เทคโนโลยีกับการศึกษาตลอดชีวิต


เทคโนโลยี่กับการศึกษา
 บทบาทเทคโนโลยี กับการศึกษาตลอดชีวิต                        จากเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 ในหมวดที่ 9  มาตรา 66  ผู้เรียนมีสิทธิการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้ และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยี เพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  ดังนั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ ป.1 มัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงได้กำหนดให้มีเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าเกี่ยวข้องด้วย         เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการสื่อสารหลายรูปแบบมีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ในระบบการศึกษาที่ต้องการองค์ความรู้ในรูปแบบที่แตกต่าง ต่างก็แสวงหาสื่อที่สามารถบริโภคได้อย่างตรงจุด  ถูกต้อง  แม่นยำ  ทั้งในด้าน  สังคม  เศรษฐกิจ  และสิ่งแวดล้อม  เพื่อเป็นผู้กำหนดและควบคุมความได้เปรียบในเชิงความรู้และวิชาการ เพื่อเก็บรวมเป็นคลังไว้สำหรับคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อความอยู่รอดและมาพัฒนาโลกในอนาคต  แม้ผู้ศึกษาเองก็สามารถเลือกบริโภคข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด  ทั้งในและนอกประเทศ ทุกศาสนา  ภาษาอย่างทั่วถึงทุกมุมโลก  การศึกษาที่แท้จริงกับการเรียนรู้ ตลอดชีวิตคือการเรียนเพื่อปรับ เปลี่ยน  เรียนรู้  รู้ทัน  กับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างไม่มีขอบเขตได้   พัฒนาและสามารถใช้ความรู้ประสบการณ์กับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับเอาชนะอุปสรรคที่เจอทั้งในด้าน  สังคม  เศรษฐกิจ  และสิ่งแวดล้อมเพื่อดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์    ความอยู่รอดในขณะที่มีการแข่งขันกับสิ่งต่าง ๆ มากมายในโลกปัจจุบัน  ผู้มีความรู้  ข้อมูล  ข่าวสาร  ประสบการณ์   มากเท่าไหร่ย่อมเป็นผู้กำชัยมากเท่านั้น     ยกตัวอย่างเช่น  กลุ่มมหาอำนาจตะวันตกและอเมริกา  เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของทุกประเทศทั่วโลก  เพราะเหตุคือประเทศมหาอำนาจเหล่านี้เป็นผู้กำหนด ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และเทคโนโลยีเกือบทั้งหมด  นั้นเอง  ( แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 25450 2551 )  คนไทยได้รับโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากขึ้นแต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้สู่การใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ควร ร้อยละ 22 ของหมู่บ้านทั่วประเทศมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ารเข้าถึงเทคโนโลยีมีมากขึ้น คนไทยมีคอมพิวเตอร์ใช้ 57 เครื่องต่อประชากรพันคนแต่ต่ำกว่าอเมริกาที่มีอัตรา 763 เครื่องต่อประชากรพันคน การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 116.7 คนต่อประชากรพันคน แต่ยังคงต่ำกว่า 6 เท่าเมื่อเทียบกับประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งเข้าถึงเครือข่ายสูงที่สุดในโลก
                                ดังนั้น  เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นการสื่อสารสนเทศที่เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษาตลอดชีวิตของเรา  เพื่อขจัดความไม่รู้  สู่มุมมองที่ก้าวไกลพัฒนาฉับไวตรงจุด  ทันเวลา  พัฒนาชีวิตและสังคมให้เจริญรุ่งเรือง  จนสิ้นอายุไขของผู้เรียนหมุนเวียนจากชีวิตหนึ่งสู่อีกชีวิตหนึ่งอย่างมั่งคั่ง  มั่นคงต่อไป จึงเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆมีบทบาทในการช่วยให้บรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิตสืบเนื่องจากทุกคนได้เรียนรู้และก้าวทันเทคโนโลยีรับรู้ข่าวสารด้วยตนเองตลอดชีวิต 
   
บรรณานุกรม            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 ,              กระทรวงศึกษาธิการ           แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 2551  
     
คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 138567เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท