การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         สวัสดีครับ วันนี้ขอนำเอาผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมาเล่าให้ได้ทราบ 3 เรื่อง

      เรื่องที่ 1เรื่องการปลูกกุยช่าย เขียว - ขาว ของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงตำบลหัวช้าง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด    โดย  พี่นิฒน์   การิสุข  นวส.6ว ปลูกง่ายเป็นที่ต้องการของตลาด การเตรียมอุปกรณ์และขั้อนตอนวิธีการปลูกเหมือนพืชผักทั่วไป แต่เพิ่มมาคือวัสดุครอบเพื่อให้ได้กุยช่ายที่มีสีขาวตามความต้องการของตลาด เทคนิกที่ใช้อีกอย่างคือเรื่องความสะอาดและปลอดภัยจกสารพิษโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ

   เรื่องที่ 2 เรื่อง การเก็บรักษาคุณภาพไม้ไผ่ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานบ้านเป้า ตำบลหนองขาม อำเภออาจสามารถ  จังหวัดร้อยเอ็ด โดย น้องสุปราณี วิระษร นวส 5  วิธีการโดยการนำไม้ไผ่ที่รอการใช้ประโยชน์ฝังดินไว้ ซึ่งจะตองรักษาความชื้นในดินให้สม่ำเสมอก็จะสามารถเก็บไม้ไผ่ไว้ได้นานและคุณภาพยังเหมือนเดิม

   เรื่องที่  3 เกี่ยวกับ Food Safty เรื่อง การใช้เกลือในการปราบวัชพืชในนาข้าวมะลิ105  โดย คุณมีกิจ พลสาย นวส.6 ว สนง.เกษตรอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  วิธีการ คือนำเกลือมาแช่น้ำ อัตรา เกลือ 40 กก. ต่อน้ำ 8 ปิ๊ป แข่ไว้ 1 คืน แล้วนำไปฉีดพ่นวัชพืชในนาข้าวมะลิประมาณ 1 ไร่ วัชพืชจะตายใช้ได้กับวัชพืชใบกว้างและใบแคบ  ทำให้ข้าวมะลิเจริญงอกงามดี

หมายเลขบันทึก: 136504เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

* แวะมาเยี่ยมครับ

* ขอบคุณความรู้ดีๆ ที่นำมาฝากนะครับ

สวัสดีคะ  ขอบคุณนะคะที่นำสิ่งดี ๆ มาแบ่งปันกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท