กระบวนการ การจัด Service Learning ในมหาวิทยาลัย


ขั้นตอนในการทำ Service Learning ที่เริ่มจากสถานศึกษานั้นผมได้สรุปออกมาเป็นขั้นตอนได้รวม 9 ขั้นตอนดังนี้ครับ
อะไรคือ Service Learning
Service Learning เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเหลือสังคม ซึ่งมักจะจัดขึ้นในทุกระดับ แต่ที่ผมจะกล่าวถึงในบทความนี้เป็นการจัด Service Learning ในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งรูปแบบของการจัดนั้นมีด้วยกันหลากหลายลักษณะเช่น โครงการช่วยอ่านหนังสือให้คนตาบอด โครงการ Management of Small Organizations คือการทำ Service Learning ที่นักศึกษาไปช่วยทำแผนธุรกิจให้กับบริษัทขนาดเล็กทั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร หรือโครงการ Organization Diagnosis คือการเข้าไปช่วยองค์กรหรือบริษัทวิเคราะห์ ประเมิน และให้คำแนะนำในธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค้นหาต้นตอของปัญหาและให้คำแนะนำในการดำเนินการ เป็นต้น

ซึ่งขั้นตอนในการทำ Service Learning ที่เริ่มจากสถานศึกษานั้นผมได้สรุปออกมาเป็นขั้นตอนได้รวม 9 ขั้นตอนดังนี้ครับ

1. การเลือก Project ที่จะทำ Service Learning
ขั้นตอนนี้เป็นการเลือกหาชุมชนที่เราสนใจจะไปทำ Service Learning ซึ่งอาจจะได้ข้อมูลจากหลายแหล่งเช่น Service Learning Center เพื่อน อาจารย์ หัวหน้าชุม หรือจากทางสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง

2. ประเมินความเสี่ยง
เนื่องจากการทำ Service Learning นั้นมีการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนภายนอก และอาจจะต้องใช้เวลาในสถานที่ดังกล่าวระยะหนึ่งดังนั้น นักศึกษาที่เลือกทำ Service Learning นั้นต้องทำการประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่นสภาพแวดล้อม ลักษณะชุมชน ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อผู้ร่วมงาน เพื่อที่จะลดความผิดพลาดหรืออันตรายที่เกิดจากการทำงาน

3. ปรึกษากับผู้สอนเพื่อขอ Pre-approved site
เมื่อนักศึกษาได้ Site งานที่ตกลงจะทำ Project แล้วนักศึกษาก็ควรจะต้องเข้าไปปรึกษากับอาจารย์ผู้รับผิดชอบเพื่อที่จะอนุมัติให้ดำเนินงานในชุมชนนั้นได้

4. การเชิญชวนอาจารย์ที่ปรึกษา
ในขั้นตอนนี้นักศึกษาที่ต้องการทำ Service Learning ต้องเป็นผู้หาอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับทำโครงการ สำหรับการหาอาจารย์ที่ปรึกษานั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งนักศึกษาต้องใช้ความสามารถในการเชิญชวนอาจารย์มาเอง

นอกจากนักศึกษาจะต้องมองหาและเชื้อเชิญอาจารย์ที่ปรึกษามีคุณสมบัติที่เหมาะสมและยังต้องหาวิธีโน้นน้าวใจให้อาจารย์ที่ต้องการยอมรับและให้ความอนุเคราะห์ในการมาเป็นที่ปรึกษาเพิ่มอีกด้วย

ลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี
1. มีลักษณะเป็นผู้นำ
2. เป็นการดีหากอาจารย์ที่เชิญมาเป็นที่ปรึกษาเคยได้รับรางวัลด้านการให้บริการ
3. ค่อนข้างจะมีอิทธิพลในคณะ หรือต่อกรรมการคณะ
4. เป็นผู้ที่คณาจารย์ท่านอื่นๆ ให้ความเกรงใจ
5. นักเรียนให้ความเคารพนับถือ

5. ทำการประชาสัมพันธ์โครงการ
การทำประชาสัมพันธ์นั้นต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายทั้งอาจารย์และนักศึกษารู้สึกสนใจ อยากมีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของงานในครั้งนี้ ซึ่งรูปแบบของการประชาสัมพันธ์นั้นอาจจะเป็นการให้ข่าวในสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย การพูดเชิญชวน การตั้งโต๊ะของโครงการเป็นต้น

เทคนิคในการประชาสัมพันธ์
1. ต้องสามารถผูกเรื่องราวได้อย่างน่าสนใจ ให้เห็นคุณค่า
2. ต้องทำ Survey เพื่อดูว่าเรื่องที่เราสนใจนั้นมีคนทำหรือยัง
3. สร้าง Workshop และเชิญอาจารย์หรือนักศึกษามาร่วม
4. จูงใจโดยให้ข่าวใน Newsletter และแจกให้กับคณาจารย์
5. ขอพบเพื่อพูดคุยกับอาจารย์


6. นัดพบเพื่อขอคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา

หากได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ที่นักศึกษาต้องการที่จะให้มาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว นักศึกษาก็ควรจะขอนัดพบพูดคุยกับอาจารย์ในลักษณะ One-on-one เพื่อเล่ารายละเอียดของแผนงานที่กำลังจะลงมือทำเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำ

7. การหาผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกในโครงการนั้นก็มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้งานสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นผู้นำนักศึกษาที่จะทำ Service Learning จึงจำเป็นที่จะต้องมองหาผู้ร่วมงาน สำหรับเทคนิคที่แนะนำให้ลองใช้คือ

1. Rule of Halves
กฎข้อนี้คือถ้าต้องการจะได้นักศึกษาอาสาสมัคร 10 คน ผู้จัดการโครงการต้องหาอาสาสมัครที่รับปากว่าจะช่วยมาอย่างน้อย 20 คน เนื่องเพราะเป็นหลักปกติที่ผู้สนใจอาจจะไม่ปรากฏตัวในวันทำงาน

2. Tried & True Method
การที่จะได้อาสาสมัครนั้นต้องทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ หรือจัดโต๊ะสำหรับกิจกรรม (Tabling) ขึ้นมา

3. Wholesale Method
เป็นการหาสมาชิกจากกลุ่มคนที่รวมกันอยู่มากๆ เช่นจากชมรมต่างๆ จากงานปฐมนิเทศ

4. High Tech Method
เทคนิคนี้เป็นการหาสมาชิกทางสื่ออีเลคโทรนิค โดยการส่ง e-mail หรือ SMS หรือสื่ออีเลคโทรนิคอื่นๆ

4 ขั้นตอนในการรับสมัครสมาชิกโดยการใช้โทรศัพท์
CONNECT บอกว่าเราเป็นใคร
CONTEXT แจ้งว่าทำไม่เราถึงโทรมา
COMMITMENT พยายามชักชวนให้ตกลงและยืนยัน
FOLLOW-UP ทวนข้อตกลงก่อนวางสาย

5. Creative Method
วิธีนี้เป็นการสร้างความน่าสนใจขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์เช่นการขายสินค้าเพื่อหาเงินทำโครงการเป็นต้น

8. ทำกิจกรรม ณ ชุมชน
เมื่อสามารถหาอาจารย์ที่ปรึกษาได้ ออกแบบโครงการและเขียนแผนได้สำเร็จ และหาอาสามาสมัครได้เรียบร้อยแล้วนั้นตอนต่อไปคือการลงมือทำงานในชุมชนตามแผนที่ได้วางเอาไว้

9. การเขียนบันทึกการเรียนรู้
นอกจากประสบการณ์ตรงที่นักศึกษาจะได้รับจากการทำงานในชุมชนแล้ว บันทึกการเรียนรู้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ เพราะนอกจากบันทึกการเรียนรู้จะนำมาใช้เพื่อเขียนรายงานส่ง ให้กับอาจารย์แล้ว บันทึกการเรียนรู้ยังเป็นเครื่องเตือนความจำที่ดี ว่าเราได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร นอกจากนี้บันทึกการเรียนรู้นั้นจะช่วยให้เราย่อยและสกัดเอาความรู้ที่เป็นเนื้อออกมาเป็นรูปแบบและแนวทางที่ทั้งเราและผู้อื่นเมื่อได้อ่านก็จะสามารถนำไปใช้ทำในโครงการอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องเริ่มเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างใหม่หมด


เอกสารอ้างอิง

http://www.fiu.edu/%7Etime4chg/Library/bigdummy.html
หมายเลขบันทึก: 136804เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท