ความเป็นมาของ Healthy Thailand


Healthy Thailand เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังการปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศไทย

ความเป็นมาของ Healthy Thailand

          เมืองไทยสุขภาพดี ( Healthy Thailand )  เป็นแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมสุขภาพ และลดโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการทุกวิถีทางในการที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จึงได้กำหนดนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อสร้างหลักประกันในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานแก่ประชาชนด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน   

           ภายใต้นโยบายดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีความตื่นตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม โดย ในปี พ.. 2545 ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการเริ่มต้นรณรงค์สร้างสุขภาพทั่วไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ รวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ

          ดังนั้นในปี 2547 จึงได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานไว้ 5 ด้าน คือ 1) การออกกำลังกาย 2) อาหาร 3) การพัฒนาอารมณ์ 4) การลดโรค 5) สิ่งแวดล้อม โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จในระดับหมู่บ้าน/ตำบล 10 ตัวชี้วัด ในระดับอำเภอ/จังหวัด 6 ตัวชี้วัด และจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี จนกว่าจะนำประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs) ปี 2558

         อย่างไรก็ตามแนวคิดในเรื่องเมืองไทยสุขภาพดีมิได้เป็นเรื่องใหม่ แต่ได้มีการดำเนินการในลักษณะนี้มาแล้ว และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง     ทุกกิจกรรมได้ดำเนินการเชิงรุกให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง  ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน โดยใช้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค สำหรับการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพโดยเน้นในเรื่องการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่สะอาดและเป็นประโยชน์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน ซึ่งได้พยายามดำเนินการในทุกด้านพร้อมกันเป็นไปอย่างครอบคลุม ตามความสำคัญในแต่ละกลุ่มอายุ ดังนั้นการดำเนินงานตามนโยบายเมืองไทย   สุขภาพดี จะต้องเน้นย้ำการดำเนินงานให้มีความเข้มข้น เข้มแข็ง ครอบคลุม ในทุกภารกิจที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารปลอดภัย ตลาดสดน่าซื้อ อาหารสะอาดรสชาติอร่อย การพัฒนาทางด้านอารมณ์ สิ่งแวดล้อม การลดโรคที่สำคัญ การออกกำลังกาย รวมถึงเรื่องชมรมออกกำลังกายและชมรมสร้างสุขภาพ เป็นต้น โดยนำทุกกิจกรรมมาบูรณาการมีแผนปฏิบัติการที่สามารถปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดขึ้นเพื่อใช้วัดความสำเร็จของกิจกรรมในทุกระดับ
 

ผังทางเดินสู่ความสำเร็จเมืองไทยสุขภาพดี (Road Map)

         ระยะที่ 1  ในปี 2547 (มกราคม  - ธันวาคม  2547  ) ดำเนินงานตามนโยบายเมืองไทย  สุขภาพดี โดยเน้นเป้าหมาย 5 ด้าน คือ ออกกำลังกาย (Exercise), อาหาร (Diet), การพัฒนาอารมณ์ (Emotion), การลดโรค (Disease Reduction) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ตามกลุ่มอายุและทุกพื้นที่ โดยเน้นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งรัด            ระยะที่ 2  กระทรวงสาธารณสุข    กำหนดยุทธศาสตร์ระยะปานกลาง 3 ปี (.. 2548 – 2550) ให้เมืองไทยสุขภาพดี (Healthy Thailand) เป็นเป้าหมายบริการของกระทรวงสาธารณสุข และในปี 2548 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมการส่งเสริมสุขภาพโลก ครั้งที่ 6 (The 6th Global Conference on Health Promotion 2005) ซึ่งจะมีการประกาศกฎบัตรกรุงเทพมหานครเพื่อการส่งเสริม   สุขภาพ (Bangkok Charter) ในการประชุมดังกล่าว และจะได้มีการกำหนดเป้าหมายต่อเนื่องและหรือ เพิ่มเติมต่อไป

             ระยะที่ 3 ในปี 2558 ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs)  ตามข้อตกลงร่วมกันในการประชุมผู้นำขององค์การสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก เมื่อเดือนกันยายน 2000  ให้ดำเนินการพัฒนาและกำหนดตัวชี้วัดในกรอบ MDGs  7 ด้าน รวม 48 ตัวชี้วัด  ซึ่งในจำนวนนี้มีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ 18 ตัวชี้วัด ประเทศไทยในฐานะสมาชิกจะต้องดำเนินการด้านสุขภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 

เป้าหมายหลัก 1 : ขจัดความยากจนและหิวโหย      ลดสัดส่วนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อวันลงครึ่งหนึ่ง ในช่วง 2533-2558      ตัวชี้วัดที่ 1      อัตราเด็กอายุต่ำกว่าห้าปีที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์                 ตัวชี้วัดที่ 2      สัดส่วนประชากรที่ได้รับพลังงานอาหารต่ำกว่าเกณฑ์ความต้องการเป้าหมายหลัก 2 : ลดอัตราเด็กตาย      ลดอัตราตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลง 2 ใน 3 ในช่วงปี 2533-2558       ตัวชี้วัดที่ 3      อัตราเด็กอายุต่ำกว่าห้าปีตาย         ตัวชี้วัดที่ 4      อัตราทารกตาย          ตัวชี้วัดที่ 5      สัดส่วนเด็กอายุหนึ่งปีที่ได้รับวัคซีนโรคหัดเป้าหมายหลัก 3 : พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์       ลดอัตรามารดาตายลง 3 ใน 4 ในช่วงปี 2538-2558

       ตัวชี้วัดที่ 6     อัตรามารดาตาย

       ตัวชี้วัดที่ 7    สัดส่วนการคลอดบุตรที่ได้รับการดูแลจากบุคลากรสาธารณสุขเป้าหมายหลัก 4 : ต่อสู้โรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ       ชะลอและลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภายในปี 2558       ตัวชี้วัดที่ 8      อัตราการติดเชื้อ HIV ในสตรีมีครรภ์อายุ 15-24 ปี         ตัวชี้วัดที่ 9      อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิด

         ตัวชี้วัดที่10    จำนวนเด็กกำพร้าด้วยโรคเอดส์

        ป้องกันและลดการเกิดโรคมาลาเรียและโรคสำคัญอื่นๆ ภายในปี 2558

         ตัวชี้วัดที่ 11   อัตราการเกิดโรคและอัตราตายด้วยโรคมาลาเรีย          

         ตัวชี้วัดที่ 12    สัดส่วนประชากรในพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดโรคมาลาเรียที่มีการป้องกันและรักษาที่ได้ผล            ตัวชี้วัดที่ 13    อัตราการแพร่ระบาดและอัตราตายด้วยวัณโรค         ตัวชี้วัดที่14    สัดส่วนผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบและรักษาหายด้วยวิธี DOTSเป้าหมายหลัก 5 : รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน       กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม       ตัวชี้วัดที่ 15    สัดส่วนประชากรที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทฟืน ถ่าน และมูลสัตว์ ลดสัดส่วนประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาด และส้วมถูกสุขลักษณะลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2558         ตัวชี้วัดที่ 16    สัดส่วนประชากรที่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาด (เขตเมืองและเขตชนบท)       ตัวชี้วัดที่ 17    สัดส่วนของประชากรที่ใช้ส้มถูกสุขลักษณะ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนแออัด 100 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี 2563

เป้าหมายหลัก 6 : ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

       ตัวชี้วัดที่ 18    สัดส่วนประชากรที่สามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ

          จากมติที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเมืองไทยสุขภาพดี      เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2547 มอบหมายให้กรมที่รับผิดชอบในแต่ละเป้าหมายเป็นเจ้าภาพหลัก ในแต่ละเป้าหมาย  ดังนี้
เป้าหมาย เจ้าภาพหลัก
     1.  ออกกำลังกาย     กรมอนามัย
     2.  อาหาร     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
     3.  อารมณ์     กรมสุขภาพจิต
     4.  อโรคยา     กรมควบคุมโรค
     5.  สิ่งแวดล้อม     กรมอนามัย
 

         และมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งดูแลรับผิดชอบอาสาสมัครสาธารณสุข และชมรมสร้างสุขภาพที่เป็นตัวจักรสำคัญที่จะก่อให้เกิดกระบวนการทำงานให้บรรลุเมืองไทยสุขภาพดี

           การดำเนินงานภายใต้แนวคิดเมืองไทยสุขภาพดี (Healthy Thailand) เป็นการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ของงานสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกาย อาหาร การพัฒนาด้านอารมณ์ การป้องกันและควบคุมโรค และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ให้เกิดขึ้นในระดับพื้นที่  เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นภาพของการพัฒนาใน เชิงรุกที่ชัดเจนยิ่งขึ้น การที่จะทำให้บรรลุเมืองไทยสุขภาพดีได้นั้นควรเริ่มต้นจากระดับหมู่บ้าน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายไว้ร้อยละ 75 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ  การบรรลุหมู่บ้านสุขภาพดี นำไปสู่ ตำบล อำเภอ  จังหวัด และเมืองไทยสุขภาพดี ตามลำดับ ดังนั้นความสำคัญของกระบวนการพัฒนาที่จะนำไปสู่เป้าหมาย จึงอยู่ที่การจัดการในระดับหมู่บ้าน หรือ อาจกล่าวได้ว่า หมู่บ้านที่มีการจัดการสุขภาพอย่างดี นำไปสู่หมู่บ้านสร้างสุขภาพ  และสู่เป้าหมายการเป็นหมู่บ้านสุขภาพดี
หมายเลขบันทึก: 140358เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวังว่าการขับเคลื่อนระบบสุขภาพโดยประชาชนคนไทย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์พยาบาล ทั้งภาคราชการและเอกชนจะทำให้ประชาชนคนไทยทุกคน อยู่ดีมีสุข ทั้ง ครอบครัว ชุมชน และสังคม นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท