ความแตกต่างของ Standard-based Test และ Standardize Test


Standard-based Test เป็นการประเมินซึ่งทางในกลุ่มเฉพาะของรัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานต่างๆ
ในเรื่องความแตกต่างของ Standard-based Test และ Standadize Test นั้นมีผู้ที่สับสนและไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดกับเป็นจำนวนมาก แม้แต่การจัดการศึกษาในบ้านเราเอง ผมได้รับฟังคำบรรยายจาก รศ.ดร. นาตยา ปิลันธนานนท์ จากภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรู้สึกว่าอาจารย์ได้ให้คำอธิบายในประเด็นไว้ได้อย่างเห็นภาพที่ชัดเจน ผมจึงขอนำบันทึกที่ได้จดเอาไว้มาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านครับ

Standard-based Test
Standard-based Test เป็นการประเมินซึ่งทางในกลุ่มเฉพาะของรัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานต่างๆ เช่น State Test ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประเมินนั้นเป็นการประเมินความรู้ความสามารถเฉพาะในรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบได้อย่างสมบูรณ์กับรัฐอื่นหรืออีกกรณีหนึ่งเช่นข้อสอบกลางเพื่อวัดความรู้ สำหรับการรับสมัครเรียนของนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งนั้นก็ถือเป็น Standard-based Test เนื่องเพราะแบบทดสอบนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในมหาวิทยาลัยแห่งนั้นเท่านั้น หากนำผลการสอบไปให้ที่อื่นเพื่อสมัครเข้าทำการศึกษา สถาบันนั้นๆ อาจจะปฏิเสธไม่ยอมรับผลการสอบของมหาวิทยาลัยที่กล่าวถึงก็ได้ เนื่องจากไม่ใช่ข้อสอบที่ได้รับการยอมรับของมหาวิทยาลัยอื่นๆ เป็นแต่เฉพาะมาตรฐานของมหาวิทยาลัยเดียว
ลักษณะของมาตรฐานดังกล่าวเราเรียกว่า Standard-based Test

Standardize Test
ส่วนการจัดประเมินแบบ Standardize Test นั้นมีข้อพิจารณาใน 2 ส่วนคือ กระบวนการในการสร้างข้อสอบ และสิ่งที่จะสอบ

ในด้านกระบวนการสร้างข้อสอบ นอกจากจะมีกระบวนการการสร้างข้อสอบที่ดีตามแบบนักวัดผล (มี Objecivity, Validity, และ Reliability) แล้ว ยังต้องถูกนำไปสอบใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่และถือเป็นตัวแทนของประชากรได้ มีความแม่นตรง สามารถค้นหากลุ่ม แยกกลุ่ม เปรียบเทียบกลุ่ม ซึ่งมักจะใช้เป็น Norm Reference มากกว่าที่จะเป็น Criterian Reference ข้อสอบที่มีลักษณะ Standardize Test เช่น ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยของทบวงมหาวิทยาลัย หรือสกอ.ถือเป็นมาตรฐานของประเทศไทย

ในส่วนสิ่งที่จะสอบ จะต้องเป็นสิ่งที่เป็นกลางไม่เอนเอียนให้คุณให้โทษแก่เด็กกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีความเป็นสากล และสอดคล้องกับวัย ของเด็ก และไม่ว่าเด็จะมีเพศ ใด เชื้อชาติ อาศัยอยู่ในภูมิภาคใด ศาสนา ใดก็สามารถใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบได้แม่นตรงเหมือนกัน

อ้างอิง
บันทึกจากการเข้าฟังการบรรยายในวันที่ 9 ก.ย. 2550 ของ
รศ.ดร. นาตยา ปิลันธนานนท์
ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 136803เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท