฟังถึงแผน KM ของสำนักฯ ว่า ... สำนักส่งเสริมสุขภาพได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการจัดการความรู้ ในประเด็นที่ว่า มีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีกี่ระดับ และ ณ ปัจจุบันนี้ ในแต่ละองค์ประกอบของสำนักส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาไปในระดับไหนกันแล้ว + กับแผนการจัดการความรู้ของสำนักนั้นมีอะไรบ้าง ...
ใน 7 องค์ประกอบที่ว่านั้น มีเรื่องของ

  1. กระบวนการจัดการความรู้
    สำนักฯ ได้มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ โดยวิเคราะห์ความต้องการขององค์กร และมีเนื้อหาแผนที่สอดคล้องกับแนวคิด
    เป้าหมายปี 2549 นี้คือ ขบวนการนี้เมื่อสิ้นปีต้องการทำไปให้ถึงการมีขุมความรู้ที่เกิดจากการสกัดความรู้จากแหล่งต่างๆ ทั้งในและนอกองค์กร ทั้ง Tacit และ explicit knowledge
  2. การสนับสนุนจากผู้บริหาร
    ณ ปัจจุบันของสำนักฯ ผู้บริหารได้ให้ความสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม
    ระดับที่อยากให้ได้คือ ระดับที่ 4 คือ ณ สิ้นปี ผู้บริหารติดตามความก้าวหน้าของการจัดการความรู้ในองค์กรอย่างใกล้ชิด
  3. องค์ประกอบการสะสมความรู้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    ณ ปัจจุบันมีการจัดทำเอกสาร และฐานข้อมูล และเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับวิชาการสำคัญที่ใช้ในการทำงานตามบทบาทของหน่วยงาน
    เป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ให้มีการแปลงความรู้แฝงจากประสบการณ์ของ จาก Tacit knowledge เป็น Explicit knowledge
  4. การใช้ IT ในการจัดการความรู้
    ก็มีแผน IT เพื่อการจัดการความรู้ที่มีคุณภาพ และมีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ซึ่งตอนนี้ก็มีแผน KM ใน website ของสำนักส่งเสริมสุขภาพแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำเวปในเรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตั้งใจจะเข้าไปใช้พื้นที่ของ GotoKnow ก่อนละค่ะ (สคส. คงไม่ขัดข้องนะคะ ที่กรมอนามัยเปิดเครือข่ายเข้าไปเรื่อยๆ)
    และปีนี้จะทำให้ถึงบุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ และเอื้อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร
  5. การใช้การจัดการความรู้เป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
    ณ ปัจจุบันหน่วยงานกำหนดให้มีอย่างน้อย 1 งาน ที่จะใช้กระบวนนี้ ซึ่งขณะนี้ทางสำนักก็มีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง – 2 ครั้ง เกี่ยวกับเรื่อง CoP ครั้งแรกเป็นเรื่องของเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพ เราได้ทดลองการใช้ KM มาใช้กับแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่าย ส่วนอีกครั้งหนึ่ง เป็นการเชิญแต่ละกลุ่ม เมื่อเดือน มค. เชิญมาฟังบรรยายของ อ.ประพนธ์ จาก CD และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง
    โดยมีเป้าหมายคือ ต้องการให้ในสิ้นปีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถสกัดความรู้ / ข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะ จากภาคีเครือข่ายได้
  6. ผลที่เกิดกับคนในองค์กร อันเนื่องมาจากการจัดการความรู้
    ณ ปัจจุบัน บุคลากรในองค์กรถือว่า การจัดการความรู้ เป็นแนวคิด และวิธีการที่จะช่วยให้การทำงานของตนมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
    ระดับที่ต้องการบรรลุคือ บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับบุคคลทั้งภายใน และภายนอกองค์กร และสามารถสกัดความรู้ที่เหมาะสม กับการใช้งานของตน
  7. การประเมินผล
    ปัจจุบัน มีการชี้แจงบุคลากรในองค์กร ให้เข้าใจเกณฑ์การประเมินระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549
    เป้าที่ตั้งไว้ คือ องค์กรนำผลการประเมินตอนปลายปี ไปปรับใช้ในการทำแผนปีต่อไป

เรื่องแผนปฏิบัติการปี 49 สำนักฯ ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ เพื่อใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะก็คือ

  1. เพื่อให้บุคลากรสำนักฯ มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการบริหารจัดการความรู้
  2. ให้บุคลากรสำนักสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการจัดการความรู้ นำไปใช้ได้ และ
  3. เกิดคลังความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพ

สิ่งที่ทำไปแล้ว ก็คือ

กิจกรรมที่ 1 การจัดทำแผนบริหารความรู้

การประชุมคณะทำงาน ซึ่งประชุมไปประมาณ 4-5 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการบันทึกไว้ (... อันนี้เข้มข้น เพราะเรามีคุยกันต่อ ว่า ... แล้วเราจะทำการบันทึกกันได้อย่างไรนะคะ โปรดติดตามตอนต่อไป ...) ได้เสนอแผนบริหารจัดการความรู้สำนักฯ ให้คณะกรรมการสำนักฯ และคณะกรรมการจัดการความรู้ กรมอนามัยได้ทราบ

กิจกรรมที่ 2 สร้างความมีส่วนร่วม และให้ความรู้กับบุคลากร

ได้ดำเนินการ โดยการให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้แก่บุคลากร สำนักฯ ไปแล้ว และมีการเตรียมเนื้อที่ ปชส. การบริหารจัดการความรู้ และได้มีประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานไปหลายครั้ง และสำนักฯ ก็ติดตามเรื่องนี้จากการประชุมสำนักฯ รวมทั้งได้มีการการเผยแพร่กิจกรรมการจัดการความรู้ใน website ด้วยแล้ว ดูได้ที่ http://hp.anamai.moph.go.th/km2006/index.html

กิจกรรมที่ 3 การสร้างขุมทรัพย์ความรู้

โดย มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มชุมชนแนวปฏิบัติฯ ตั้งไว้เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธของสัปดาห์ที่ 2 เดือนนี้เริ่มวันที่ 8 กพ. เป็นเรื่อง CoP ของเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพ จะมีการสกัดความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนแต่ละครั้ง นำมาเผยแพร่ทางเวป และสรุปรวมเล่ม และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรเครือข่ายต่างๆ และสรุปรวบรวมองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด เผยแพร่สู่เครือข่ายต่อไป

กิจกรรมที่ 4 การติดตามผล

ก็เป็นเรื่องของประชุมอนุกรรมการเพื่อกำหนดกรอบในการประเมินผล และติดตามประเมินซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายงบประมาณ

ติดตามตอนต่อไปนะคะ ... จะมีข้อชวนคิด ที่ทาง KM Team เสนอไว้ ซึ่งจะได้นำมาเล่าให้ฟังต่อ

 

หมายเลขบันทึก: 14064เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2006 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หน่วยงานที่กำลังทำ KM ควรอ่านบันทึกนี้

วิจารณ์ พานิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท