Outcome mapping (3)


         แผนที่ผลลัพธื outcome mapping ขั้นตอนที่ 5 ต่อ

ขั้นตอนที่ 5 เกณฑ์บ่งชี้ความก้าวหน้า (progress markers)  คือ ความพยายามที่จะตอบคำถามว่า  "โครงการจะรู้ได้อย่างไรว่าภาคีหุ้นส่วนกำลังก้าวไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ "แบ่งเป็น 3 ระดับ

- ระดับที่คาดว่าจะเกิด expect to see คืด ระดับให้ความร่วมมือ

- ระดับที่อยากให้เกิด like to see คือ ระดับริเริ่มทำเอง

- ระดับที่เกิดได้ดี love to see คือ ได้ผลตามผลลัพธ์

ตัวอย่าง ระดับที่คาดว่าจะเกิด (ให้ความร่วมมือ)

1.ครูเข้ารับการฝึกอบรม

2.ครูจัดสถานที่แปรงฟันสำหรับนักเรียน

3.ครูจัดนิทรรศการ

4.ครูจัดประชุมครูผู้ปกครอง

    ระดับที่อยากให้เกิด (ริเริ่มทำเอง)

1.ครูสอนนักเรียนเรื่องประโยชน์ของการแปรงฟัน

2.ครูอบรมนักเรียนแกนนำให้เก็บข้อมูลการแปรงฟัน หลังอาหารกลางวันของนักเรียน

3.ครูสอนผู้ปกครองเรื่องทันตสุขภาพกับอาหาร และปรึกษาเรื่องการเก็บข้อมูลการแปรงฟันหลังอาหารเย็น

4.ครูปรึกษาเจ้าหน้าที่เรื่องการตรวจฟันนักเรียน และการพานักเรียนมาตรวจเมื่อมีปัญหา

        ระดับที่เกิดขึ้นก็กี (ระดับผลลัพธ์ที่พึงประสงค์หรือสูงกว่า)

1.ครูส่งรายงานการตรวจฟันนักเรียนสองครั้ง

2.ครูส่งรายงานการแปรงฟันของนักเรียน

3.ครูพานักเรียนที่มีปัญหาเรื่องฟันมาพบเจ้าหน้าที่ฯ

      ขั้นตอนที่ 6 แผนที่ยุทธศาสตร์

จะนำมาใช้หรือไม่ก็ได้  แผนที่ยุทธศาสตร์ เลือกสิ่งที่ทำได้ ไม่ยุ่งยาก มาดำเนินการ

สำหรับโครงการขนาดเล็ก การใช้แผนที่ผลลัพธ์ถึงจุดนี้น่าจะเพียงพอ

 

ขั้นตอนที่ 7 การดำเนินงานระดับองค์กร (organizational practice)

1.ค้นหา สำรวจความคิด โอกาส และทรัพยากรใหม่ ๆ

2.ฟังเสียงสะท้อนจากผู้ให้ข้อมูล หรือผู้รายงานที่สำคัญ

3.หาการสนับสนุ่นจากผู้มีอำนาจสูงสุด

4.ทบทวนระบบ ผลลัพธ์ และการดำเนินงานอยู่เสมอ

5.ตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำอยู่เพื่อเพิ่มคุณค่า

6.แลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้กับโลกภายนอก

7.ทดลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่เป็นประจำ

8.มีเวลาให้กับการสะท้อนความเห็นในการทำงานขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ

    แนวทางเหล่านี้ เริ่มใช้ได้ตั้งแต่การทบทวนแผนว่า การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้คำนึงถึง 8 ข้อ นี้มากน้อยเพียงใด และนำมาใช้ทบทวนในการประชุมทีมติดตามผลด้วย(บันทึกการดำเนินงาน)

       ขั้นตอนที่ 8 จัดลำดับความสำคัญของการติดตามงาน

         มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโครงการที่มีภาคีหุ้นส่วนจำนวนมาก มีผลลัพธ์ที่พึงประสงค์จำนวนมาก และมียุทธศาสตร์ทีใช้จำนวนมาก ไม่อาจจะติดตามประเมินผลได้ทุกอย่างและไม่ควรจะทำเช่นนั้นด้วย ควรจะเลือกติดตามเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเป็นประโยชน์และอยู่ในวิสัยที่จะทำใด้โดยไม่ลำบาก

        ตัวอย่าง

      การประชุมที่ขอนแก่น หลายโครงการมีภาคีหุ้นส่วนเป็นสิบ ทำให้ต้องเสนอแนวคิดว่า ว่าจะดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-4 คือ กำหนดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์สำหรับทุกภาคีหุ้นส่วน(ซึ่งอยู่ในวิสัยที่ทำได้โดยง่าย) แล้วเลือกภาคีหุ้นส่วนที่สำคัญและมีความพร้อม เช่น การมีส่วนร่วมสูง ทำขั้นตอนท่ 5-6 (กระบวนการจอนนี้จะช่วยให้เห็นความพร้อมที่เป็นจริง) หลังจากนั้น จึงคัดเลือกให้เหลือเพียงหนึ่งภาคีหุ้นส่วนเพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป (จะเลือกมากกว่าหนึ่งภาคีก็ต่อเมื่อ ภาคีหุ้นส่วนนั้น ๆ อย่ากร่วมด้วยเหลือเกิน ยินดีช่วยคิดช่วยทำ ติดตามผลเต็มที่) ซึ่งควรมีการประชุมทีมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 เดือน มีการกำหนดผู้รับผิดขอบในการเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูล นำมาเปรียบเทียบ ปรึกษาหารือ เพื่อการเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การปรับปรุง แล้วจึงค่อยขยายไปสู่ภาคีหุ้นส่วนอื่น ๆ ในโอกาสต่อไป

         ขั้นตอนที่ 9 ,10,11 เป็นเรื่องของการบันทึกเพื่อติดตามผล

          ขั้นตอนที่ 12 วางแผนการประเมินผล

โครงการตัวอย่าง วางแผนการประเมินผล โดยมีจุดประสงค์สองอย่าง คือ หนึ่งเพื่อทำรายงาน และสองเพื่อการเรียนรู้ที่สำคัญคือ การปรับปรุงโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนซึ่งจะเสนอในรายงานด้วย  ดังนั้นในวิธีการประเมินผลจึงได้เลือกกการทำโฟกัสกรุ๊ปครูประจำชั้น

        จบขั้นตอนการทำ outcome mapping  ค่ะ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 138571เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท