พระนเรศศวรตั้งหญิงชาวบ้านให้เป็นแม่


พระนเรศศวรตั้งหญิงชาวบ้านให้เป็นแม่

 

ในพงศาวดารวัน วลิตกล่าวไว้ว่า เย็นวันหนึ่ง พระนเรศวรและคณะเพียงไม่กี่คนล่องเรื่อไปตามแม่น้ำขณะนั้นเกิดพายุฝนห่าใหญ่จึงไม่สามารถเสด็จกลับวังได้ จึงให้แวะพักหลบฝนที่บ้านหลังหนึ่ง บนบ้านมีหญิงชราคนหนึ่งแลเห็นคณะเดินทางก็ตกใจและกล่าวว่า

...ลูกแม่เจ้าไม่รู้ดอกหรือว่าพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จมาบริเวณนี้...

 พระองค์ทรงตรัสว่า ...เป็นอะไรเล่าหากพระองค์พระประสงค์จะฆ่าลูก ก็นับว่าเป็นคราวเคราะห์ของลูกเอง...

  นางบอกให้เงียบเสียงลงเพราะกลัวจะได้ยินถึงพระมหากษัตริย์ แต่ผู้ปลอมตัวมากก็เสียงแข็งมากขึ้นทำทีไม่เกรงกลัวต่อพระบารมี จากนั้นพระองค์ก็ทรงขอดื่มกระแช่จากนางผู้นั้น แต่นางก็ห้ามและติงว่า

...ในช่วงเข้าพรรษาเขาห้ามดื่มของมึนเมา....

 จากนั้นนางก็หาเสื้อผ้าแห้ง ๆ มาให้พระนเรศวรผู้ที่ปลอมตัวเป็นชาวบ้านธรรมดาเปลี่ยน และจัดการจัดสำรับข้าวปลาอาหาร และยอมยกกระแช่เหล้าที่เก็บเอาไว้มาให้ พระองค์ทรงบอกกับนางหญิงชาวบ้านว่า พระองค์ไม่ต้องการที่จะผูกมัดตัวเองตามกฏหมายที่เข็มงวดจนเกินไปของพระเจ้าแผ่นดิน  หลังจากที่พระองค์สนทนากับหญิ่งแก่ชาวบ้านคนนี้ทำให้พระองค์ได้รับรู้ว่าราษฎรของพระองค์อยู่กันอย่างเดือดร้อนอย่างไร คืนวันนั้นพระนเรศวรทรงบรรทมที่บ้านหลังนี้

และเมื่อเช้ามืด นางก็ปลุกและบอกให้ขายผู้มาค้างแรมและคณะให้รีบกลับอย่างเงียบ ๆ ตั่งแต่ตะวันยังไม่ขึ้น เพื่อจะได้ไม่เป็นการส่งเสียงดังให้พระเจ้าแผ่นดินได้ยินจนเป็นเหตุให้เกิดความโชคร้ายแก่ตัว

และในวันรุ่งขึ้นอีกวันพระนเรศวรทรงเรือหลวงกับคณะมายังบ้านหญิงแก่ยากจนผู้นี้อีก และรับสั่งให้ทหารเอาเสื้อผ้าใหม่ไปให้หญิงแก่เปลี่ยนและให้นำตัวมาเฝ้าพระองค์ที่เรือพระที่นั่ง หญิงชราตกใจเมื่อรู้ว่ามีทหารมากมายมาที่เรือนตน เพราะกลัวว่ามีคนนำความไปบอกทางการจนรู้ถึงพระกรรณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน และกำลังจะจับนางไปรับพระราชอาญา นางจึงขัดขืน แต่ทหารก็จับนางเปลี่ยนเสื้อผ่าและนำมาเข้าเฝ้าพระนเรศวรจนได้ และนเรศวรจับมือหญิงผู้นั้นและบอกว่า

...อย่าเกรงกลัวไปเลย เราเองคือผู้ที่มาพักในวันก่อน เมื่อแม่เจอเราก็เรียกเราว่าลูกและเลี้ยงดูเราเป็นอย่างดี เหตุใดเราจะเรียกแม่ท่านว่าแม่ไม่ได้...

หลังจากนั้นพระนเรศวรก็รับตัวนางยากจนผู้นี้เข้าไปอยู่ในพระราชวัง ปลูกเรือนให้อยู่และหาคนมาคอยรับใช้เลี้ยงดูอย่างดี จนนางสิ้นอายุไขก็ได้รับการพระราชทานเพลิงศพ และได้รับเกียรติ์ให้เป็นเชื้อพระวงศ์ด้วย

ของ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ 2548

ที่มา : รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟรีต (วัน วลิต)

เรียบเรียง : วาทิน ศานติ์ สันติ

ผู้เขียนขออนุญาต ขอคัดลอกความคิดเห็นของคุณป้อมที่กรุณามาไว้ตอนท้ายด้วย และถ้าใครสนใจนำไปใช้ในการแสดง กรุณาติดต่อเจ้าของตามที่อยู่ที่ให้ไว้ตอนท้าย

กระท่อมน้อยริมน้ำ

บทละครเรื่องนี้เป็นละครคำกลอนเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนเสด็จตรวจดู

แลทุกข์ สุข ของราษฎรในยามสงบซึ่งเป็นตอนหนึ่งจากหนังสือ เรื่อง “กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้” ที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แปลพระราชพงศาวดารที่แต่งโดยฝรั่งชาวฮอลันดา ชื่อ เยเรเมียส ฟอนฟลีด แต่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เคยทรงเรียกชื่อฝรั่งคนนี้ว่า วัน วลิต ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จึงเรียกว่า วัน วลิตด้วย และได้วิจารณ์ไว้ว่า………

“วัน วลิต คงจะได้ฟังเรื่องนี้จากคำคนบอกเล่า แต่ก็เห็นว่าสำคัญถึงขนาดต้องจดลงไว้ ทั้งเรื่องซึ่งก็น่าขอบใจวันวลิต เพราะได้ทำให้เราได้แลเห็นน้ำพระราชหฤทัยของพระนเรศวรเป็นเจ้าทั้ง

สามด้าน

ด้านหนึ่งเป็นพระราชหฤทัยของวีรกษัตริย์ผู้เฉียบขาด เคร่งในระเบียบวินัยมิได้ทรง

ย่อหย่อนที่จะลงพระราชอาชญาแก่ผู้ที่ขาดวินัย หรือทำผิดพระราชกำหนดกฎหมายทรงกระทำพระองค์ให้เป็นที่เกรงขามเป็นที่สุดแก่คนทั้งในและนอกพระราชอาณาจักรอันเป็นทางเดียวที่จะกอบกู้และรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติตลอดจนความสงบสุขและความสามัคคีในบ้านเมือง

อีกด้านหนึ่งนั้นทรงเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่นโปรดฝรั่งเข้าเฝ้าฯตามแบบ

อย่างธรรมเนียมของตน ทรงเป็นผู้รอบรู้ในเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆทั้งในและนอกประเทศทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของสิ่งที่ควรจะเห็นคืออำนาจ และความเจริญของประเทศต่างๆในยุโรปสมัยนั้นถึงกับมีพระราชดำริให้ส่งคณะราชทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีในยุโรป เป็นวิเทศโศบาย

ที่นำหน้าชาติอื่นๆในเอเชียในสมัยเดียวกัน

อีกด้านหนี่งที่สำคัญยิ่งก็คือ น้ำพระราชหฤทัย อันเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาต่อ

ผู้ยากไร้ ดังเรื่องที่วันวลิตได้เล่าไว้ ซึ่งจะต้องครอบคลุมไปถึงผู้ยากไร้อีกจำนวนมากมายในพระราช

อาณาจักร ”

ฉากที่ ๑

( บรรยาย )

เมื่อสมเด็จ พระนเรศวร ขึ้นครองราชย์

ประชาชาติ ก็สันติสุข ทุกหัวระแหง

ทำไร่นา หากินได้ ไม่ต้องระแวง

ว่าใครจะกล้า มายุทธแย้ง แย่งแผ่นดิน

ด้วยพระยศ ยุทธเดช ทุกเทศรู้

ศึกศัตรู ยินพระนาม ก็คร้ามสิ้น

เคี่ยวขุนนาง เคร่งวินัย ไม่ราคิน

สอดส่องราษฎร์ ให้อยู่กิน กันสุขสบาย

แม้ใกล้ไกล ถิ่นไหนมี ราษฎรอยู่

เสด็จตรวจ สำรวจรู้ ไม่เหนื่อยหน่าย

พายุกล้า ฝนฟ้ากระหน่ำ ตรำพระกาย

พระปราบร้าย โฉดฉล จนระบือ ( บันลือ )

ฝนตกหนักแล้วซาลง

(พระนเรศวรเสด็จลงเรือถึงฝั่งตรงกระท่อมน้อย ฝนยังไม่ขาดเม็ดดี เสด็จขึ้นจากเรือแล้วทรงขึ้นฝั่งไปจนถึงกระท่อมแล้วทรงก้าวขึ้นบันได )

แม่เฒ่า เอ๊ะเสียงใคร ขึ้นบันได มาดังลั่น

โอ ! พ่อผัน พ่อผัน ! กลับมาหรือ

ผันลูกแม่ ลูกมาแล้ว แก้วแม่ฤา ( ฮือ ) เสียงร้องไห้

พระนเรศวร อย่าเรียกชื่อ เพ้อเจ้อ ละเมอไป

ดูดีดี ให้เต็มตา ว่าใครแน่ ?

แม่เฒ่า ไม่ใช่ผัน ลูกแม่ แล้วใครไหน

โถ ! เปียกฝน มาทั้งตัว มัวช้าใย

เข้าข้างใน ไปผลัดผ้า อย่าช้าที

พระนเรศวร บอกว่าข้า ไม่ใช่ , ไม่ใช่ ( ดึงผ้าคลุมเศียรออก )

แม่เฒ่า ว้าย ! คุณพระ งั้นพ่อจะ มาหลบฝน หรือปล้นกันนี่ !

แม่ขัดสน เงินทอง จนของดี

ที่พอมี ก็ปลาร้า และปลาเกลือ

พระนเรศวร ปลาร้าปลาเกลือ ข้าไม่เอา จะเอาสุรา

แม่เฒ่า อย่าพูดดัง

พระนเรศวร งั้นเหล้ายา

แม่เฒ่า ( ฮึ ) ว่าไม่เชื่อ

พระนเรศวร พูดดัง ๆ ให้ฟังขัด ไม่คลุมเครือ

แม่เฒ่า ชัดเจนเหลือ ที่จะฟัง ยั้งเสียที

ไม่รู้รึ เจ้าอยู่หัว ท่านเสด็จ

ทรงเตร่เตร็ด ตรวจการ แถวนี้นี่

ในยามดึก อึกทึกไป

พระนเรศวร เป็นไรมี

(ถ้า) เสียงดังโทษ ถึงชีวี (ก็) สุดที่กรรม

แม่เฒ่า ก็เสียงดัง ผิดสังเกตุ เหมือนเหตุใหญ่

ถ้าถึง (พระ ) กรรณ โทษภัย อาจกลายกล้ำ

พระนเรศวร ที่ต้องโทษ ล้วนทุจริต ผิดศีลธรรม

(เสียงดังขึ้น) ข้าไม่ผิด จะจองจำ ก็ตามใจ

(แม่เฒ่าสะดุ้งตบอก) โธ่เอ๋ยโธ่ ยิ่งว่า เหมือนยิ่งยุ

มุทะลุ เก่งกล้า มาแต่ไหน

ไปเสียเถิด ขืนอยู่แม่ จะบรรลัย

พระนเรศวร ให้เหล้าสิ แล้วจะไป ตามต้องการ

แม่เฒ่า (เสียงอ่อน) ลูกเอ๋ย หน้านี้ เข้าพรรษา

จะซื้อหา ย่อมไม่ได้ ทุกร้านย่าน

เจ้าอยู่หัว ท่านให้งด สุราบาล

ตลอดกาล เข้าพรรษา อย่าดื่มเลย

พระนเรศวร ข้าเปียกฝน จนหนาวนัก อยากดื่มเหล้า

เพียงนิดหน่อย ไม่ถึงเมา (ดอก) แม่เฒ่าเอ๋ย

แม่เฒ่า สิ่งใดเจ้า- อยู่หัวห้าม อย่าก้ำเกย

อยู่เฉย ๆ เถอะจะหา ผ้าผลัดให้

( แม่เฒ่าเข้าไปหยิบเสื้อผ้าของลูกชายออกมาส่งให้)

พระนเรศวร เสื้อของใคร

แม่เฒ่า เอาไปผลัด ให้คลายหนาว ที่เปียกชุ่ม ซักตากราว แห้งแล้วใส่ (ให้แห้งได้)

( พระนเรศวรรับผ้าเดินเข้าข้างในเปลี่ยนชุดใหม่ออกมา )

ค่อยยังชั่ว ช่างทำชอบ ข้าขอบใจ

(แม่เฒ่ามองแล้วรำพึง) ช่างกระไร คล้ายลูกเรา ตัวเท่า ๆ กัน

พระนเรศวร ผลัดผ้าแล้ว หนาวประทัง แต่ยังเหน็บ

เหล้ามีเก็บ ไว้ถ้าให้ จิบคลายครั่น

แม่เฒ่า เหล้าอะไร ใครจะมี ที่ไหนกัน

พระนเรศวร ก็แอบไว้ ที่ไหนั่น (ชี้พระหัตถ์)

(แม่เฒ่าเอามือทาบอกตกใจ) อนิจจา

ช่างสรลอด สอดหา ตาดีแท้

เหล้าไหนี้ เก็บไว้แต่ ก่อนพรรษา

นานกาเล รอวัน “ผัน” กลับมา

หากให้ดื่ม ขอสัญญา อย่าบอกใคร

พระนเรศวร ข้าสัญญา กับใครใคร จะไม่บอก

แม่เฒ่า ต้องไม่เกิน สองจอก พอ

พระนเรศวร พอก็ได้ (ก็ย่อมได้)

(แม่เฒ่ารินเหล้าให้พระนเรศวร ทรงดื่มไป ๒ จอก )

พระนเรศวร เพียงสองจอก ข้าก็ปลื้ม เหมือนดื่มใจ

ที่หนาวใน กลายเป็นอุ่น คุณอนันต์

(แม่เฒ่าไปเอาหมอนเสื่อมาปูให้)

ดื่มเหล้าแล้ว พักนอน ก่อนสักงีบ

อย่าเพ่อรีบ ไปเลยพ่อ รอไก่ขัน

ดึกบ้านนอก เขาไม่ออก ไปไหนกัน

ขืนผลุนผลัน เขาเห็นผิด คิดว่าโจร

พระนเรศวร (ตรัสเบาลง )

นี่อย่างไร เชื่อว่าข้า นั้นมาดี

จึงปรานี ให้พึ่งพัก ไม่หักโค่น

แม่เฒ่า พอว่าง่าย พูดไม่ดัง ฟังอ่อนโยน

รูปนี้ไซร้ ไม่ใช่โจร ดอกคนดี

อีกอย่างหนึ่ง ก็ละม้าย คล้ายพ่อผัน

ลูกแม่นั้น ไปรบทัพ ไม่กลับที่

เพื่อนกลับมา ว่าไม่ตาย วายชีวี

แม่เฒ่า (เสียงเครือ) (จึง)เชื่อว่ามี สักวัน ผันกลับมา (สะอื้น)

พระนเรศวร (รำพึง )

น่าสงสาร แม่เฒ่า

แม่เฒ่า เฝ้าคอยลูก

แม่หวังปลูก ให้บวชเรียน เพียรพรรษา

ไตรจีวร พร้อมสรรพ์ เครื่องบรรพชา

แม่เพียรหา กว่าจะครบ จบสามปี

พระนเรศวร ไตรจีวร บาตรที่แอบ ไว้ในห้อง

ล้วนเป็นของ คอยจะบวช ลูกหรือนี่

แม่เฒ่า ใช่ ใช่แล้ว แม่เฝ้าคอย ทุกนาที (จนทุกวันนี้)

พระนเรศวร ถ้าสู้ศึก สิ้นชีวี -

อย่า ! อย่า ! ว่าเป็นลาง

เขาสัญญา ว่ากลับมา จะบวชใหม่

เพราะวันจะไป โกนหัวพร้อม แล้วทุกอย่าง

พลันเกิดศึก ระดมพล คราวชนช้าง

บวชจึงค้าง เพราะนาค “ผัน” พลันเปลี่ยนใจ

เห็นพรรคพวก เพื่อนพ้อง ต้องออกรบ

ว่าจะหลบ ใต้ผ้าเหลือง อย่างไรได้

ขอไปสู้ ให้สมแค้น เพื่อแดนไทย

อุปัชฌาย์ ห้ามเท่าไร ก็ไม่ฟัง

เถียงว่าชาติ เอกราช ต้องมีก่อน

ศาสนา จะบวร นั้นภายหลัง

ถ้าชาติล่ม วัดระเน พระเซซัง

คนพวกเรา ก็หมดหวัง จะเป็นไทย

บัดนี้ชาติ ศาส์นกษัตริย์ ก็ยืนอยู่

แต่ลูกแม่ นั้นไม่รู้ ไปอยู่ไหน

ให้แม่คอย คอยนาน สักเท่าไร

แม่(จึง)จะได้ เกาะผ้าเหลือง ไปเมืองแมน(เสียงเครือ)

พระนเรศวร พม่ามาผลาญ ลูกแม่หาญ ไปรบสู้

บ้านเมืองเรา จึงยังอยู่ เป็นปึกแผ่น

หากไม่สู้ ศัตรูผยอง ครอบครองแดน

แม่เฒ่า คงคับแค้น เหมือนเราไทย ตายทั้งเป็น

พระนเรศวร (รำพึง ) ถ้าแม่ไทย จิตใจ อย่างนี้หมด

อนาคต ชนชาติไทย จะสูงเด่น

จะปกครอง ดูแล ไม่ยากเย็น

เพราะแม่เลี้ยง ลูกให้เป็น พลเมืองดี

สงสารแม่ ที่เสียลูก เลือดในอก

เพื่อป้องปก แผ่นดินไว้ ให้คงที่

เกิดมาแล้ว ต้องตายตาม กรรมที่มี

ช้าหรือเร็ว ตายให้ดี คนเทิดทูน

พูดกันนาน ยังไม่รู้ แม่ชื่อ

แม่เฒ่า แผ้ว !

พระนเรศวร ไม่ว่าลูก (ผัน) กลับมาแล้ว หรือดับสูญ

กุศลกรรม ที่เขาทำ นั้นมากมูล

จะเกื้อกูล แม่สุขสรรพ์ เห็นทันตา

ดึกมากแล้ว ไปพักผ่อน นอนให้หลับ

ข้าจะกลับ

แม่เฒ่า ยังไม่แห้ง เลยเสื้อผ้า

จวนรุ่งแจ้ง ผ้าแห้ง จึงไคลคลา

ลงเอนหลัง สักเวลา อย่าร้อนรน

(สมเด็จพระนเรศวรประคองแม่เฒ่า ให้เดินเข้าข้างในห้อง)

ขอให้แม่ นอนหลับ แล้วฝันดี

และปลื้มใจ ว่าแม่นี้ มีกุศล

เลี้ยงลูกไทย ได้ดี เป็นวีรชน

ช่วยชาติศาส- นาพ้น พิบัติภัย

สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จออกมาประทับเอนพระปฤษฎางค์ลงกับเสื่อที่แม่เฒ่าปูไว้ ให้พร้อมพระเขนย ไฟหรี่ลง ดนตรีบรรเลงเพลง นานอีก ๒ นาที เสด็จลุกขึ้นจากที่บรรทมย่องพระบาทแผ่วเบาไปที่ราวตากผ้าทรงเก็บพระภูษา และฉลององค์ที่แม่เฒ่าซักตากไว้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงบันไดไปยังเรือที่จอดรอรับเสด็จอยู่

ฉากที่ ๒

เป็นฉากบนฝั่งแม่น้ำ ซี่งเป็นที่ตั้งของกระท่อมแม่เฒ่าแผ้ว มีกลุ่มคน (๖ – ๗) คน ยืนดูเรือพระที่นั่งกำลังพายมากลางแม่น้ำ

นางแหวน ดูโน่นแน่ะ เรือหลวง สวยดีนะ

นายบุญธรรม คงเป็นพระ นเรศวร เสด็จ

ลุงอ่ำ - ไม่ใช่

บนบัลลังก์ นั้นไม่มี- เจ้าองค์ใด

นางแหวน งั้นพลพาย เหตุไฉน พร้อมเพียบเลย

นายบุญธรรม ดูซิดู เหหัวเรือ มาฝั่งนี้

เฮ้ย ! ท่ามัน ไม่เข้าที เสียแล้ว (ละ) เว้ย

เรื่องเจ้า เรื่องนาย ข้าไม่เคย

ลุงอ่ำ ต้องหมอบเฝ้า หน้าอย่าเงย เมื่อเอ่ยวจี

เรือลำนี้ เขาเรียกว่า เรือกัญญา

เป็นนาวา ในตำแหน่ง มเหสี

อีกตำแหน่ง พระราช- ชนนี

นางแหวน ลุงรู้ดี

ลุงอ่ำ ก็ลุงเคย เป็นพลพาย

นายบุญธรรม แต่ทำไม บัลลังก์ จึงว่างเปล่า

ไม่มีเจ้า มีแต่ไพร่ พลพายหลาย

นางแหวน ใกล้เข้ามา แล้วเห็นดี มีหญิงชาย

นางบุญมา(ชี้มือ) จอดที่ชาย- ตลิ่งล่าง ฝั่งนี้(แล้ว)ละ

(ทหารมหาดเล็กเดินขึ้นมาพร้อมกับนางข้าหลวงเชิญพานผ้า ๒ คน และผู้ติดตามอีก ๑ คน)

นายบุญธรรม นั่นคงเป็น มหาดเล็ก เดินขึ้นมา

นางแหวน ลุงอ่ำ – รีบ , ไปรับหน้า หน่อยเถอะน่ะ

( กลุ่มของทหารมหาดเล็กเดินเข้ามาใกล้หันไปถามนางแหวน)

มหาดเล็ก นี่กระท่อม แม่แผ้ว ใช่ไหม่จ๊ะ

นางแหวน ใช่เจ้าค่ะ ธุระท่าน เรื่องอันใด

มหาดเล็ก มีพระราช- บัญชา ให้มารับ

นางแหวน(ว๊าย) ให้มาจับ ด้วยเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่

นายบุญธรรม แกเป็นม่าย ใจเที่ยง ไม่เกี่ยงใคร

ลุงอ่ำ โน่นอย่างไร แกเดินออก มานอกซาน

( ทหารมหาดเล็กและคณะเดินไปขึ้นบันไดกระท่อมแม่แผ้ว)

เข้าทักถามแม่แผ้ว ซึ่งยืนตะลึงหน้าตื่นอยู่กลางนอกชาน

มหาดเล็ก แม่ชื่อแผ้ว ใช่ไหม

แม่เฒ่า ใช่แล้วจ๊ะ

มีธุระ อะไร-

มหาดเล็ก - มี พระบรรหาร

ให้มารับ ตัวแม่ไป

แม่เฒ่า(ตกใจกลัวจนตัวสั่น) ไม่ได้การ

ข้าสาบาน ไม่เคยทำ กรรมชั่วใด

(รำพึงกับตัวเอง) คงจะเป็น ดึกดื่น เมื่อคืนนี้

เราปรานี หนุ่มขึงขัง เสียงดังใหญ่

ให้ผ้าผลัด ให้พักนอน ก่อนจะไป

ให้ดื่มสุรา เอ้ยไม่ใช่ ! ไม่ค้วรไม่ควร! (ร้องไห้ปิดปาก)

มหาดเล็ก หนุ่มขึงขัง เสียงดัง เมื่อคืนนี้

พระคือ เจ้าชีวี นเรศวร (แม่เฒ่าสะดุ้ง)

ที่ถวาย เอื้ออารี มีทั้งมวล

ทุกสิ่งล้วน ตรึงพระทัย ไม่ลืมเลือน

รับสั่งว่า เมื่อคืนค่ำ ถึงยามยาก

แม่ออกปาก เรียกเป็นลูก ทุกข์คลายเคลื่อน

(จึง) โปรดให้มา รับแม่ อย่าแชเชือน ให้จากเรือน ไปอยู่วัง นั่งกินบุญ

แม่เฒ่า โปรดเถอะพ่อ อย่าล้อเล่น เห็นตลก

มหาดเล็ด เป็นความจริง-

แม่เฒ่า อย่าวนวก ให้วายวุ่น

ข้ายากจน หากมีโทษ โปรดการุณ

รอทำบุญ บวชลูกก่อน ค่อยรับกรรม

มหาดเล็ก พระรับสั่ง ให้พาตัว ไปให้ได้

แม่เฒ่า (โธ่)บาปอะไร จึงได้ยาก ถลากถลำ

ขอท่านโปรด เมตตา อย่าใจดำ

อย่าได้นำ ข้าไป ในวังเลย

ไปทูลว่า ข้างันงก ตกใจกลัว

อกระรัว สั่นสะท้าน สว้านเสย

จนตัวตาย ถวายชีวัง เป็นสังเวย

เพื่อชดเชย ที่ทำพิษ ผิดพลั้งไป

มหาดเล็ก เหตุที่พา ตัวไป มิใช่ผิด

เจ้าชีวิต เห็นความดี อันยิ่งใหญ่

พระทรงเห็น ความลำบาก และยากไร้

ของแม่ไทย ที่สูญลูก ในสงคราม

ให้รับตัว ไปอยู่วัง หวังยกย่อง

( หันไปพูดกับนางข้าหลวงที่เชิญพานผ้าเครื่องแต่งตัว)

ช่วยแต่งตัว ให้เอี่ยมอ่อง อล่องอร่าม

(แม่เฒ่าจะลุกหนีจะลงจากเรือน)

มหาดเล็ก จะไปไหน

แม่เฒ่า จะไปหา หลวงตาพราหมณ์

ให้ช่วยแก้ คดีความ ยามอับจน

มหาดเล็ก พุทโธ่เอ๋ย พูดเท่าไร ก็ไม่เชื่อ

เสียเวลา น่าเบื่อ ต้องดื้อด้น

(พูดกับนางข้าหลวง) ช่วยกันปล้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า สองสามคน

แล้วพาไป ให้นั่งบน บัลลังก์กัญญา

นางข้าหลวง ๒ – ๓ คน ช่วยกันจับเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยรุนหลังไปข้างใน แล้วกลับมาในเสื้อผ้าชุดใหม่ ขณะที่เข้าไปข้างในให้ทำเสียงพูดทั้งปลอบ ขู่ เสียงร้อง ฯลฯ (ดนตรีทำเพลง) ทั้งหมดพากันลงเรือ

(เสียงเห่เรือ ) นาวางามสง่าท้อง ชลธี

เสริมส่งศักดิ์ชนนี ฟ่องฟ้า

กัญญา ร่มรังสี แสงส่อง

พร้อมพรั่งพาย ไฮ้ฮ้า พรั่งพร้อมพลพาย

กัญญาโสภาบัง ร่มบัลลังก์เรือกัญญา

เรือทรงอัครชายา เรือศักดาพระชนนี

เรียวเรือลอยเล่นลำ หัวเรือนำแหวกวารี

ฝอยฟองฟ่องนที ฝีพายจ้วงจำเริญตา ( เห่………

ประวัติย่อผู้ประพันธ์

อาจารย์อนงค์ นาคสวัสดิ์ มีบิดาชื่อรองอำมาตย์โทโชติ และนางชื้น พัฒนากุล บิดาของท่านอาจารย์ได้ย้ายไปรับราชการตำแหน่งครูใหญ่ ที่โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕ อาจารย์อนงค์จึงได้เกิดที่จังหวัดสุโขทัย และต่อมาบิดาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก และได้ย้ายไปเป็นศึกษาธิการ จังหวัดอุทัยธานีและได้เสียชีวิตลงขณะอายุได้ ๔๐ ปีเศษ

การศึกษาของอาจารย์อนงค์ นาคสวัสดิ์ ได้เข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก และชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสตรีเบญจมราชูทิศ จังหวัดอุทัยธานี และเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนศิลปากรนาฏดุริยางค์ จนจบการศึกษาและ ได้เข้ารับราชการครูที่โรงเรียน ฝึกหัดครู ป.กศ. จังหวัดพิษณุโลก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนเรศวร) จนจบปริญญาตรี กศบ. และยังคงรับราชการครูที่วิทยาลัยครู พิบูลสงครามพิษณุโลก (ฝึกหัดครู ป.กศ.) เป็นเวลา ๑๖ ปี จึงได้ย้ายมารับราชการที่วิทยาลัยครูพระนคร และได้ศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะอักษรศาสตร์ จนจบปริญญาโทภาษาตะวันออกสาขาบาลี - สันสกฤต และรับราชการต่อมาจนเกษียณอายุราชการ หลังจากนั้นได้ไปเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยรังสิตอีก ๑๓ ปี จนได้รับเกียรติเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์

ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้สมรสกับนายครรชิต นาคสวัสดิ์ ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว มีบุตรและธิดา ๔ คนเป็นชาย ๑ คนและเป็นหญิง ๓ คน

อาจารย์มีผลงานการประพันธ์อยู่มากแต่ที่ประพันธ์อยู่เสมอคือ บทอาเศียรวาท ลงในหนังสือสายใจไทยทุกฉบับและอื่น ๆ อีก บทละครในฉบับนี้ถือว่าเป็นบทละครอมตะของชาติไทย แต่ละบทมีความลึกซึ้งของภาษาอันเกิดจากห้วงลึกของจิตแห่งการเข้าถึงความเป็นจริงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา

บทละครนี้สงวนลิขสิทธ์ตาม พรบ.ลิขสิทธ์ปี พ.ศ.๒๕๓๗ หากท่านผู้ใดมีความประสงค์จะนำบทละครนี้ไปจัดการแสดงเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ขอความกรุณาติดต่อ เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตามที่อยู่ข้างล่างนี้

อนงค์ นาคสวัสดิ์

๑๒๑๐ ซอย ๔ ถนนศรีบูรพา

แขวงคลองตัน

เขตบางกะปิ

กรุงเทพมหานคร ( ๑๐๒๔๐ )

โทร ๐๒ - ๓๗๗๕๕๐๙

หมายเลขบันทึก: 138673เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อ่านแล้ว ได้ความรู้
  • ได้ความรู้สึกที่ดี ๆ นะ

กระท่อมน้อยริมน้ำ

บทละครเรื่องนี้เป็นละครคำกลอนเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนเสด็จตรวจดู

แลทุกข์ สุข ของราษฎรในยามสงบซึ่งเป็นตอนหนึ่งจากหนังสือ เรื่อง “กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้” ที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แปลพระราชพงศาวดารที่แต่งโดยฝรั่งชาวฮอลันดา ชื่อ เยเรเมียส ฟอนฟลีด แต่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เคยทรงเรียกชื่อฝรั่งคนนี้ว่า วัน วลิต ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จึงเรียกว่า วัน วลิตด้วย และได้วิจารณ์ไว้ว่า………

“วัน วลิต คงจะได้ฟังเรื่องนี้จากคำคนบอกเล่า แต่ก็เห็นว่าสำคัญถึงขนาดต้องจดลงไว้ ทั้งเรื่องซึ่งก็น่าขอบใจวันวลิต เพราะได้ทำให้เราได้แลเห็นน้ำพระราชหฤทัยของพระนเรศวรเป็นเจ้าทั้ง

สามด้าน

ด้านหนึ่งเป็นพระราชหฤทัยของวีรกษัตริย์ผู้เฉียบขาด เคร่งในระเบียบวินัยมิได้ทรง

ย่อหย่อนที่จะลงพระราชอาชญาแก่ผู้ที่ขาดวินัย หรือทำผิดพระราชกำหนดกฎหมายทรงกระทำพระองค์ให้เป็นที่เกรงขามเป็นที่สุดแก่คนทั้งในและนอกพระราชอาณาจักรอันเป็นทางเดียวที่จะกอบกู้และรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติตลอดจนความสงบสุขและความสามัคคีในบ้านเมือง

อีกด้านหนึ่งนั้นทรงเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่นโปรดฝรั่งเข้าเฝ้าฯตามแบบ

อย่างธรรมเนียมของตน ทรงเป็นผู้รอบรู้ในเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวต่างๆทั้งในและนอกประเทศทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของสิ่งที่ควรจะเห็นคืออำนาจ และความเจริญของประเทศต่างๆในยุโรปสมัยนั้นถึงกับมีพระราชดำริให้ส่งคณะราชทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีในยุโรป เป็นวิเทศโศบาย

ที่นำหน้าชาติอื่นๆในเอเชียในสมัยเดียวกัน

อีกด้านหนี่งที่สำคัญยิ่งก็คือ น้ำพระราชหฤทัย อันเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาต่อ

ผู้ยากไร้ ดังเรื่องที่วันวลิตได้เล่าไว้ ซึ่งจะต้องครอบคลุมไปถึงผู้ยากไร้อีกจำนวนมากมายในพระราช

อาณาจักร ”

ฉากที่ ๑

( บรรยาย )

เมื่อสมเด็จ พระนเรศวร ขึ้นครองราชย์

ประชาชาติ ก็สันติสุข ทุกหัวระแหง

ทำไร่นา หากินได้ ไม่ต้องระแวง

ว่าใครจะกล้า มายุทธแย้ง แย่งแผ่นดิน

ด้วยพระยศ ยุทธเดช ทุกเทศรู้

ศึกศัตรู ยินพระนาม ก็คร้ามสิ้น

เคี่ยวขุนนาง เคร่งวินัย ไม่ราคิน

สอดส่องราษฎร์ ให้อยู่กิน กันสุขสบาย

แม้ใกล้ไกล ถิ่นไหนมี ราษฎรอยู่

เสด็จตรวจ สำรวจรู้ ไม่เหนื่อยหน่าย

พายุกล้า ฝนฟ้ากระหน่ำ ตรำพระกาย

พระปราบร้าย โฉดฉล จนระบือ ( บันลือ )

ฝนตกหนักแล้วซาลง

(พระนเรศวรเสด็จลงเรือถึงฝั่งตรงกระท่อมน้อย ฝนยังไม่ขาดเม็ดดี เสด็จขึ้นจากเรือแล้วทรงขึ้นฝั่งไปจนถึงกระท่อมแล้วทรงก้าวขึ้นบันได )

แม่เฒ่า เอ๊ะเสียงใคร ขึ้นบันได มาดังลั่น

โอ ! พ่อผัน พ่อผัน ! กลับมาหรือ

ผันลูกแม่ ลูกมาแล้ว แก้วแม่ฤา ( ฮือ ) เสียงร้องไห้

พระนเรศวร อย่าเรียกชื่อ เพ้อเจ้อ ละเมอไป

ดูดีดี ให้เต็มตา ว่าใครแน่ ?

แม่เฒ่า ไม่ใช่ผัน ลูกแม่ แล้วใครไหน

โถ ! เปียกฝน มาทั้งตัว มัวช้าใย

เข้าข้างใน ไปผลัดผ้า อย่าช้าที

พระนเรศวร บอกว่าข้า ไม่ใช่ , ไม่ใช่ ( ดึงผ้าคลุมเศียรออก )

แม่เฒ่า ว้าย ! คุณพระ งั้นพ่อจะ มาหลบฝน หรือปล้นกันนี่ !

แม่ขัดสน เงินทอง จนของดี

ที่พอมี ก็ปลาร้า และปลาเกลือ

พระนเรศวร ปลาร้าปลาเกลือ ข้าไม่เอา จะเอาสุรา

แม่เฒ่า อย่าพูดดัง

พระนเรศวร งั้นเหล้ายา

แม่เฒ่า ( ฮึ ) ว่าไม่เชื่อ

พระนเรศวร พูดดัง ๆ ให้ฟังขัด ไม่คลุมเครือ

แม่เฒ่า ชัดเจนเหลือ ที่จะฟัง ยั้งเสียที

ไม่รู้รึ เจ้าอยู่หัว ท่านเสด็จ

ทรงเตร่เตร็ด ตรวจการ แถวนี้นี่

ในยามดึก อึกทึกไป

พระนเรศวร เป็นไรมี

(ถ้า) เสียงดังโทษ ถึงชีวี (ก็) สุดที่กรรม

แม่เฒ่า ก็เสียงดัง ผิดสังเกตุ เหมือนเหตุใหญ่

ถ้าถึง (พระ ) กรรณ โทษภัย อาจกลายกล้ำ

พระนเรศวร ที่ต้องโทษ ล้วนทุจริต ผิดศีลธรรม

(เสียงดังขึ้น) ข้าไม่ผิด จะจองจำ ก็ตามใจ

(แม่เฒ่าสะดุ้งตบอก) โธ่เอ๋ยโธ่ ยิ่งว่า เหมือนยิ่งยุ

มุทะลุ เก่งกล้า มาแต่ไหน

ไปเสียเถิด ขืนอยู่แม่ จะบรรลัย

พระนเรศวร ให้เหล้าสิ แล้วจะไป ตามต้องการ

แม่เฒ่า (เสียงอ่อน) ลูกเอ๋ย หน้านี้ เข้าพรรษา

จะซื้อหา ย่อมไม่ได้ ทุกร้านย่าน

เจ้าอยู่หัว ท่านให้งด สุราบาล

ตลอดกาล เข้าพรรษา อย่าดื่มเลย

พระนเรศวร ข้าเปียกฝน จนหนาวนัก อยากดื่มเหล้า

เพียงนิดหน่อย ไม่ถึงเมา (ดอก) แม่เฒ่าเอ๋ย

แม่เฒ่า สิ่งใดเจ้า- อยู่หัวห้าม อย่าก้ำเกย

อยู่เฉย ๆ เถอะจะหา ผ้าผลัดให้

( แม่เฒ่าเข้าไปหยิบเสื้อผ้าของลูกชายออกมาส่งให้)

พระนเรศวร เสื้อของใคร

แม่เฒ่า เอาไปผลัด ให้คลายหนาว ที่เปียกชุ่ม ซักตากราว แห้งแล้วใส่ (ให้แห้งได้)

( พระนเรศวรรับผ้าเดินเข้าข้างในเปลี่ยนชุดใหม่ออกมา )

ค่อยยังชั่ว ช่างทำชอบ ข้าขอบใจ

(แม่เฒ่ามองแล้วรำพึง) ช่างกระไร คล้ายลูกเรา ตัวเท่า ๆ กัน

พระนเรศวร ผลัดผ้าแล้ว หนาวประทัง แต่ยังเหน็บ

เหล้ามีเก็บ ไว้ถ้าให้ จิบคลายครั่น

แม่เฒ่า เหล้าอะไร ใครจะมี ที่ไหนกัน

พระนเรศวร ก็แอบไว้ ที่ไหนั่น (ชี้พระหัตถ์)

(แม่เฒ่าเอามือทาบอกตกใจ) อนิจจา

ช่างสรลอด สอดหา ตาดีแท้

เหล้าไหนี้ เก็บไว้แต่ ก่อนพรรษา

นานกาเล รอวัน “ผัน” กลับมา

หากให้ดื่ม ขอสัญญา อย่าบอกใคร

พระนเรศวร ข้าสัญญา กับใครใคร จะไม่บอก

แม่เฒ่า ต้องไม่เกิน สองจอก พอ

พระนเรศวร พอก็ได้ (ก็ย่อมได้)

(แม่เฒ่ารินเหล้าให้พระนเรศวร ทรงดื่มไป ๒ จอก )

พระนเรศวร เพียงสองจอก ข้าก็ปลื้ม เหมือนดื่มใจ

ที่หนาวใน กลายเป็นอุ่น คุณอนันต์

(แม่เฒ่าไปเอาหมอนเสื่อมาปูให้)

ดื่มเหล้าแล้ว พักนอน ก่อนสักงีบ

อย่าเพ่อรีบ ไปเลยพ่อ รอไก่ขัน

ดึกบ้านนอก เขาไม่ออก ไปไหนกัน

ขืนผลุนผลัน เขาเห็นผิด คิดว่าโจร

พระนเรศวร (ตรัสเบาลง )

นี่อย่างไร เชื่อว่าข้า นั้นมาดี

จึงปรานี ให้พึ่งพัก ไม่หักโค่น

แม่เฒ่า พอว่าง่าย พูดไม่ดัง ฟังอ่อนโยน

รูปนี้ไซร้ ไม่ใช่โจร ดอกคนดี

อีกอย่างหนึ่ง ก็ละม้าย คล้ายพ่อผัน

ลูกแม่นั้น ไปรบทัพ ไม่กลับที่

เพื่อนกลับมา ว่าไม่ตาย วายชีวี

แม่เฒ่า (เสียงเครือ) (จึง)เชื่อว่ามี สักวัน ผันกลับมา (สะอื้น)

พระนเรศวร (รำพึง )

น่าสงสาร แม่เฒ่า

แม่เฒ่า เฝ้าคอยลูก

แม่หวังปลูก ให้บวชเรียน เพียรพรรษา

ไตรจีวร พร้อมสรรพ์ เครื่องบรรพชา

แม่เพียรหา กว่าจะครบ จบสามปี

พระนเรศวร ไตรจีวร บาตรที่แอบ ไว้ในห้อง

ล้วนเป็นของ คอยจะบวช ลูกหรือนี่

แม่เฒ่า ใช่ ใช่แล้ว แม่เฝ้าคอย ทุกนาที (จนทุกวันนี้)

พระนเรศวร ถ้าสู้ศึก สิ้นชีวี -

อย่า ! อย่า ! ว่าเป็นลาง

เขาสัญญา ว่ากลับมา จะบวชใหม่

เพราะวันจะไป โกนหัวพร้อม แล้วทุกอย่าง

พลันเกิดศึก ระดมพล คราวชนช้าง

บวชจึงค้าง เพราะนาค “ผัน” พลันเปลี่ยนใจ

เห็นพรรคพวก เพื่อนพ้อง ต้องออกรบ

ว่าจะหลบ ใต้ผ้าเหลือง อย่างไรได้

ขอไปสู้ ให้สมแค้น เพื่อแดนไทย

อุปัชฌาย์ ห้ามเท่าไร ก็ไม่ฟัง

เถียงว่าชาติ เอกราช ต้องมีก่อน

ศาสนา จะบวร นั้นภายหลัง

ถ้าชาติล่ม วัดระเน พระเซซัง

คนพวกเรา ก็หมดหวัง จะเป็นไทย

บัดนี้ชาติ ศาส์นกษัตริย์ ก็ยืนอยู่

แต่ลูกแม่ นั้นไม่รู้ ไปอยู่ไหน

ให้แม่คอย คอยนาน สักเท่าไร

แม่(จึง)จะได้ เกาะผ้าเหลือง ไปเมืองแมน(เสียงเครือ)

พระนเรศวร พม่ามาผลาญ ลูกแม่หาญ ไปรบสู้

บ้านเมืองเรา จึงยังอยู่ เป็นปึกแผ่น

หากไม่สู้ ศัตรูผยอง ครอบครองแดน

แม่เฒ่า คงคับแค้น เหมือนเราไทย ตายทั้งเป็น

พระนเรศวร (รำพึง ) ถ้าแม่ไทย จิตใจ อย่างนี้หมด

อนาคต ชนชาติไทย จะสูงเด่น

จะปกครอง ดูแล ไม่ยากเย็น

เพราะแม่เลี้ยง ลูกให้เป็น พลเมืองดี

สงสารแม่ ที่เสียลูก เลือดในอก

เพื่อป้องปก แผ่นดินไว้ ให้คงที่

เกิดมาแล้ว ต้องตายตาม กรรมที่มี

ช้าหรือเร็ว ตายให้ดี คนเทิดทูน

พูดกันนาน ยังไม่รู้ แม่ชื่อ

แม่เฒ่า แผ้ว !

พระนเรศวร ไม่ว่าลูก (ผัน) กลับมาแล้ว หรือดับสูญ

กุศลกรรม ที่เขาทำ นั้นมากมูล

จะเกื้อกูล แม่สุขสรรพ์ เห็นทันตา

ดึกมากแล้ว ไปพักผ่อน นอนให้หลับ

ข้าจะกลับ

แม่เฒ่า ยังไม่แห้ง เลยเสื้อผ้า

จวนรุ่งแจ้ง ผ้าแห้ง จึงไคลคลา

ลงเอนหลัง สักเวลา อย่าร้อนรน

(สมเด็จพระนเรศวรประคองแม่เฒ่า ให้เดินเข้าข้างในห้อง)

ขอให้แม่ นอนหลับ แล้วฝันดี

และปลื้มใจ ว่าแม่นี้ มีกุศล

เลี้ยงลูกไทย ได้ดี เป็นวีรชน

ช่วยชาติศาส- นาพ้น พิบัติภัย

สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จออกมาประทับเอนพระปฤษฎางค์ลงกับเสื่อที่แม่เฒ่าปูไว้ ให้พร้อมพระเขนย ไฟหรี่ลง ดนตรีบรรเลงเพลง นานอีก ๒ นาที เสด็จลุกขึ้นจากที่บรรทมย่องพระบาทแผ่วเบาไปที่ราวตากผ้าทรงเก็บพระภูษา และฉลององค์ที่แม่เฒ่าซักตากไว้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงบันไดไปยังเรือที่จอดรอรับเสด็จอยู่

ฉากที่ ๒

เป็นฉากบนฝั่งแม่น้ำ ซี่งเป็นที่ตั้งของกระท่อมแม่เฒ่าแผ้ว มีกลุ่มคน (๖ – ๗) คน ยืนดูเรือพระที่นั่งกำลังพายมากลางแม่น้ำ

นางแหวน ดูโน่นแน่ะ เรือหลวง สวยดีนะ

นายบุญธรรม คงเป็นพระ นเรศวร เสด็จ

ลุงอ่ำ - ไม่ใช่

บนบัลลังก์ นั้นไม่มี- เจ้าองค์ใด

นางแหวน งั้นพลพาย เหตุไฉน พร้อมเพียบเลย

นายบุญธรรม ดูซิดู เหหัวเรือ มาฝั่งนี้

เฮ้ย ! ท่ามัน ไม่เข้าที เสียแล้ว (ละ) เว้ย

เรื่องเจ้า เรื่องนาย ข้าไม่เคย

ลุงอ่ำ ต้องหมอบเฝ้า หน้าอย่าเงย เมื่อเอ่ยวจี

เรือลำนี้ เขาเรียกว่า เรือกัญญา

เป็นนาวา ในตำแหน่ง มเหสี

อีกตำแหน่ง พระราช- ชนนี

นางแหวน ลุงรู้ดี

ลุงอ่ำ ก็ลุงเคย เป็นพลพาย

นายบุญธรรม แต่ทำไม บัลลังก์ จึงว่างเปล่า

ไม่มีเจ้า มีแต่ไพร่ พลพายหลาย

นางแหวน ใกล้เข้ามา แล้วเห็นดี มีหญิงชาย

นางบุญมา(ชี้มือ) จอดที่ชาย- ตลิ่งล่าง ฝั่งนี้(แล้ว)ละ

(ทหารมหาดเล็กเดินขึ้นมาพร้อมกับนางข้าหลวงเชิญพานผ้า ๒ คน และผู้ติดตามอีก ๑ คน)

นายบุญธรรม นั่นคงเป็น มหาดเล็ก เดินขึ้นมา

นางแหวน ลุงอ่ำ – รีบ , ไปรับหน้า หน่อยเถอะน่ะ

( กลุ่มของทหารมหาดเล็กเดินเข้ามาใกล้หันไปถามนางแหวน)

มหาดเล็ก นี่กระท่อม แม่แผ้ว ใช่ไหม่จ๊ะ

นางแหวน ใช่เจ้าค่ะ ธุระท่าน เรื่องอันใด

มหาดเล็ก มีพระราช- บัญชา ให้มารับ

นางแหวน(ว๊าย) ให้มาจับ ด้วยเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่

นายบุญธรรม แกเป็นม่าย ใจเที่ยง ไม่เกี่ยงใคร

ลุงอ่ำ โน่นอย่างไร แกเดินออก มานอกซาน

( ทหารมหาดเล็กและคณะเดินไปขึ้นบันไดกระท่อมแม่แผ้ว)

เข้าทักถามแม่แผ้ว ซึ่งยืนตะลึงหน้าตื่นอยู่กลางนอกชาน

มหาดเล็ก แม่ชื่อแผ้ว ใช่ไหม

แม่เฒ่า ใช่แล้วจ๊ะ

มีธุระ อะไร-

มหาดเล็ก - มี พระบรรหาร

ให้มารับ ตัวแม่ไป

แม่เฒ่า(ตกใจกลัวจนตัวสั่น) ไม่ได้การ

ข้าสาบาน ไม่เคยทำ กรรมชั่วใด

(รำพึงกับตัวเอง) คงจะเป็น ดึกดื่น เมื่อคืนนี้

เราปรานี หนุ่มขึงขัง เสียงดังใหญ่

ให้ผ้าผลัด ให้พักนอน ก่อนจะไป

ให้ดื่มสุรา เอ้ยไม่ใช่ ! ไม่ค้วรไม่ควร! (ร้องไห้ปิดปาก)

มหาดเล็ก หนุ่มขึงขัง เสียงดัง เมื่อคืนนี้

พระคือ เจ้าชีวี นเรศวร (แม่เฒ่าสะดุ้ง)

ที่ถวาย เอื้ออารี มีทั้งมวล

ทุกสิ่งล้วน ตรึงพระทัย ไม่ลืมเลือน

รับสั่งว่า เมื่อคืนค่ำ ถึงยามยาก

แม่ออกปาก เรียกเป็นลูก ทุกข์คลายเคลื่อน

(จึง) โปรดให้มา รับแม่ อย่าแชเชือน ให้จากเรือน ไปอยู่วัง นั่งกินบุญ

แม่เฒ่า โปรดเถอะพ่อ อย่าล้อเล่น เห็นตลก

มหาดเล็ด เป็นความจริง-

แม่เฒ่า อย่าวนวก ให้วายวุ่น

ข้ายากจน หากมีโทษ โปรดการุณ

รอทำบุญ บวชลูกก่อน ค่อยรับกรรม

มหาดเล็ก พระรับสั่ง ให้พาตัว ไปให้ได้

แม่เฒ่า (โธ่)บาปอะไร จึงได้ยาก ถลากถลำ

ขอท่านโปรด เมตตา อย่าใจดำ

อย่าได้นำ ข้าไป ในวังเลย

ไปทูลว่า ข้างันงก ตกใจกลัว

อกระรัว สั่นสะท้าน สว้านเสย

จนตัวตาย ถวายชีวัง เป็นสังเวย

เพื่อชดเชย ที่ทำพิษ ผิดพลั้งไป

มหาดเล็ก เหตุที่พา ตัวไป มิใช่ผิด

เจ้าชีวิต เห็นความดี อันยิ่งใหญ่

พระทรงเห็น ความลำบาก และยากไร้

ของแม่ไทย ที่สูญลูก ในสงคราม

ให้รับตัว ไปอยู่วัง หวังยกย่อง

( หันไปพูดกับนางข้าหลวงที่เชิญพานผ้าเครื่องแต่งตัว)

ช่วยแต่งตัว ให้เอี่ยมอ่อง อล่องอร่าม

(แม่เฒ่าจะลุกหนีจะลงจากเรือน)

มหาดเล็ก จะไปไหน

แม่เฒ่า จะไปหา หลวงตาพราหมณ์

ให้ช่วยแก้ คดีความ ยามอับจน

มหาดเล็ก พุทโธ่เอ๋ย พูดเท่าไร ก็ไม่เชื่อ

เสียเวลา น่าเบื่อ ต้องดื้อด้น

(พูดกับนางข้าหลวง) ช่วยกันปล้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า สองสามคน

แล้วพาไป ให้นั่งบน บัลลังก์กัญญา

นางข้าหลวง ๒ – ๓ คน ช่วยกันจับเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยรุนหลังไปข้างใน แล้วกลับมาในเสื้อผ้าชุดใหม่ ขณะที่เข้าไปข้างในให้ทำเสียงพูดทั้งปลอบ ขู่ เสียงร้อง ฯลฯ (ดนตรีทำเพลง) ทั้งหมดพากันลงเรือ

(เสียงเห่เรือ ) นาวางามสง่าท้อง ชลธี

เสริมส่งศักดิ์ชนนี ฟ่องฟ้า

กัญญา ร่มรังสี แสงส่อง

พร้อมพรั่งพาย ไฮ้ฮ้า พรั่งพร้อมพลพาย

กัญญาโสภาบัง ร่มบัลลังก์เรือกัญญา

เรือทรงอัครชายา เรือศักดาพระชนนี

เรียวเรือลอยเล่นลำ หัวเรือนำแหวกวารี

ฝอยฟองฟ่องนที ฝีพายจ้วงจำเริญตา ( เห่………

ประวัติย่อผู้ประพันธ์

อาจารย์อนงค์ นาคสวัสดิ์ มีบิดาชื่อรองอำมาตย์โทโชติ และนางชื้น พัฒนากุล บิดาของท่านอาจารย์ได้ย้ายไปรับราชการตำแหน่งครูใหญ่ ที่โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕ อาจารย์อนงค์จึงได้เกิดที่จังหวัดสุโขทัย และต่อมาบิดาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก และได้ย้ายไปเป็นศึกษาธิการ จังหวัดอุทัยธานีและได้เสียชีวิตลงขณะอายุได้ ๔๐ ปีเศษ

การศึกษาของอาจารย์อนงค์ นาคสวัสดิ์ ได้เข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก และชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสตรีเบญจมราชูทิศ จังหวัดอุทัยธานี และเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนศิลปากรนาฏดุริยางค์ จนจบการศึกษาและ ได้เข้ารับราชการครูที่โรงเรียน ฝึกหัดครู ป.กศ. จังหวัดพิษณุโลก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนเรศวร) จนจบปริญญาตรี กศบ. และยังคงรับราชการครูที่วิทยาลัยครู พิบูลสงครามพิษณุโลก (ฝึกหัดครู ป.กศ.) เป็นเวลา ๑๖ ปี จึงได้ย้ายมารับราชการที่วิทยาลัยครูพระนคร และได้ศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะอักษรศาสตร์ จนจบปริญญาโทภาษาตะวันออกสาขาบาลี - สันสกฤต และรับราชการต่อมาจนเกษียณอายุราชการ หลังจากนั้นได้ไปเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยรังสิตอีก ๑๓ ปี จนได้รับเกียรติเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์

ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้สมรสกับนายครรชิต นาคสวัสดิ์ ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว มีบุตรและธิดา ๔ คนเป็นชาย ๑ คนและเป็นหญิง ๓ คน

อาจารย์มีผลงานการประพันธ์อยู่มากแต่ที่ประพันธ์อยู่เสมอคือ บทอาเศียรวาท ลงในหนังสือสายใจไทยทุกฉบับและอื่น ๆ อีก บทละครในฉบับนี้ถือว่าเป็นบทละครอมตะของชาติไทย แต่ละบทมีความลึกซึ้งของภาษาอันเกิดจากห้วงลึกของจิตแห่งการเข้าถึงความเป็นจริงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา

บทละครนี้สงวนลิขสิทธ์ตาม พรบ.ลิขสิทธ์ปี พ.ศ.๒๕๓๗ หากท่านผู้ใดมีความประสงค์จะนำบทละครนี้ไปจัดการแสดงเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ขอความกรุณาติดต่อ เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตามที่อยู่ข้างล่างนี้

อนงค์ นาคสวัสดิ์

๑๒๑๐ ซอย ๔ ถนนศรีบูรพา

แขวงคลองตัน

เขตบางกะปิ

กรุงเทพมหานคร ( ๑๐๒๔๐ )

โทร ๐๒ - ๓๗๗๕๕๐๙

ขอขอบพระคุณอย่างล้นพ้น ที่กรุณานำบทละครมาลงในคอมเม้นต์นี้ครับ

อย่างไรผมก็ขอขอบพระคุณเจ้าของลิขสิทธิ์มาในโอกาศนี้ ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท