แก้ไขปัญหาสารตะกั่วปนเปื้อนในถังน้ำเย็น


จากที่มีการนำเสนอข่าว ว่า น้ำเย็นที่เราได้ดื่มจากถังน้ำเย็น มาเป็นหลายสิบปี   ซึ่งพบได้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นโรงเรียน  โรงพยาบาล   ฯลฯ และจุดที่มีถังน้ำเย็นให้บริการสาธารณะต่าง ๆ  ปัจจุบัน ยังมีการใช้อยู่  พบว่า มีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในระดับที่เกินมาตรฐานหลายเท่า  ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้ โดยเฉพาะเด็กจะมีการขจัดสารตะกั่วออกจากร่างกายได้น้อยกว่าผู้ใหญ่   มีผลต่อสมองของเด็ก โดยตรง        ถังน้ำเย็นที่ผู้ผลิต ส่วนใหญ่จะใช้ตะกั่วบัดกรี  สังเกตได้ง่าย ๆโดยการเปิดฝาดังดู บริเวณที่เก็บกักน้ำเย็น  ดังรูป 

นี่คือบริเวณภายในถังเก็บน้ำเย็น  ลูกลอยที่ใช้ควรเป็นลูกลอยที่ทำจากพลาสติก  ถ้าเป็นแบบโลหะ อาจมีโอกาสที่ร้านจะใช้ตะกั่วบัดกรีได้ 

 

(จุดนี้เป็นจุดที่น้ำเย็นจากถังเก็บผ่านลงมาสู่ก๊อกน้ำเย็น) 

ถ้าพบว่ามีการใช้ตะกั่ว แสดงว่าตะกั่วสามารถละลายออกมาปนเปื้อนได้ให้ทำการแก้ไขง่าย ๆ  ซึ่งจะประหยัดงบประมาณได้ (หากให้ร้านที่ผลิตแก้ไขต้องคิดราคา ประมาณ 9000 บาท/เครื่อง  เมื่อทำเองใช้งบประมาณไม่ถึง 600 บาท/เครี่อง)

ดังนี้

  • ใช้ อุปกรณ์เจาะโลหะ (Hole  Saw ) ขนาด 22 มม. คว้านให้ทะลุ  (อุปกรณ์ชนิดนี้มีขายตามร้านก่อสร้างที่มีอุปกรณ์ประเภทดอกสว่านจำหน่าย ผมซื้อที่ลำพูน ราคา 300 บาท) เพื่อให้เกลียวท่อพีวีซี ลอดผ่านได้พอดี  ดังรูป

  • นำเกลียวนอกพีวีซี 4 หุน ต่อท่อลงมา รองด้วยซีลยางกันรั่วซึม และใช้เกลียวใน 4หุน ตัดครึ่งหมุนให้แน่น   เพื่อใช้ ต่อข้องอ และเกลียวใน ออกมาให้พอดีกับแนวเดิม

                                                              

ใช้ข้อต่อชนิดเกลียวใน หมุนต่อกับข้อต่อเกลียวนอกตามรูปด้านบนนี้ให้แน่นสนิท  และตัดความยาวของท่อที่โผล่ออกมาให้มีความสูงน้อยที่สุด เพื่อให้น้ำไหลลงไปยังก็อกภายนอกได้  เมื่อตัดแล้วจะเห็นดังรูปด้านล่างนี้ 

 

  •  ใช้ข้อลดที่ใช้กับอุปกรณ์ปั๊มลม ขนาด  4 หุน ทดลงมาเป็น 3 หุน มีทั้งแบบทองเหลืองและแบบสเตนเลส ราคาไม่เกิน 50 บาทต่อตัวเพื่อต่อเข้ากับก๊อกน้ำแบบกดดังเดิม 

 

ข้อต่อทุกจุดให้พันด้วยเทปพันเกลียวให้สนิท และแน่น กันรั่วซึม เท่านี้ก็มีถังน้ำเย็นที่ปลอดสารตะกั่วแล้วครับ

 

นี่เป็นรูปที่ทำเสร็จแล้ว  ท่อสีฟ้าคือท่อที่ดัดแปลงเรียบร้อยแล้วด้านบนต่อมาจากถังเก็บน้ำเย็น  ด้านล่างต่อกับก็อกจ่ายน้ำ  (ท่อสีดำด้านซ้ายทำจากทองแดง คือท่อที่ยังไม่ได้ดัดแปลง)  ภาพที่เห็นนี้ถ่ายจากด้านหลังของเครื่องทำน้ำเย็น

 หวังว่าคงจะพอเป็นไอเดียได้นะครับ  ถ้าท่านใดอยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันก็เชิญนะครับ

หมายเลขบันทึก: 138786เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แวะมาทักทายและ "ทึ่ง"กับความช่างคิดช่างทำของ น้องอารามจ้า

 

น่าจะมีโรงเรียนอื่นๆ หรือที่อื่นๆที่มีตู้น้ำเย็นเอาไปใช้นะคะ

แต่พี่สร้อยสงสัยอ่ะ...ท่อ พีวีซี มันมีอายุใช้งานนานก่อ...แล้วมันจะมีส่วนละลายออกมาในน้ำมากน้อยอย่างไร

ลองเอาน้ำไปขอหน่วยประปาตรวจสอบคุณภาพหรือยังคะ

 

 

 

...

น้องอารามเขียน เขียน และเขียนแถมเน้อเจ้า...

 

เขียนเป็นขั้นเป็นตอนดีเหลือเกิน

น่าจะเขียนตั้งนานแล้ว

ขออีกๆๆๆ อิอิๆ

เพิ่งจะพักสายตาจากการอ่านหนังสือ ..เดินหอบคอมมานั่งเล่นเน็ตใต้หอช็อค ได้ฤกษ์อันดีเปิดอ่านบล็อกอาราม ..อ่านแล้วก็นั่งยิ้ม ^^ เขียนอธิบายได้เริ่ดไปเลยค่ะ วันหลังเก็บเอาสูตรเด็ดเคล็ดลับมาเขียนเพิ่มอีกเยอะๆเลยนะคะ ..สู้ๆ^^V

P

พี่สร้อยครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม

เพิ่มเติมเรื่อง ท่อพีวีซี ที่ใช้ นั้นใช้ท่อที่เป็นสีฟ้าใช้สำหรับน้ำดื่มอยู่แล้ว มีอายุการใช้งานจนมันแตก หรือเปราะ ครับ

น้ำที่มีสารตะกั่วเจือปน ต้องให้หน่วยงานที่มีเครื่องมือตรวจสอบ เฉพาะครับ แต่ผมตัดจุดที่มีการใช้ตะกั่วบัดกรีออกให้หมด เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนในน้ำดื่มเลยครับ

P

ครูบา ครับ

ขอบพระคุณอย่างยิ่งที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผมนะครับ

ผมจะพยายามเขียนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งครับ

สวัสดี Pao Pao

  • วันนี้ก็เป็นฤกษ์งามยามดีเหมือนกันที่ได้มาเขียน
  • คราวหลังจะหาสูตรเด็ดเคล็ดลับมาเขียนอีก
  • อาจจะเริ่มที่รายการอาหารข้าวมันไก่สูตรลำปางดีไหมเนี่ย 5555 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท