การพิจารณาแก้วน้ำ


ขอท่านจงถอดถอนออกเสียให้หมดด้วยปัญญา เหมือนกับท่านกรองฝุ่นตะกอนออกจากน้ำให้เหลือแต่ H+H+O เท่านั้น
การมองแก้วน้ำ

คำถาม : นั่งมองแก้วน้ำ (ข้างในมีน้ำ) แล้วท่านเห็นอะไร?

 คำตอบตามทัศนของข้าพเจ้า : นั่งมองแก้วน้ำ (ข้างในมีน้ำ) แล้วข้าพเจ้าเห็นดังนี้

 

          1.การมองจากภายนอกเข้าหาศูนย์กลาง

เรา(ตา) "หยากเยื่อติดผิวด้านนอกแก้ว " แก้ว " หยากเยื่อติดผิวด้านในแก้ว "สิ่งเจือปน

                                                                                                  $                                                                                     โปรตรอน,นิวตรอน! อิเล็กตรอน! อะตอม ! โมเลกุล ! O! HH 

                         $ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt" class="MsoNormal">                    ความสกปรกของแก้วด้านในอีกฝั่งหนึ่ง "เห็นแก้วอีกด้านหนึ่ง        </p>

                                                                                          $

                                                      เห็นความสกปรกของแก้วอีกด้านหนึ่ง</span> <p>          การมองลักษณะนี้เป็นการมองจากข้างนอกเข้ามาข้างใน การมองคนอย่ามองแต่เปลือกนอก (กาย) คืออย่าได้ตัดสินว่าเขาดีหรือชั่ว เลวหรือน่ายกย่องนับถือ เพราะถ้ามองเห็นแก้วโดยไม่เห็นน้ำ ก็เท่ากับมองเห็นกระพี้ไม้ มองไม่ถึงแก่น มองเห็นรถยนต์แต่ไม่เห็นเครื่องยนต์ มองเห็นจอมอนิเตอร์+เคส แต่ไม่เห็นสเปก มองเห็นมาดเท่ๆของคนแต่ไม่เห็นจิตใจ มองเห็นกายแต่มองไม่เห็นจิตตัวเอง ขอท่านจงมองแก้วให้เห็นถึงน้ำ จงมองกายให้เห็นถึงจิต จงมองจิตให้เห็นถึงกาย จงมองกายให้เป็นมหาภูติ คือธาตุ 4 มี ดิน น้ำ ไฟ ลม ของเน่าเสีย ในกาย เหมือนมองแก้วที่มีหยากเยื่อ ตะใคร่น้ำ สิ่งสกปรก ฟองอากาศในแก้วขอท่านจงมองเห็นจิตให้เห็นจิต เหมือนกับมองน้ำให้เห็น H+H+O ขอท่านจงมองสิ่งขุ่นมัวที่แฝงอยู่ในจิตเหมือนกับความขุ่นที่แทรกอยู่ใน H2O เมื่อท่านมองเห็นความขุ่นมัวในจิต มี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน โลภ โกรธ หลง ปฏิฆะ มานะ ทิฐิ ทุกข์ โทมนัส โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ขอท่านจงถอดถอนออกเสียให้หมดด้วยปัญญา เหมือนกับท่านกรองฝุ่นตะกอนออกจากน้ำให้เหลือแต่ H+H+O เท่านั้น เมื่อท่านถอดถอนอาสวะออกหมดก็จะเหลือแต่ความว่าง (สุญญตา) เบา เปล่า โล่ง อันหมายถึง นิพพาน คือความพ้นทุกข์ (การมองลักษณะนี้เป็นการมองแบบปฏิโลม)</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">          2.การมองจากศูนย์กลางออกไปภายนอก (เป็นการมองโดยใช้ตาในมอง)</p><p>          เรานั่งอยู่ในแก้วขนาดใหญ่ที่มีน้ำอยู่ภายในแล้วลืมตามองในน้ำ (ควรกลั้นลมหายใจด้วยเดี๋ยวสำลักน้ำ) ก็จะเห็น</p><p>เรา (ตา) " ความขุ่นที่แทรกอยู่ในน้ำ " โปรตรอน,นิวตรอน " อิเล็กตรอน " อะตอม         </p><p>                                $</p><p>เห็นแก้ว,ฟองอากาศในแก้ว! เห็นความสกปรกจับผิวแก้วด้านใน!H+H! O!โมเลกุล</p><p>$</p><p>ความสกปรกติดแก้วด้านนอก" เห็นสิ่งแวดล้อมภายนอกแก้ว (คน สัตว์ สิ่งของ)</p><p>                            $</p><p>เห็นดวงดาว,ระบบสุริยะ  ! เห็นโลกทั้งสาม (อบายภูมิ,มนุษยภูมิ,เทวภูมิ)</p><p>$</p><p>เห็นกาแลกซี่เห็นทางช้างเผือก(Milky way) " เห็นหลายๆกาแลกซี่(แสนล้านกาแลกซี่)</p><p>                                                                                                    $   </p><p>                        ความเกิดดับของจักรภพ หรือจักรวาล  !   เห็นจักรภพหรือจักรวาล    </p><p>          การมองลักษณะนี้เป็นการมองจากศูนย์กลางออกนอก คือการพิจารณาดูจิตและกายของเราให้ถ่องแท้ เห็นแจ้ง แทงตลอด (อรหัตผล,นิพพาน) เสร็จแล้วจึงหันมามองสรรพสิ่ง คน สัตว์ สิ่งของ แต่ตรงนี้ทำได้เฉพาะสมเด็จพระสัมมาสำพุทธเจ้าเท่านั้น คือ หลังจากที่พระสัมมาสำพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เห็นธรรมะ (ธรรมชาติ) คือสภาวธรรมที่มีเกิด แปรปรวน และดับไป พระธรรมในพระไตรปิฎก84,000 พระธรรมขันธ์นั้นมีมากมาย แต่พระสัมมาสำพุทธเจ้าทรงตรัสว่ามีเท่ากับใบประดู่ลายเพียงกำมือเดียว แต่พระธรรมที่เป็นสภาวธรรม นั้นมีมากเท่ากับใบประดู่ลายที่ล่วงหล่นอยู่ในป่า ฉะนั้นการพิจารณาเห็นโลก เห็นดาว เห็นจักรวาล เขาสิเนรุ สมเด็จพระสัมมาสำพุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นแจ้งแทงตลอดแล้ว เพียงแต่เป็นความรู้ที่เกินวิสัยปุถุชนคนธรรมดาจะเข้าไปตามรู้อย่างพระองค์ท่านได้ เปรียบเหมือนใบประดู่ลายที่มีมากมาย สมเด็จพระสัมมาสำพุทธเจ้าท่านจึงไม่สอนคนในเรื่องเหล่านี้ การมองตามลักษณะที่ 2 นี้ คือ อย่าไปโทษว่าคนอื่นไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ หรือว่าคนอื่นดีอย่างนั้นอย่างนี้ ขอจงมองที่ตัวเราก่อน (กาย+จิต) ว่า เราดีอย่างไร หรือเราไม่ดีอย่างไร มองให้รู้ดูให้เห็น ใช้ตัวออกบอกตัวได้ใช้ตัวฟัง เมื่อเรามอง กาย+จิต ของเราจนรู้แจ้งแทงตลอด(อรหัตผล) แล้ว เราค่อยมองออกไปข้างนอกรอบตัวเรา แล้วค่อยมองคนอื่น อย่างน้อยเราก็มีบรรทัดฐาน (KPI) ว่า ดี หรือ ชั่ว เอามาเปรียบเทียบกับอรหัตผลที่เรารู้กับตัวเรามาแล้ว (ถ้าเรายังดีไม่พอก็อย่าไปโทษคนอื่นเลย)     </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">          3.การมองจากข้างบนลงล่าง เราจะเห็นน้ำอยู่ภายในปากขอบแก้ว</p><p>เรา(ตา) " ความสกปรกที่ปากขอบแก้ว " ขอบแก้ว " ฝุ่นละอองความสกปรกบนผิวน้ำ</p><p>                                                                                                 $             </p><p>              โปรตอน,นิวตรอน! อิเล็กตรอน!โมเลกุล!  O! H+H!ความขุ่นในน้ำ        </p><p>     $</p>         ก้นแก้วข้างในไม่สะอาด " เห็นแก้วที่ก้นแก้ว " เห็นความสกปรกของก้นแก้วด้านนอก <p>          การมองลักษณะนี้เป็นการเพ่งกสิณน้ำ (อาโปธาตุ) เห็นน้ำใส น้ำขุ่น น้ำไหวๆเมื่อต้องแรงลม ฯลฯ การมองลักษณะนี้สำหรับผู้มีความชำนาญ (วสี) จนอยู่ในฌานแล้ว จะเห็นได้มากมายหลายอย่าง เช่น อดีตชาติของตัวเอง เห็นการเกิดดับของสัตว์ ทราบวาระจิตของผู้อื่น เห็นอภิญญาต่างๆ </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">          4.การมองจากข้างล่างขึ้นบน</p><p>          จะเห็นถึงท้องฟ้า ดวงดาว ฯลฯ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">          5.การมองแบบเห็นผิด</p><p>          บางคนมองเห็นแก้วน้ำเป็น เงิน เป็นรถ เป็นบ้าน เหล็ก หิน ปูน ทราย มองเห็นเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ มองเห็นเป็นผู้นำคน ฯลฯ สารพัดที่จะมอง สารพัดที่จะเห็นผิด (มิจฉาทิฐิ) คนที่มีอารมณ์โกรธเคียดแค้นก็จะมองเห็นน้ำในแก้วกำลังเดือดพล่าน คนที่มีความโลภก็จะมองเห็นน้ำที่ขุ่นมัว คนที่มีโมหะ (ความหลง,โง่เง่า) ก็จะมองเห็นน้ำที่เต็มไปด้วย สวะ จอก แหน</p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">          6.การมองแบบไม่เห็นอะไรเลย</p><p>          บางคนมองแก้วน้ำแล้วไม่เห็นอะไรเลย มองแล้วไม่รู้ว่าเป็นอะไร ไม่เห็นอะไร มองแล้วก็สักแต่ว่าได้มอง การมองลักษณะนี้เป็นการมองใต้โคลนตม ย่อมมองไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น</p><p align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">เหล่านี้คือการมองในทัศนของข้าพเจ้า ก็ขอเชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">โดย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">สักทอง ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง</p>

หมายเลขบันทึก: 140061เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แก้วก็คือแก้ว!

ต้องมีวันพลันแตกสลายไป

หาอะไรจีรังไม่ได้...

 

ก่อนมีแก้ว คือไม่มีแก้ว

เมื่อมีแก้ว ก็คงอยู่ชั่วพัก

แล้วก็แตกดับไป กลับสู่ไม่มีแก้วเหมือนเดิม

 

ว่าตามจริงแล้ว

เห็นสักว่าเห็น เป็นสักว่าเป็น...


ไม่มีแก้ว ไม่มีอะไร ไม่มีใคร

จึงไม่มีแก้วแตก ใครแตก ใครตาย

 

ดังนั้น จึงไม่มีตรงนี้ ที่นี่ ที่ไหน

จึงไม่มีอะไรให้มอง เมื่อไม่มีอะไรให้มอง

จึงไม่มีใครทุกข์ ใครจาก ใครตาย

 

กิเลสหมดที่ยึด...

 

จบพรหมจรรย์!

 

ขอบพระคุณที่แบ่งปันกันครับ _/\_

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท