เรื่องยากจะกลายเป็นเรื่องง่าย "แป้ง"


การที่เราจะทำอะไรสักอย่าง ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเรามีความตั้งใจจริง ๆ ก็จะทำให้เรื่องที่ยากนั้นกลายเป็นเรื่องง่ายได้

 

เรื่องยาก

จะกลายเป็นเรื่องง่าย 

ด.ญ.ภาธิณี นาคกลิ่นกุล  ม.3/1

นักร้องนำวงเพลงอีแซว 

                                       

         เหลือเวลาอีกเพียง 2-3 วัน (วันฝึกซ้อม) ก็จะถึงช่วงเวลาของการแสดงเพลงพื้นบ้านตามที่ผมได้รับเชิญเอาไว้ ซึ่งก็มีทั้งงานหา งานโทรทัศน์และงานของภาครัฐซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับสูง  วันนี้ (12 ตุลาคม 2550) เด็ก ๆ ในวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ  ได้นัดหมายกันมาฝึกซ้อมที่ห้องแหล่งเรียนรู้เพลงพื้นบ้าน มี 2 นักร้องนำของวงคือ เด็กชายธีระพงษ์ พูลเกิด และเด็กหญิงภาธิณี นาคกลิ่นกุล นักเรียนชั้น ม.3  นำคณะน้อง ๆ ชั้น ม.2 มาฝึกซ้อมเพลงกัน  7-8 คน ภาธิณีอยู่กับผมมาเป็นเวลา 2 ปีกว่าจะครบ 3 ปี ในสิ้นปีการศึกษานี้ เขาเป็นคนเรียนเก่ง ขยัน สุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจสูงมาก มีความสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควร ไม่ควร เขาไม่มีปัญหาเลยว่าเมื่อมาฝึกซ้อมเพลงพื้นบ้านแล้วจะทำให้เสียการเรียน เพราะชีวิตคนเราต้องศึกษาอยู่ตลอดเวลาทั้งในห้องและนอกห้องเรียน ความรู้นอกห้องเรียนเสียอีกที่จะสามารถนำเอาไปใช้ในการแก้ปัญหาให้กับชีวิตจริงได้ วันนี้ภาธิณีเปิดบันทึกผ่านครูเพลงอีแซวบอกเล่าเรื่องราวที่ผมเองก็ไม่เคยได้รับรู้มาก่อนเลยว่าลูกศิษย์คนนี้คิดอย่างไร  

               แต่ว่าในวันนี้ เด็กหญิงภาธิณี นาคกลิ่นกุล เป็น แม่เพลงอีแซวของวงเพลงอีแซวสายเลือดสุพรรณ บรรหารแจ่มใสวิทยา 1 แล้วครับ ลองอ่านไปพร้อม ๆ กับผมได้เลยนะครับ 

                                        

สวัสดีค่ะ”  <p>         หนูชื่อ ด.ญ. ภาธิณี นาคกลิ่นกุล เป็นสมาชิกคนหนึ่งของวงเพลงอีแซวสายเลือดสุพรรณฯ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ค่ะ  โดยจุดเริ่มต้นนั้น หนูไม่รู้จักเพลงอีแซวมาก่อนเลย แต่ก็เคยได้ยินชื่อเสียงมาบ้าง เนื่องจากที่โรงเรียนเก่า (โรงเรียนบ้านหนองจิกรากข่า) ที่เคยเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาของหนูพอมีชื่อเสียงบ้างในทางเพลงอีแซว และก็เคยดูพวกพี่ ๆ เขาร้องกัน หนูก็ร้องตามเขาได้บ้างนิดหน่อย พอรุ่นพี่ ๆ จบไปก็ไม่มีใครมาสานต่อ จนถึงเมื่อปีที่หนูเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูที่โรงเรียนเก่าเขาก็จับเอาหนูมาฝึกจนได้เป็นผู้ร้องนำ แต่ก็ยังร้องไม่ค่อยเป็นและไม่ค่อยที่จะมีชื่อเสียง เพราะมีการสอนต่อเพียงปีเดียวก็เลิกไป จบการศึกษาไป   </p><p>            </p><p>         จนกระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งท่านอาจารย์ชำเลือง มณีวงษ์ เป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ได้จัดโครงการสืบสานเพลงอีแซวขึ้น โดยเป็นการจัดฝึกอบรมปฏิบัติการ ซึ่งในครั้งนั้น หนูก็ได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนเก่า ไปเข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ด้วย ก็เริ่มมีความชำนาญทางเพลงอีแซวมากขึ้นและพอได้สนิทกับอาจารย์ชำเลืองบ้าง พอหนูเรียนจบชั้นประถมศึกษาก็ได้มาศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 หนูได้ใช้ความสามารถพิเศษด้านเพลงอีแซวมาสมัครเข้าเรียนต่อ ท่านอาจารย์ชำเลือง มณีวงษ์ก็รับหนูเข้าวงเพลง ซึ่งเมื่อตอนเริ่มต้นหนูแทบที่จะร้องไม่ได้เลย เพราะรุ่นพีเขาเล่นกันอย่างมืออาชีพ หนูเป็นเพียงนักเพลงสมัครเล่นเท่านั้น </p><p>              </p><p>         พออยู่ต่อมา ท่านอาจารย์ก็ฝึกหัดให้ ใช้เวลาทั้งในวันเรียนและหยุด ส่วนในเวลาเรียนก็ฝึกหัดเพลงตอนเช้าและเย็น ท่ามกลางวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัย ในห้องศูนย์การเรียน เมื่อฝึกบ่อย ๆ เข้าก็ทำให้หนูมีความชำนาญ  จึงทำให้อาจารย์ฝึกหัดเพลงพื้นบ้านให้หนูอีกหลายชนิด ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงลำตัด เพลงแหล่ และอีกมากมาย  มันทำให้หนูมีความชำนาญมากยิ่งขึ้นไปอีก และเริ่มที่จะมีบทบาทการแสดงในวงมากยิ่งขึ้น จนได้มายืนแถวหน้า เป็นนักร้องนำ (แม่เพลงอีแซว) ของวงในปีนี้ </p><p>               </p><p>          ตลอดเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่หนูได้มาอยู่ในวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ นั้น ต้องอาศัยความอดทนมาก ต้องมีใจรักจริง และจะต้องมีความมานะพยายามอีกด้วย  แต่บางคนอาจจะคิดว่า การแสดงเพลงอีแซวเป็นการแสดงแบบเต้นกินรำกิน จะทำให้มีผลการเรียนตกต่ำ แต่สำหรับหนูไม่เคยที่จะได้คิดอย่างนั้น  หนูกลับคิดว่า ในการที่เราได้เข้ามาอยู่ในวงและได้ทำหน้าที่แสดงเพลงพื้นบ้านนั้น  ทำให้เราได้รับประสบการณ์ ได้เจอะเจอสิ่งใหม่ ๆ มากมาย และที่สำคัญคือ เราได้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้อีกด้วย  รวมทั้งยังเป็นความสามารถพิเศษติดตัวเราไป  สามารถนำเอาไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้อีกด้วย  </p><p>        </p><p>         หนูรู้สึกดีใจ  ที่ได้เป็นผู้หนึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบทอดเพลงพื้นบ้านเอาไว้ซึ่งในรุ่นของหนูนี้ น่าจะถือได้ว่า เป็นรุ่นสุดท้ายของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1  เพราะว่าเหลือเวลาอีกเพียง 3 ปี เศษ ๆ ท่านอาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนเพลงให้หนูก็จะเกษียณอายุราชการไปแล้ว หนูอดที่จะคิดเสียดายไม่ได้  หนูได้แต่บอกกับเพื่อน ๆ และน้อง ๆ รุ่นหลังที่ใกล้ชิดกันเสมอมาว่า เพลงพื้นบ้านมีคุณค่าต่อชีวิตเรามาก และหนูคิดว่า  การที่เราจะทำอะไรสักอย่าง ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเรามีความตั้งใจจริง ๆ ก็จะทำให้เรื่องที่ยากนั้นกลายเป็นเรื่องง่ายได้ ค่ะ" </p><p></p><p>                                           เด็กหญิงภาธิณี นาคกลิ่นกุล</p><p>                                         นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1    </p><p>                                 สมาชิกในวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ    </p><p>                                         โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1                    </p><p>                                         วันที่  12 ตุลาคม  พ.ศ. 2550 </p><p> </p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 137803เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ถึงเกษียณไป ครูชำเลืองก็จะไม่ทอดทิ้งการสอนเพลงอีแซว
  • ลำดวนเชื่อเช่นนั้นค่ะ

สวัสดี ครับ ศน.ลำดวน

       "เหลือเวลาอีกเพียง 3 ปี เศษ ๆ ท่านอาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนเพลงให้หนูก็จะเกษียณอายุราชการไปแล้ว หนูอดที่จะคิดเสียดายไม่ได้"  

  • ขอบคุณในความรู้สึกที่ท่าน หัวหน้าลำดวน มีต่อครูคนหนึ่ง อย่างจริงใจ
  • แป้ง-ภาธิณี เป็นนักเพลงรุ่นล่าสุดที่ผมมุ่งมั่นจะให้เขาขึ้นไปเป็นนักแสดงแถวหน้า (วันนี้เขาทำได้แล้ว)
  • ในส่วนตัวแล้ว ผมจะอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรในอนาคตข้างหน้า ก็จะยังคงมีเพลงพื้นบ้านอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก

ขอชื่นชมในความดีที่มีให้เพลงอิมแชว

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท