ถามอย่างไรให้เด็กคิด


คำถามเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะกระตุ้นให้เด็กตอบสนองและแสดงออกซึ่งความรู้ความคิดและความเข้าใจ

          ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ที่สอนและบรรลุผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  และกิจกรรมการเรียนรู้นั้นจะต้องสอดคล้องกับพื้นฐานความรู้เดิมและความสนใจของผู้เรียน  นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนขาดไม่ได้คือ การตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบเพื่อเป็นการทดสอบความรู้ ความคิด และความเข้าใจของผู้เรียนว่าเป็นไปในทิศทางตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่

          คำถามที่จะถามให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มีหลายระดับ  ในที่นี้จะขอนำเสนอประเภทคำถาม 2 ระดับคือ คำถามระดับต่ำและคำถามระดับสูง

          คำถามระดับต่ำ ได้แก่ เป็นประเภทคำถามให้ผู้เรียนสังเกต คำถามให้ผู้เรียนทบทวนความจำ คำถามชี้บ่ง คำถาม ถามนำ และคำถามเร้าความสนใจ

          คำถามระดับสูง ได้แก่ เป็นคำถามประเภทให้อธิบาย คำถามให้เปรียบเทียบ คำถามให้จำแนกประเภท คำถามให้ยกตัวอย่าง คำถามให้วิเคราะห์ คำถามให้สังเคราะห์ และคำถามให้ประเมินค่า

          ขอนำเสนอเพียงประเภทคำถาม โอกาสต่อไปจะนำเสนอตัวอย่างคำถามแต่ละประเภทนะครับ

หมายเลขบันทึก: 138768เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากครับผมอยากอ่านข้อมูลต่อ

     เรื่องที่ยากที่สุดของครูก็คือ "ทักษะการตั้งคำถาม และการให้ข้อมูลย้อนกลับ" ซึ่งต้องหมั่นฝึกฝน ในทฤษฎีการทำค่านิยมให้กระจ่าง(VC) ก็ใช้เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระจ่างในค่านิยมของตนเองด้วยตนเอง โดยครูไม่ต้องไปบอกไปสอน
    อยากเห็นเทคนิคที่ได้ผลดีในการส่งเสริมการคิดอีกครับ

การถามให้เด็กคิด เป็นเรื่องยาก เพราะเด็กสมัยใหม่เสพสื่อทางเดียว  เด็กขาดจินตนาการ

และที่สำคัญ หากครูอยากถามให้เด็กคิดครูต้องคิดก่อนว่าจะถามกระตุ้นต่อมคิดของเด็กอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท