ศึกษาดูงานสิงคโปร์(๓)


ห้องสมุดแห่งชาติที่ทันสมัยใช้ICTช่วยบริหารจัดการ

       มีเวลาว่างที่จะเขียนบันทึกต่อแล้ว วันนี้ขอเริ่มต้นด้วยรายการดูงานแรกที่เราได้ศึกษาดูงานในวันแรกที่มาถึง (๒๔ กันยายน ๒๕๕๐ เวลาท้องถิ่น๑๔.๐๐น.ซึ่งเร็วกว่าเมืองไทย ๑ ชั่วโมง)

       จุดเด่นของห้องสมุดแห่งชาติ (National Library Building) ซึ่งบริหารด้วย National Library Board จากการรับฟังบรรยายพิเศษประกอบสไลด์โดยเจ้าหน้าที่ทำให้ทราบว่าที่นี่ทำได้สมบูรณ์มากเทียบเท่าอังกฤษและอเมริกา อาคารใหญ่โตออกแบบได้เหมาะสมตามหลักทางการระบายอากาศและประหยัดการใช้พลังงาน มี16 ชั้น ใช้ใต้ดินสำหรับจอดรถอีกต่างหาก สถาปนิกที่นี่รับจ้างออกแบบให้แก่ประเทศอื่นด้วย รับทราบว่ามีส่วนในการออกแบบ ทีเคปาร์ค ที่บ้านเราด้วย

      ความทันสมัยด้าน ICT คือ

  • ระบบยืมใช้ชิฟฝังไว้ในหนังสือ เพียงนำหนังสือที่ต้องการยืมไปแนบหน้าหลังที่มีชิฟฝังอยู่บนเครื่องที่มีให้บริการพร้อมสอดบัตรประชาชนซึ่งเปนลักษณะSmart card เหมือนบัตรประชาชนที่เมืองไทยจัดทำ คือมีแถบแม่เหล็กระบุตัวบุคคล เครื่องอ่านก็จะบันทึกและมีmonitor แจ้งให้ทราบว่าท่านได้ยืมหนังสือชื่อเรื่องอะไร กำหนดให้ยืมกี่วัน ครบกำหนดส่งเมื่อไร เท่านั้นท่านก็ถือหนังสือเดินผ่านทางออกซึ่งมีเครื่องscan เช่นเดียวกันห้างสรรพสินค้าที่เราต้องชำระเงินและผ่านการลบแถบแม่เหล็กก่อนมิฉะนั้นเครื่องก็จะร้องเสียงดัง เสียดายที่เขาห้ามบันทึกภาพ จึงไม่มีภาพให้ดู แต่เชื่อว่าท่านคงนึกภาพออก
  • ระบบการคืนหนังสือก็ง่าย เด็ก ๆ ชอบ ทำให้เด็กรักการมาใช้ห้องสมุด บริเวณที่คืนหนังสือจัดไว้ด้านนอกบริเวณชั้นหนังสือ เป็นช่องติดผนังช่องใหญ่พอประมาณ เวลาคืนหนังสือเพียงวางหนังสือลงในช่องแล้วเครื่องก็จะอ่านแล้วเช็คข้อมูลเองเข้าใจว่าคงใช้กระแสแม่เหล็กลบข้อมูลในชิฟเอง
  • มีการจัดส่วนการให้บริการแยกเป็นชั้น ๆ เป็นส่วน ๆ เจ้าหน้าที่(Libralian) มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับความใหญ่โตของอาคาร ทุกทางเข้าจะมี รปภ.คอยดูแล มีมุมให้บริการอินเตอร์เน็ต ห้องอ่านไมโครฟิล์ม ห้องสมุดเสียง ชั้นหนังสือหายาก ชั้นหนังสือสำหรับเด็ก ๆ ชั้นหนังสือประวัติศาสตร์ของเอเซีย และสิงคโปร์ มีชั้นหนึ่งที่นักธุรกิจได้บริจาคและดำเนินการเองทั้งหมด ในภาพะเห็นรูปปั้นของท่านนี้ ชื่อว่า ลี คง เชียน เป็นชั้นที่ให้บริการหนังสืออ้างอิงที่หายาก บริเวณชั้นนี้เพดานสูงมาก สามารถต่อเติมได้เป็นสามชั้นเผื่ออนาคตที่จะมีการเพิ่มเติม
  • ที่แปลกและน่าสนใจมาก คือ แม้ว่าระบบการจัดห้องสมุดจะใช้ของ ดิวอี้ คือใช้ตัวเลข แต่ที่นี่มีเทคนิคในการจัดหนังสือขึ้นหิ้งได้อย่างรวดเร็วโดยการติดสติ๊กเกอร์แถบสีโดยแทนสีต่าง ๆ ตามตัวเลข เช่นตามรูปแทนสีแดงกับเลขศูนย์เป็นต้น เมื่อหนังสือหลาย ๆ ที่รับคืนมานำขึ้นหิ้ง บรรณารักษ์เพียงนำสีมาเทียบก็ง่ายและเร็วขึ้น ส่วนภาพหัวสิงโต(สัญญลักษณ์ของสิงคโปร์)ที่ติดอยู่ตามสันหนังสือเป็นสีที่แทนหนังสือนั้นพิมพ์ เป็นภาษาอะไร เช่นสิงโตสีดำแทนภาษาจีน สีอิ่น ๆ ก็จะแทนอีก ๓ ภาษาซึ่งเป็ชนชาติทั้ง๔ของสิงคโปร์ คือ จีน อินเดีย มาเลย์ และทมิฬ
  • ชั้นที่ ๑๖ เป็นส่วนรับรองแขกสำคัญที่มาเยี่ยมชม เรามีโอกาสขึ้นไปทานชา กาแฟ และชมทัศนียภาพมุมสูงของย่านใจกลางเมืองสิงคโปร์ด้วย แล้วก็ถ่ายภาพคณะเรากับผู้มาต้อนรับบนตึกสูง
คำสำคัญ (Tags): #nlb3
หมายเลขบันทึก: 137620เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท