ความก้าวหน้าในวิชาชีพครู..ความมั่นคงในชีวิตราชการ


                                 ผมเป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอมี/ขอเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น ของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา  42  โรงของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจัดโครงการพัฒนาฯ ครั้งที่ 5 (ครั้งสุดท้าย)  ระหว่างวันที่ 13-14  ตุลาคม  2550  เป็นความร่วมมือของโรงเรียนจ่านกร้อง สนับสนุนงบประมาณ 100,000  บาท  กับสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่สี่ จังหวัดพิษณุโลก สนับสนุนงบประมาณ 60,000 บาท ครูที่เข้าร่วมโครงการ ลงทะเบียนครั้งละ 150  บาท ตลอดโครงการ (ว่ากันว่าถูกที่สุดในประเทศไทย)  ครั้งแรกตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 เว้นว่างมาด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ   ผมได้ให้ผู้แทนครูที่ประสบความสำเร็จผ่านการประเมินชำนาญการพิเศษมาสดๆร้อน 2 ท่านเล่าให้ผู้เข้าร่วมโครงการฟัง เพื่อจุดประกายชีวิตให้ก้าวเดิน และ ผู้แทนครูที่อยู่ในระหว่างส่งผลงานผ่านการประเมินด้าน 1 และ 2 แล้ว เหลือ ด้าน 3  มาเล่าให้ฟัง  2 ท่าน  สร้างพลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยิ่งนัก รวม 4  ท่าน เล่าประสบการณ์อย่างมีกึ๋น  โดยมี  คุณครูราตรี  รุ่งทวีชัย  ครูเชี่ยวชาญ  และ ผอ.วิเชียร  รุ่งทวีชัย  ผอ.เชี่ยวชาญ แห่งจังหวัดนครปฐม  เป็นวิทยากร นั่งยิ้มสุขในผลงานของลูกศิษย์   โครงการนี้จัดให้ทั้ง ผอ.,รองผอ. และครู  เรียกว่ามีผลงานที่ได้รับคำแนะนำแต่ละครั้ง ก็จะนำมาให้วิทยากรตรวจ แนะนำเพิ่มเติมในครั้งต่อไป แถมส่งไปให้อาจารย์ทั้ง 2 ท่านถึงบ้านท่านก็ดูแล นับเป็นความกรุณายิ่งนัก   กิจกรรมในวันนี้ ผมและผู้อำนวยการโรงเรียนที่มาร่วมกิจกรรม ปลื้มปิติยิ่งนัก  ผมได้พบท่าน ผอ.องอาจ  สุขแสงสุวรรณ  ผอ.โรงเรียนจ่านกร้อง ท่านเป็นที่ปรึกษาสมาคมฯ ท่านก็ถามผมว่า รุ่น 2  จะมีอีกไหม เข้าทางสมาคมฯ ทันที  ผมตอบแทนสมาคมฯด้วยคำว่า.ตกลง. ขอเป็นส่วนเสริมเช่นเดิม  ก็เลยแจ้งคณะครูที่เข้าร่วมในวันนี้  เสียงปรบมือขอบคุณโรงเรียนจ่านกร้อง และสมาคมฯ  กึกก้อง และคิดว่าโครงการดีๆนี้ จะต่อยอดอย่างยั่งยืนเป็นลำดับไป

                               

                              ท่านทั้งหลายที่เป็นครู จะรู้ว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนดไว้อย่างไรบ้าง ความก้าวหน้าในวิชาชีพครู..ก็อยู่ตรงนี้แหละครับ  ถ้าเราเข้าถึง  เข้าใจ ก็จะนำไปสู่การพัฒนางาน พัฒนาตน ผมอ่านหนังสือเรื่อง ก้าวเข้าสู่การเลื่อนวิทยฐานะ เขียนโดย ดร.สุวิทย์  มูลคำ และดร.อรทัย มูลคำ  เขียนถึงการพัฒนาตนเองเป็นกงล้อ หมุนรอบ  เริ่มต้นที่   สำรวจตนเอง   กำหนดจุดพัฒนา/เลือกวิธีพัฒนางาน     สัมมนา/ปฏิรูปการเรียนรู้     ลงมือปฏิบัติ/ทบทวน/ไตร่ตรอง   สรุปและสร้างความรู้จากการปฏิบัติจริง    แลกเปลี่ยนเรียนรู้     และสุดท้ายปรับเปลี่ยนความคิด/สานต่อความคิด   เมื่อทำได้ดั่งนี้ชีวิตครูเราก็จะประสบความสำเร็จ มีความมั่นคงในชีวิตราชการ มีพลังชีวิตอยู่เพื่อสร้างคนให้มีคุณภาพทั้งความรู้และคุณธรรม เป็นเสาหลักชีวิตให้กับครอบครัว

                              

                                  วันนี้พบได้ว่า ครู 80 กว่าชีวิตที่เข้าร่วมโครงการ ล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจ มุ่งมั่นพัฒนาตน  พัฒนางาน แสวงหาความรู้   เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง  อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียน   นี่คือเป้าหมายที่พวกเราต้องการ  ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จได้รับการเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นทุกท่านนะครับ   สวัสดี.  
หมายเลขบันทึก: 138237เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พัฒนาผลงานของตัวเองโดยใช้ลูกศิษย์เป็นเครื่องมือเพื่อเลื่อนวิทยะฐานะ และสนองตอบทางด้านการเงิน

แต่กลับลืมไปว่าคุณครูคือ ผู้สร้างบุคคลกร เพื่อให้สังคมและประเทศพัฒนา ทัดเทียมกับนาประเทศ ดูตัวอย่างสิงค์โปรและไต้หวัน

ที่เน้นการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์

ข้อคิดเลื่อนเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ ตัวดัชนีชี้วัด คือ อะไร ลูกศิษย์เป็นคนดีไหม สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้กี่%

ดูตัวอย่างโรงงเรียนของ ดร. องอาจ ชุมสาย ณ อยุธยา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท