พัฒนาการของเจ้าถั่วน้อย จากหลับไหล..จนได้ลืมตาดูโลก


เราทดลองเพาะถั่วงอก โดยเริ่มจากนำเมล็ดไปแช่น้ำ 6 ชั่วโมง (สภาวะเดียวกัน) เพื่อดูว่าเมล็ดชนิดไหนเอ่ย...ที่สามารถดูดน้ำเข้าไปได้สูงสุด 

ผลก็คือ เจ้าถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ถั่วแดงพองเต็มที่ อมน้ำเข้าไปมากกว่า 100 %

ส่วนงาดำ อมน้ำแค่ 62.5 % และ ข้าวโพด  อมน้ำน้อยมากแค่ 24.2 %

ตามทฤษฎีที่เราอ่านมา เจ้าถั่วจะต้องอมน้ำเข้าไป 50 – 80% ของน้ำหนักแห้ง จึงจะมีความพร้อมในการงอกได้

สงสัยจัง...งานนี้เจ้าข้าวโพดกับงาดำของเรา จะงอกไหมเนี่ยะ?

การงอกออกมาดูโลกกว้าง ต้องใช้ ออกซิเจน ความชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสม(ประมาณ 31 – 34 องศาเซลเซียส) สำหรับแสงแดดนั้น ไม่ต้องการ เพราะเราจะทำถั่วงอกจ้า ไม่ใช่ต้นถั่ว 

ต่อมา...พวกเราในทีมช่วยกันเทเจ้าเมล็ดแต่ละชนิดลงใส่ในกระบะเพาะ ด้วยความทุลักทุเล โดยเฉพาะเจ้างาดำ ที่เมล็ดเล็กมากกกกก แล้วก็ติดมือ (เพราะว่ายังไม่สะเด็ดน้ำดีนัก) เราใช้กระสอบป่านที่ผ่านการซักทำความสะอาดมาแล้ว มาตัดรองก้นกระบะ และคลุมด้านบน เพราะคิดว่าคุณสมบัติเด่นที่มีความอุ้มน้ำกักเก็บความชื้นได้ดี และกักเก็บความร้อนได้ ในขณะเดียวกันก็ยอมให้อากาศผ่านเข้าออกได้

1 วันผ่านไป(นับจากวันเริ่มเพาะในกระบะ)

...เจ้างาดำ เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น มีราก หรือลำต้นก็ไม่รู้ โผล่ออกมาจากเมล็ด เป็นจุดเล็กๆ สีข๊าว-ขาว ส่วนถั่วเขียวโผล่ลำต้นขาวผอมยาว 0.2cm 

ถั่วเหลือง ถั่วแดง และข้าวโพด ยังไม่มีส่วนใดงอก ออกมาให้เห็นเลย

2 วันผ่านไป

...เจ้าถั่วเขียว ยืดลำต้นขาวๆ ผอมยาวออกมาอวดโฉมยาวประมาณ3 - 4 cm งาดำก็ไม่น้อยหน้า งอกออกมายาวเกือบ 2 cm แล้วยิ่งได้เห็นข้าวโพดงอกยิ่งประทับใจ เฮ้ย! มันงอกแล้ว หน้าตาเป็นอย่างนี้เอง

(นี่คือเจ้างางอก)

แต่ถั่วแดงกับถั่วเหลือง อาการไม่ดี เริ่มมีเมือกเกาะที่เมล็ด ส่ออาการ Contaminate สงสัยจะกลายเป็นเต้าเจี้ยวละมั๊ง 

3 วันยังไม่ผ่านพ้น เราตัดสินใจหยุดการทดลองนำผลการเพาะมาสรุปตอนบ่ายโมง 

เจ้าถั่ว(เขียว)งอกได้น้ำหนักผลผลิต แค่ 4.1เท่า จากเดิม เนื่องจากมีบางส่วนงอกยาวสมบูรณ์ บางส่วนงอกหงิกงอแตกรากแขนง ซึ่งอาการแบบนี้เราสรุปกันว่า ขาดน้ำ เลยออกมาแบบไม่สวย พอชิมรส...อืม อร่อยหวาน กรอบ และเหม็นเขียวเล็กน้อย

 

เจ้างางอก เจริญดี  ได้น้ำหนักผลผลิต 4.87 เท่า จากเดิม พอชิมรส...เอ ขมนิดๆ จะเอาไปทำอะไรกินล่ะเนี่ย

 

เจ้าข้าวโพดงอก ยังไม่สมบูรณ์นัก ได้น้ำหนักผลผลิตแค่ 1.5 เท่า จากเดิม แต่ให้รสที่หวานจัด และหอมน่ากินมาก แต่มันดูไม่น่ากิน

แค่การปลูกถั่วงอก เรื่องง่ายๆที่ทำแล้วไม่ง่ายอย่างที่คิด ทำให้เราได้รับความรู้มากมาย ทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด สุขลักษณะในการเพาะ การเตรียมอุปกรณ์ การวางแผน แบ่งงานในทีม และความมั่นใจที่จะลงมืทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มันสำเร็จลุล่วงด้วยดี และยังได้ฝึกทักษะการสังเกตสิ่งมีชีวิตน้อยๆที่กำลังลืมตาดูโลก ได้ใส่ใจดูแล ธรรมชาติและต้นไม้ (...ต้นถั่วงอก...) และอีกมากมาย

สรุปกันว่า เราก็สามารถจะเพาะกินเองที่บ้านได้ แถมมั่นใจในความสะอาด ปลอดสารพิษ และยังต้องทดลองต่อไปเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะ Batch ใหญ่ และกะว่าจะส่งโรงอาหารของเราให้ได้บริโภคถั่วงอก สดสะอาดแบบนี้ต่อไป แล้วจะมาเล่าการทดลองต่อไปให้ฟังอีกค่ะ...

 

หมายเลขบันทึก: 137549เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น้องรัก

เห็นแล้วหิว ไอ้เจ้างางอกที่รสขม ๆ ถ้าลองทำแกงส้มหรือแกงเลียงปลาย่างเหมือนแกงเลียงผักหวาน น่าจะอร่อย

ลองหาสูตรเพาะถั่วเหลือง หรือถั่วแระบ้างสิ กลับบ้านคราวหน้า พี่อยากกินถั่วงอกหัวโตน่ะ อย่าลืมเอาไปฝากนะ แล้วก็ไปช่วยกันสร้างกระบะเพาะถั่วที่บ้านเราเลย

เป็นกระบวนการทดลองที่เห็นภาพชัดเจนเลยครับ ดีมากๆเลย

งา ผมไม่เคยเห็นเวลางอก ปกติงาให้วิตามินอี - เอ สูง บำรุงเส้นผม ผิวหนัง แต่หากงอกแล้วไม่รู้ว่าคุณสมบัตินั้นจะคงอยู่หรือไม่นะครับ

ขอบคุณครับ บันทึกดีๆครับ

อยากเห็นเครืองแยกหรือล้างถั่วงอกเพื่อเตียมขายนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท