การจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การจัดการศึกษา

(Educational Region Knowledge Management : ERKM)

ชัด บุญญา

สำนักงานเขตพื้นที่การจัดการศึกษา มีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษา

ทุกๆ ปี ทุกๆ ปี สำนักงานฯ จะต้องรายงานผลการจัดการความรู้ไปยัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 1 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในหน่วยราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริม และพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน….”

      จากพระราชบัญญัติ ดังกล่าว บ่งบอกถึงความสำคัญในการจัดการความรู้ ที่ทุกองค์กรรวมทั้งโรงเรียน ที่จะยกระดับคุณภาพงาน ตลอดจนคุณภาพการเรียนการสอน และคุณภาพการจัดการศึกษา โดยใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Base) หากโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่มีอยู่แล้วในตัวของครู หรือ บุคลากร แต่ละคน หรือ จะนำมาจากแหล่งอื่น โดยวิธีการจัดการความรู้ หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียน การสอน หรือ บริหารการศึกษา หรือ การสนับส่งเสริมการจัดการศึกษา ก็จะช่วยให้การศึกษาของชาติเจริญรุดหน้า ตามความปรารถนาของทุกฝ่าย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงต้องเป็นผู้นำในการจัดการความรู้ โดยเป็นต้นแบบในการจัดการความรู้ให้แก่โรงเรียนในสังกัด

ความหมาย การจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

“การจัดการความรู้” ซึ่งประกอบด้วย 2 คำ คือ ความรู้ และการจัดการ ซึ่งแต่ละคำ

มีความหมายในตัวเอง ดังนี้

“ความรู้ ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้คำนิยามไว้ว่า

ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา”

การจัดการ คือ จัดการ ก. สั่งงาน ควบคุมงาน ดำเนินงาน”

นพ.วิจารณ์ พานิช (อ้างใน http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html#km1)

กล่าวว่า ความรู้ มี 2 ประเภท คือ

  1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
  2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
สำหรับ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่กล่าวถึงในที่นี้

ผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์การต่างๆ ที่ใช้ ได้ให้นิยามของ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยทั่วไป ไว้ ดังนี้

      Ryoko Toyama 1 การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้

ความรู้ที่มีอยู่ ประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งขันทางธุรกิจ

     World Bank 2 เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กร และกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้าง การนำมาใช้ และเผยแพร่ความรู้ และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ

     EFQM 3 เป็นวิธีการจัดการความรู้ เป็นกลยุทธ์ และกระบวนการในการจำแนก จัดหา และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

    ศาสตราจารย์ น.พ.วิจารณ์ พานิช 4 เครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆกัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่งาน

1 2 3 4 อ้างในเอกสาร การประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำนักจัดการความรู้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 22-26 พฤษภาคม 3550 ณ โรงแรม แกนด์ เดอร์วิลล์ กรุงทพมาหานคร

5 อ้างในwww.doa.go.th/korporror

สำนักงาน ก.พ.ร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมวิชาการเกษตร ศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี 5 ได้ให้ความหมายของ KM ไว้ว่า “เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด”

ชัด บุญญา 1 ได้ให้ความหมายของ การจัดการความรู้ในโรงเรียน ไว้ว่า “การรวบรวม สร้าง จัดหา นำความรู้ความรู้ที่เป็นรูปธรรม (Explicit Knowledge) หรือความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ) และ ความรู้ที่เป็นนามธรรม (Tacit Knowledge) หรือ ความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ความรู้ที่แสดงออกในที่ประชุม ความรู้ที่ใช้ในการตัดสินความงาม ฝีมือช่างต่างๆ มาใช้ หรือสนับส่งเสริมให้เกิดการใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยให้ ครู และบุคลากรในโรงเรียนสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดความรู้ใหม่ ที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาครู และพัฒนาโรงเรียนจนประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ หรือ เป้าหมายของโรงเรียนที่ได้กำหนดไว้”

จากนิยามการจัดการความรู้ ดังกล่าวข้างต้น หากจะนำมาใช้ในการจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงควรหมายถึง

การรวบรวม สร้าง จัดหา นำความรู้ที่เป็นรูปธรรม (Explicit Knowledge) และ ความรู้ที่เป็นนามธรรม (Tacit Knowledge มาใช้ หรือสนับส่งเสริมให้เกิดการใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่ และบุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดความรู้ใหม่ ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่ และการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ให้ประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ หรือ เป้าหมายใดๆ ของสำนักงานเขตพื้นที่ และของโรงเรียน”

Tomoshiro Takanashi 1 ได้กล่าวถึง(หลักการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ไว้ 2 ประการ คือ เชื่อว่ามนุษย์มีความรู้ และใช้ความรู้ยังไม่เต็มที่” และ ธรรมชาติของความรู้ เคลื่อนที่อยู่เสมอ หากนำไปใช้และเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จะมีพลังมากยิ่งขึ้น” จากหลักการดังกล่าว สามารถสรุปมาใช้ในสำนักงานเขตพื้นที่ 2 ประการ คือ


 

1 อ้างใน ชัด บุญญา การจัดการความรู้ในโรงเรียน กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่

เชียงใหม่ เข ต1 เอกสารอัดสำเนา

2 อ้างใน สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ภาพนิ่งประกอบการบรรยาย เรื่อง การจัดการความรู้เพื่อพัฒนา

ประสิทธิภาพขององค์การทางการศึกษา

 

หลักการจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่

  1. การดึงความรู้ หรือ ศักยภาพของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่ และโรงเรียนที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อสำนักงานฯ และต่อโรงเรียน
  2.           บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่ และในโรงเรียนเป็นบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ช่วยให้สำนักงานฯ และโรงเรียนดำเนินงานมาได้อย่างมีคุณภาพในระดับหนึ่งการยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นตามลำดับจึงต้องอาศัยผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่ ที่มีวิสัยทัศน์และมีภาวะผู้นำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือสำนักงานเขตพื้นที่แห่งการเรียนรู้ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของสำนักงานเขตพื้นที่ ที่มุ่งเน้นไปยังคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่ และโรงเรียน รอรับการดึงศักยภาพสูงสุดจากผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่
  1. การสร้าง ใช้ รวบรวมจัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ระหว่างกันเป็นการสร้างความสำเร็จในการจัดการศึกษาร่วมกัน
  2. ความอ่อนแอในการเรียนรู้ของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ผู้ปฏิบัติงานทางการศึกษาทุกระดับ เมื่อรวมกันแล้ว เป็นความอ่อนแอในการจัดการศึกษาของชาติที่ทุกฝ่ายในอดีต และปัจจุบันร่วมกันสร้างขึ้น ในเมื่อปัจจุบันกำหนดอนาคต ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงต้องสร้างความร่วมมือ ในการสร้างความรู้ ใช้ความรู้ การรวบรวมจัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเข้าถึงความรู้ นำความรู้ไปต่อยอดการปฏิบัติงานของตนเองให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งจะนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุขร่วมกันในสังคมอุดมปัญญา (Social Base Society) หรือจัดการให้เกิดการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ตนเอง หรือ โรงเรียน ความสำคัญของความรู้ที่มีอยู่ จึงอยู่ที่การนำไปดำเนินการให้ผลิตดอกออกผล เพื่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาร่วมกัน

วัตถุประสงค์ในการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

จากความหมาย และหลักการการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังกล่าวข้างต้น การจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ควรจะเป็น คือ

  1. เพื่อเพิ่มพลังความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกคน ในฐานะองค์กรต้นแบบการจัดการความรู้สำหรับโรงเรียน ในสังกัด
  2. เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้จัดการความรู้ ใช้วิธีการจัดการความรู้ ตลอดจนกำกับติดตาม ประเมินผล และนำผลจากการกำกับติดตามส่วนหนึ่งไปใช้ในการบำเหน็จความดี ความชอบ ยกย่องประกาศเกียรติคุณ สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
องค์ประกอบของการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) 1 ได้เสนอองค์ประกอบ KM

ในแบบแผนปลาทู (Tuna Model) ไว้ 3 องค์ประการคือ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในโรงเรียนได้ ดังนี้

  1. ส่วนหัว และตา (Knowledge Vision : KV) ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ใช้ KM ในโรงเรียนต้องตอบให้ได้ว่าจะนำ KM ไปใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จในเรื่องใด
  2. ส่วนกลาง ลำตัว ส่วนที่เป็นหัวใจ (Knowledge Sharing : KS)เป็นส่วนที่ผู้ใช้ KM ให้ความสำคัญแก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านเวทีจริง หรือ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตลอดจนช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
  3. ส่วนหาง ส่วนคลังความรู้ (Knowledge Assets : KA) เป็นส่วนที่เป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ ของโรงเรียน ซึ่งมาจากการสกัดมากจากความรู้นามธรรม จากครูในโรงเรียน หรือ จากการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์จากความรู้ที่เป็นรูปธรรม
  4.      สถาบันจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) 1 ได้กำหนดรูปแบบแผนการใช้ KM  (KM Model ไว้ ดังนี้

    - การกำหนดเป้าหมายของงาน

    - การใช้ KM เพื่อยกระดับความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องอาศัย   การใช้ความรู้ / ยกระดับความรู้ที่เป็นความรู้จากภายนอก และใช้คลังความรู้จากภายใ

- งานบรรลุเป้าหมาย

ประพนธ์ ผาสุกยืด 2 ได้กล่าวถึง การใช้องค์ประกอบของ KM เพื่อจัดการความรู้โดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ ความรู้รูปธรรม และความรู้นามธรรม ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินการจัดการความรู้ในโรงเรียน (SKM) ได้ ดังนี้

1. ความรู้รูปธรรม เริ่มต้นด้วยการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความ นำไปใช้ ใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ นำความรู้นั้นมาสรุป เพื่อใช้อ้างอิงในโอกาสต่อไป และเผยแพร่ให้ผู้อื่นเข้าถึงต่อไป

2. ความรู้ที่เป็นนามธรรม เริ่มต้นที่การจัดเวที เพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน นำไปใช้ หรือ ปรับใช้ได้ และสามารถนำไปสร้างเป็นความรู้ใหม่ไ

1 2 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 22-26 พฤษภาคม 3550 ณ โรงแรม แกรนด์ เดอร์วิลล์ กรุงเทพมาหาน

การใช้การจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

จากความหมาย วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของการจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าวข้างต้น เห็นสมควรมีแนวการใช้การจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

1. ทบทวน ปรับปรุงวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จในระยะยาว มักเป็นเป้าหมายที่เลื่อนลอยสำหรับบุคลากรทางการศึกษาโดยทั่วไป เพราะวิสัยทัศน์มักเขียนไว้ประดับองค์กร มากกว่านำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์หลักที่จะดึงความสำเร็จที่มุ่งหวังทั้งปวงสู่ความเป็นจริงที่คาดหวังไว้เป็นล่วงหน้า 3-5 ปี หรือ ใช้เป็นธงชัยของความสำเร็จที่ทุกคนต้องยึดเป็นหลักประจำใจ ที่ต้องมุ่งมั่นทุ่มเทร่วมกัน ทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานเพื่อคุณภาพของนักเรียนโดยตรง และ ผู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุนทุกคน

    ในการทบทวนปรับปรุงอาจพิจารณาเครื่องมือที่เรียก Bull’s eye Chart หรือเครื่องมืออื่นๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ได้วิสัยทัศน์ที่คม ชัด ลึก เข้าใจตรงกันของทุกคน

2. ให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้แก่บุคลากร ด้วยการประชุม ชี้แจง ฝึกอบรม แจกเอกสาร ตามความเหมาะสม โดยสอดแทรก เหตุผล ความจำเป็นในการจัดการจัดการความรู้ อย่างไรก็ดีขั้นตอนนี้ อาจเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างทีมการดำเนินงานการนำ การจัดการความรู้มาใช้ก็ได้

3. การกำหนดนโยบายให้หน่วยงานย่อย และโรงเรียนในสังกัด รายงานการจัดการ

ความรู้ และองค์ความรู้ที่ได้นำมาใช้ ในงานประจำ ยุทธศาสตร์ โครงการ ตลอดจนแผนการสอน เพื่อสรุปรายงานประจำปีต่อ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเดือนกันยายนของทุกปีองค์ความรู้ที่นำมารายงาน ได้แก่ ความรู้ 2 กลุ่ม ดังนี้

3.1 ความรู้กลุ่มบทความ ที่มีรูปแบบ การเขียนที่ชัด เจน (Explicit Knowledge) ดูรายละเอียดในภาคผนวก) ดังนี้

1) ความรู้ในการปฏิบัติงาน (Working Knowledge)

2) กระบวนการ / วิธีการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ (Best Practice)

3) สรุปสาระสำคัญจากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน       (Book Brief)

3.2 กลุ่มความรู้กระดานข่าว

ความรู้กลุ่มนี้ไม่มีแบบฟอร์ม เป็นความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Tacit Knowledge) ผ่านเว็บไซต์ หรือ จากการ ใช้ blog เช่น

1) ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing Board)

2) ความรู้จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ (Ask an Expert)

ซึ่งความรู้ทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ได้จัดแบ่งไว้ 8 สาขา และสามารถนำมาเป็นแนวทาง ในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ ดังนี้

1) วิชาการ (เช่น การบริหารการศึกษา การใช้หลักสูตร การพัฒนาการใช้หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการศึกษาการนิเทศภายใน ฯลฯ)

2 ) บุคลากร  3) กิจการนักเรียน 4) การเงินบัญชี และสินทรัพย์

5) นโยบาย แผนและงบประมาณ 6) บริหารทั่วไป

7) การศึกษาพิเศษ และการศึกษาสงเคราะห์

8) เทคโนโลยี และการสื่อสาร

2. จัดโครงสร้างการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้เอื้อต่อการจัดการความรู้ต่อการจัดการความรู้ภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเอง และเอื้อต่อการส่งเสริมให้โรงเรียนใช้การจัดการความรู้ในโรงเรียน

1.
จัดการความรู้ด้วยกิจกรรม หรือ วิธีการที่หลากหลาย ภายในสำนักงานโดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ เช่น

  1) การหมุนงาน หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ ของบุคลากรอย่างเหมาะสม

2) จัดระบบพี่เลี้ยง

3) จัดทีมงานข้ามสายงาน

4) จัดสัมมนาเรื่องความรู้ต่างๆ (Knowledge Forum)

5) จัดให้มีกิจกรรม Expert Interview

6) จัดให้มีกิจกรรม Focus Group

7) จัดให้มีกิจกรรม Story Telling

8) จัดให้มีกิจกรรม Suggestion System

9) ประชุมทบทวนก่อนการดำเนินงานสำคัญ (Before Action Review)

10) ประชุมประเมินผลการดำเนินงานสำคัญ (After Action Review)

11) ประชุม เสนอผลงานประจำปีของหน่วยงานย่อยในสังกัด

12) ประชุมเสนอผลงานประจำปี ของโรงเรียน

2. จัดกิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยงานย่อย ในสำนักงานเขตพื้นทีและโรงเรียนจัดการความรู้ อย่างต่อเนื่อง
 

3. กำกับติดตามการใช้ การจัดการความรู้ของหน่วยงานย่อยในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน

4. จัดกิจกรรมยกย่อง ประกาศเกียรติคุณ พิจารณาให้โบนัสประจำปีโดยส่วนหนึ่งพิจารณาจากประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการจัดการความรู้

5. วัดและประเมินผลความสำเร็จ เพื่อปรับปรุงการใช้การจัดการความรู้

ของสำนักงาน

เพื่อเพิ่มพลังความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนทุกคน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการระดมสรรพกำลังของบุคลากรที่มีอยู่แล้ว มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน การจัดการความรู้จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาคนซึ่งได้แก่ บุคลากรของสำนักเขตพื้นที่การศึกษา และ บุคลากรของโรงเรียน พัฒนางานสนับสนุน บุคลากรทางการศึกษา ครู ผู้บริหารโรงเรียนที่ทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียน และพัฒนาองค์กร ซึ่งได้แก่ ตัวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในฐานะผู้นำต้นแบบการจัดการความรู้ของผู้นำของผู้นำทางการศึกษาอื่นๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาของตนเอง

 

เอกสารอ้างอิง

ชัด บุญญา. การจัดการความรู้ในโรงเรียน. กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่เชียงใหม่ เขต 1 ,2550. (เอกสารอัดสำเนา)

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำนักจัดการความรู้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 22-26 พฤษภาคม 3550 ณ โรงแรม แกนด์ เอดร์วิลล์ กรุงทพมาหานคร

สุวัฒน์ เงินฉ่ำ,ดร. ภาพนิ่งประกอบการบรรยาย เรื่อง การจัดการความรู้เพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพขององค์การทางการศึกษา. เอกสารการประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำนักจัดการความรู้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 22-26 พฤษภาคม 3550 ณ โรงแรม แกนด์ เอดร์วิลล์ กรุงทพมาหานคร.

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สถาบัoส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (Knowledge Management Institute)

www.doa.go.th/korporror

 

 

     ทั้งหมดนี้เป็นฉบับย่อ ดูบทความทั้งหมดในwww.nitesonline.net

 

 

หมายเลขบันทึก: 138699เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้รับความรู้จากท่านพี่ชัด บุญญา อย่างมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูล

สวัสดีพี่ชัด จำน้องชายคนนี้ได้หรือเปล่า (สมัยอยู่กรมสามัญศึกษา)
วันหลังจะขอคำปรึกษาท่านพี่อีกมากเลยครับ

เคารพอย่างสูง

นิคม
สพท.ปทุมธานี เขต 1

 

สวัสดีครับน้องนิคม

ดีใจมากครับที่ได้มาพบกันอีกนะที่นี้

ก็ว่ากันไปนะครับ  นี่คือสิ่งที่ทำได้ตามภาระหน้าที่

น้องเข้ามาคุยด้วยถือว่าเป็นกำไร

ถ้าให้ดีอีเมล์ตรงก็ได้ครับ  อาจจะได้บอกข่าวดีเป็นการส่วนตัวนะครับ

email ของพี่นะครับ  [email protected]

 

ชัด

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท