ภารกิจเพาะหว่านเมล็ดพันธ์แห่งคุณธรรม จริยธรรมและความดีงาม โดย ธีระ เงินแก้ว
ธีระ ภารกิจเพาะหว่านเมล็ดพันธ์แห่งคุณธรรม จริยธรรมและความดีงาม โดย ธีระ เงินแก้ว เงินแก้ว

การจัดการความรู้ในสถานศึกษา


การจัดการความรู้
            

การจัดการความรู้ในสถานศึกษา 

              ความรู้มีความหมายหลายนัยและหลายมิติ  เช่น  ความรู้คือสิ่งที่นำมาใช้  จะไม่หมดหรือสึกหรอแต่จะยิ่งงอกเงยหรืองอกงามขึ้น ความรู้คือสารสนเทศที่นำมาสู่การปฏิบัติ  ความรู้เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้  ความรู้เกิดขึ้น ณ จุดที่ต้องการใช้ความรู้นั้น  เหล่านี้ล้วนเป็นนิยามและความหมายของความรู้

              ในศาสตร์ด้านการจัดการความรู้  มองว่าความรู้มาจากการจัดระบบและตีความสารสนเทศ(Information)ตามบริบท  และสารสนเทศก็มาจากการประมวลผลข้อมูล(Data)  ความรู้จะไม่มีประโยชน์ถ้าไม่นำไปสู่การกระทำหรือการตัดสินใจ

              ความรู้มี  2  ประเภท  คือ

             ความรู้เฉพาะตัว(Tacit  Knowledge)  เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เกิดเป็นความรู้ที่ไมสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูหรือลายลักษณ์อักษร  ได้โดยง่าย  เช่น  ทักษะในการทำงาน  งานฝีมือ  หรือการคิดวิเคราะห์

            ความรู้ทั่วไป(Explicit  Knowledge)  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม  ถ่ายทอดได้  โดยผ่าน  วิธีต่าง ๆ เช่น  การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  ทฤษฏี  คู่มือต่าง ๆ

            การจัดองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  จำเป็นต้องอาศัยการจัดการความรู้ (Knowledgw  Mmanagement)  ที่มีประสิทธิภาพ  จึงจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งความรู้ในระดับสถานศึกษา  ความจำเป็นที่ต้องสร้างโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้(Learning  School)  เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งโรงเรียนแห่งการเรียนรู้  จะเจริญก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรในโรงเรียนและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง  รวมไปถึงผู้นำของของบริหารสถานศึกษา

             การจัดการความรู้มีความหมายกว้างกว่าการจัดการสารสนเทศ  กว้างกว่าการจัดการข้อมูล  และกว้างกว่าการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร     

              การจัดการความรู้(Knowledge  Management)  จึงเป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายมาพัฒนาเป็นฐานความรู้อย่างเป็นระบบ  และสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง  เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร  โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น  การสร้าง  การรวบรวม  และนำมาประมวลผลเพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  รวมถึงช่วยกระตุ้น  ส่งเสริมให้ทุกคนมีทัศนคติในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน  โดยใช้เครื่องมือทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคล  และเทคโนโลยี  เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมพัฒนาความรู้  ความสามารถของทุกคนในองค์กร  ให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหาร  เพื่อต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ               

               การจัดการความรู้ในสถานศึกษา  ซึ่งหลักการจัดการความรู้จะมีด้วยกันสองส่วน  ส่วนหนึ่งสถานศึกษาต้องตระหนักว่า  ความสำคัญสำหรับองค์กรคือ รู้ว่าองค์การรู้อะไร  สถานศึกษาทุกแห่งที่มีการเก็บ  เข้าถึงและส่งมอบความรู้อยู่แล้ว  โดยการจัดความรู้มาแบ่งปันและส่งมอบสถานศึกษาสู่ผู้เรียน               

               ในอีกส่วนหนึ่งเป็นการจัดการที่อำนวยประโยชน์ของความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา  การจัดการความรู้ของสถานศึกษาจึงเป็นการเสาะหา ค้นพบ จับความรู้มาเก็บ กลั่นกรอง จัดเตรียม แบ่งปันและใช้ความรู้ทั่วทั้งองค์กร  การสามารถร่วมแรงร่วมใจแบ่งปันและใช้ความรู้ในทุกส่วนของสถานศึกษาจึงเป็นการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ               

                การจัดการความรู้ในสถานศึกษาอาจดำเนินการได้ในลักษณะดังต่อไปนี้  เช่น  การดึงความรู้มาจากครูต้นแบบ  และกระจายความรู้ให้แก่เพื่อนครู  จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์  การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  คุณภาพการศึกษา  โดยอาจจะเป็นการประชุมโดยปรกติ  หรือผ่านการสื่อสารทางไกลในรูปแบบต่าง ๆ

               การจัดกระบวนการกลุ่มให้ครูผู้สอนในวิชาเดียวกันได้ระดมสมองแก้ปัญหาการเรียนการสอนร่วมกัน  โดยมีการผลัดกันทำหน้าที่ผู้จัดการความรู้  ค้นหาและส่งเสริมครูผู้สอน  ผู้มีความสามารถพิเศษในด้านความรู้  และทักษะการสอนนักเรียนและหาทางส่งเสริมให้อยู่ในสถานศึกษาด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  และกิจกรรมเพื่อการพัฒนาครูในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาครูแต่ละคนในสถานศึกษา  ส่งเสริม  ยกย่องให้รางวัลครูผู้สอนที่มีการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังในตัวคน (Tacit  Knowledge)  โดยใช้วิธีการผู้ฝึกสอน (Coaching)  หรือการจัดเป็นทีมผู้สอน  มีการร่วมคิดร่วมทำงาน  โดยการวางแผนการสอนเป็นทีมและใช้วิธีการประชุมแบบระดมสมองการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังในตัวคน (Tacit  Knowledge)  โดยการนำความรู้  Tacit  Knowledge  ในครูต้นแบบออกมานำเสนอในรูปแบบของการเล่าเรื่อง  การเปรียบเทียบและการเขียนรายงานเพื่อการนำเสนอหรือเสนอโดยใช้สื่ออิเลคทรอนิกส์  และทางที่ดีควรนำความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนไปเปรียบเทียบกับผลการวิจัยหรือผลเพื่อนำเสนอวิเคราะห์เพื่อการตรวจสอบความเหมือนหรือต่างกันกับทฤษฏีหรือหลักการที่เป็นความรู้ทั่วไป  Explicit  Knowledge       

หมายเลขบันทึก: 138316เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ครูอ้อยมาอ่านด้วยความตั้งใจ  ด้วยหวังเหมือนกันว่า  ในองค์กร หรือ สถานศึกษา จะมีการนำความรู้ที่กระจัดกระจายมารวบรววมเป็น  องค์กรแห่งการเรียนรู้
  • เป็นแนวความคิดที่ดีมากนะคะ  น่าจะที่นำมาเผยแพร่ให้ได้รู้และนำไปปฏิบัติในแต่ละองค์กร
  • ครูอ้อย มีหน่วยเล็กๆ ที่จะจัดการ  หากหน่วยเล็กมีการจัดการที่ดี  ก็จะรวมกันเป็นองค์กรใหญ่ที่สมบูรณ์นะคะ

เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ  จะติดตามอ่านอีกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท