ทฤษฎี X, Y, Z (Version 2)


ผมเขียนบล็อก ทฤษฎี X, Y, Z  โดยแสดงความกังขาไว้ว่า  เมื่อเห็นชื่อทฤษฎีเรียงกัน (X, Y, Z) ก็เข้าใจว่าเป็นทฤษฎีเดียวกันหรือสัมพันธ์กัน  สุดท้ายก็เป็นคนละเรื่องเดียวกัน  ระหว่างแนวคิดของ Douglas Mc Gregor กับ Japanese Management (ทฤษฎี Z)               

เมื่อไม่นาน  ผมได้อ่านทฤษฎี Z ที่บอกว่า Dr.William Ouchi  ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UCLA เขียนว่า  ทฤษฎี Z  รวมเอาหลักการของทฤษฎี X, และทฤษฎี Y   เข้าด้วยกัน  แนวความคิดก็คือ  องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์  แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระและมีความต้องการ  หน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ  ทฤษฎีมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ  คือ
1.       การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2.      
การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3.      
การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4.       การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ทฤษฎีนี้ใช้หลักการ 3 ประการ  คือ
1.      
คนในองค์การต้องซื่อสัตย์ต่อกัน
2.      
คนในองค์การต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
3.       คนในองค์การต้องมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง

หลังการอ่าน  ผมมีคำถามในใจ 3 ข้อ
1.       ทฤษฏี Z มาจากไหน?  เป็นการเรียกรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุ่น  หรือชาวอเมริกันชื่อ Dr.William Ouchi เป็นคนคิดค้น
2.       ทฤษฎี Z รวมเอาหลักการของทฤษฎี X และ Y  เข้าด้วยกันจริงหรือไม่?
3.       ทำไมต้องตั้งชื่อ ทฤษฎี Z  ให้สอดคล้องกับทฤษฎี X, Y ?  และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

ผมแสวงหาคำตอบโดยอาศัย google   ผมได้คำตอบดังนี้ครับ
คำตอบข้อ 1  ทฤษฎี Z เป็นชื่อที่ประยุกต์ใช้กับ  การเรียกการจัดการสไตล์ญี่ปุ่น (Japanese Management)  ระหว่างช่วง Asian economic boom ในปี 1980  ตรงกันข้าม (Contrast) กับทฤษฎี X และทฤษฎี Y  การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น (Japanese Management)  Theory Z  อยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่มีชื่อเสียง 14 ประการของ Dr. W. Edwards Choid Deming                

ส่วน Dr.William Ouchi  ชาวอเมริกัน  เป็นผู้สนใจศึกษาความแตกต่างระหว่างการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นและการบริหารจัดการแบบอเมริกัน  และได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียง  และขายดีเล่มแรกตีพิมพ์ผลการศึกษาของเขาในปี 1981 ชื่อ Theory Z : How American Management Can Meet the Japanese Challenge               

แนวคิดทฤษฎี Z ของ Ouchi เป็นผลลัพธ์ของสมการดังนี้               

               Theory A + Theory J = Theory Z               

ทฤษฎี A (Theory A – American) เป็นทัศนะการบริหารงานแบบอเมริกันที่มุ่งเน้นความรับผิดชอบ  และการตัดสินใจของบุคคล  มีระบบประเมินผลชัดเจน  เลื่อนตำแหน่งรวดเร็วตามความสามารถ  ไม่ผูกพันกับการจ้างงานระยะยาว               

ทฤษฎี J (Theory J – Japanese)  เป็นทัศนะการบริหารงานแบบญี่ปุ่น  ที่เน้นความยึดมั่น  ผูกพันต่อองค์การ  การจ้างงานระยะยาว  เน้นระบบอาวุโส  และการให้ความสัมพันธ์กับบุคคลในองค์การทุกๆ ด้าน  รวมทั้งชีวิตส่วนตัว               

ทฤษฎี Z  คือผลรวมของการผสมผสานระหว่าง ทฤษฎี A กับทฤษฎี J  เป็นการรวมทั้งความผูกพันต่อการจ้างงานระยะยาว  การตัดสินใจที่เห็นพ้องต้องกัน  การประเมินผลที่เป็นทางการ  มีดัชนีชี้วัดผลงานที่ชัดเจน  การทำงานเป็นทีม  และการให้ความสำคัญกับบุคคลทุกด้าน               

สรุป  ทฤษฎี Z  เป็นการบริหารจัดการสไตล์ญี่ปุ่น  เกิดขึ้นในปี 1980  และ Dr.William Ouchi  นำมาเขียนเผยแพร่ในปี 1981 

คำตอบข้อ 2  ทฤษฎี Z สไตล์ญี่ปุ่น  ตรงกันข้าม (Contrast) กับทฤษฎี X  และ Y   โดยนำแนวคิดมาจาก Dr. W. Edwards Choid Deming  ส่วนทฤษฎี Z สไตล์อเมริกัน (Dr.William Ouchi)  มาจากการผสมผสานระหว่าง Theory A – American กับ Theory J – Japanese ทฤษฎี Z จึงมิใช่การรวมเอาหลักการของทฤษฎี X และทฤษฎี Y เข้าด้วยกัน 

คำตอบข้อ 3  ทฤษฎี Z สไตล์ญี่ปุ่น  สัมพันธ์กับทฤษฎี X  และ Y  ตรงที่มีความตรงกันข้าม  (Contrast) ส่วนทฤษฎี Z สไตล์อเมริกัน  ก็เพียงต้องการเชื่อมโยงให้เห็นว่า  นำชื่อทฤษฎี Z มาจากญี่ปุ่น  แต่พอเอาเข้าจริงก็เป็นลูกครึ่งพันธุ์ผสมระหว่างทฤษฎี A กับทฤษฎี J               

ส่วนทำไมต้องตั้งชื่อ ทฤษฎี Z  ผมยังหาคำตอบไม่ได้  เพราะผมคิดโดยส่วนตัวว่า1.       ชื่อทฤษฎีควรตั้งขึ้นโดยบุคคล  หรือกลุ่มบุคคลที่คิดค้น  หรือร่วมคิดค้นด้วยกัน
2.       ชื่อทฤษฎีที่สอดคล้องกัน  ควรมีนัยความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
3.       ชื่อทฤษฎีที่ไม่เป็นไปตามหลักคิดข้อ 1  และ 2  อาจสร้างความสับสนให้ผู้คนได้  เช่นที่นักวิชาการหลายคน และผม (ซึ่งไม่ใช่นักวิชาการตัวจริง) เป็นอยู่

อย่างไรก็ตาม  เราน่าจะช่วยกันคิดทฤษฎีใหม่สัก 1 ทฤษฎี  ดีไหมครับ?  เพื่อให้การบริหาร คนที่วุ่นวายทุกวันนี้  ประสบความสำเร็จจริงๆ เสียที               

ใครเห็นด้วยมาช่วยกันคิดครับ               

หรือ  หากคิดไว้แล้ว  โปรดแสดงครับ 

หมายเลขบันทึก: 137294เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอคารวะอาจารย์ครับผม ผมลูกศิษย์รุ่น 4 ศูนย์วิทยบริการจังหวัดพิจิตร เพิ่งเข้ามาเกิดใน gotoknow พอดีเจออาจารย์ ดีใจมากเลย อยากได้กำลังใจครับผม ๆ ๆ ๆ

ดีจังเลย....ขณะนี้ผมเองกำลังเรียนรู้ในประเด็นนี้อยู่พอดี  คิดว่าคงได้รับประโยชน์มากที่สุดที่เดียว....ขอบคุณครับ

 

กำลังสนใจจะปรับใช้การบริหารงาน คิดแล้ว พบว่า ปัญหา..อยู่ทีบุคลิกผู้นำ

1. ไม่ให้ผู้ตามมีส่วนร่วม มีการประชุม Brainstroming ตามทฤษฏี แต่ทางปฏิบัติ "ฉันจะทำอย่างนี้"

2. ผู้นำไม่ยุติธรรม คนทำไม่ได้ คนได้ไม่ทำ

3. ผู้นำไม่ยึดหลักการ แต่ยึดหลักคนของใคร (ไม่ยุติธรรม)

4. หนักสุด ผู้นำไม่ยอมรับว่าตนเองเป็น 1-3

5. ผู้นำ เป็นผู้หญิง

ต้องปรับพฤติกรรม ทำอย่างไรดีคะ..อาจารย์ช่วยด้วย

ขอบคุณคะ

อรุณ กลิ่นทิพย์ขจร

ผมอรุณ กลิ่นทิพย์ขจร http://aroonklin.ning.com ที่ท่านกล่าวมาทั้งหมดถูกต้องแล้ว แต่ผมศึกษาทฤษฎี Z ผมทราบว่า ชื่อ ทฤษฎี Z มาจาก วิลเลียม โออุชิ ใช้เรียกการบริหารธุรกิจระบบหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีเก่าสองทฤษฎี คือ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ต่อมาควรเป็นทฤษฎี Z เท่านั้นเอง ไม่ได้เกี่ยวกับชื่อ ไม่ได้เกี่ยวกับแปลกใหม่แต่อย่างไร

ทฤษฏีเหล่านี้จะใช้ตอนไหนหรอค่ะ ใช้ตอนที่เริ่มคัดเลือกพนักงานหรืใช้ได้ทุกเวลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท