ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

นักวิทยาศาสตร์ : นักบริหารสิบทิศในห้อง Lab


การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ พิเศษมากและคิดว่าคงจะไม่ง่ายที่จะได้ฟังประสบการณ์การทำงานจากอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์ ทำให้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของเรา ภายใต้ "การรวมบริการและประสานภารกิจ"

ได้ความรู้ใหม่ จากการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สายงานบริการสนับสนุนการแพทย์ ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสถานวิทยาศาสตร์พรีคลีนิก คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กับนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เนื่องในโอกาสกิจกรรมดูงาน KM ในวลัยลักษณ์

ทำให้รู้ถึง...

  1. กระบวนการสนับสนุน เชื่อมต่อการเรียนการสอนระหว่างสำนักวิชากับศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ในระบบการรวมบริการประสานภารกิจที่ต้องบริการห้อง Lab ในทุกสำนักวิชา

         - ก่อนเปิดเรียนทางสำนักวิชาต้องวางแผนรายวิชาที่มี Lab ว่ามีจำนวนนักศึกษาเท่าไร เรียนอะไรบ้าง เครื่องมืออะไร สารเคมีอะไร
         - ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่จัดเตรียมเครื่องมือ สารเคมีให้เพียงพอกับผู้เรียน ทำหน้าที่ประสานผู้ใช้คืออาจารย์ หากเครื่องมือยังไม่มี ต้องประสานการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง โดยการปรึกษา Spec และทบทวน Spec กับอาจารย์ผู้สอน คุยวิธีการจัดซื้อจัดจ้างกับส่วนพัสดุ ซึ่งเป็นส่วนพัสดุกลางของมหาวิทยาลัย ดำเนินการตรวจรับให้ทันกับการเปิดสอน
         - นักวิทยาศาสตร์ต้องมีการทำบทปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ วัสดุให้เพียงพอกับนักศึกษา
         - ให้บริการทั้งอาจารย์ นักศึกษาป.ตรี นักศึกษาโท เอก
         - ทำให้เรานิยามนักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยว่า "นักบริหารในห้อง Lab"
         - นักบริหารในห้อง Lab นอกจากจะเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสารเคมีให้ครบถ้วนและเพียงพอแล้ว ขณะที่อาจารย์สอนจะต้องอยู่ประจำตลอดเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก แก้ปัญหา นอกจากนั้นยังมีส่วนร่วมในการสอนของอาจารย์ในการร่วมสังเกตการเพื่อให้คะแนนจิตพิสัย การตรวจดูการเข้าห้องที่ตรงเวลาของนักศึกษา
         - การให้บริการเครื่องมือให้นักศึกษาฝึก ยืมอุปกรณ์เพื่อฝึกทักษะ ที่น่าสนใจก็คือ ทางศูนย์เครื่องมือวิทยฯ ยังทำ CD Self Study เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาทุกคนเพื่อศึกษาด้วยตนเอง
        - มีระบบการตรวจสอบที่ดีคือการสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา อาจารย์ในการมาใช้บริการ ซึ่งทราบว่า ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์มีการบริการที่ดีในระดับ 80% และในปีหน้าตั้งเป้าให้สูงขึ้นถึง 85%
  2.  การบริหารจัดการภายในศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์

        - การจัดให้มี Strock กลางเพื่อเป็นการเบิกใช้วัสดุ ได้อย่างทันท่วงที และจัดซื้อสารใน Lot เยอะ เพื่อจะทำให้การจัดซื้อถูกขึ้น
        - สิ้นเทอม นักวิทยาศาสตร์ก็จะดำเนินการสรุปภาระงาน ค่าใช่จ่ายในแต่ละรายวิชา ทั้งด้านงบประมาณ ครุภัฑณ์และวัสดุสิ้นเปลือง เวลาใช้ห้อง ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นของชำรุด แตกและสูญหาย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนา
        - การทำงานในห้อง Lab ประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ พนักงานวิทยาศาสตร์และลูกจ้าง
        - การจัดการกับขยะติดเชื้อ การกำจัดสารเคมี
        - การดูแลความปลอดภัยของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ การเตรียมความพร้อมและฝึกซ้อมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
        - การวิเคราห์ความเสี่ยงของนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องสัมผัสสารเคมี ที่จะต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปีทีละเอียดกว่าพนักงานทั่วไป
  3.  เรียนรู้ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมของการสนับสนุนการเรียนการสอนทางการแพทย์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับวลัยลักษณ์ในอนาคต


       ทำให้การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ พิเศษมากและคิดว่าคงจะไม่ง่ายที่จะได้ฟังประสบการณ์การทำงานจากอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์ ทำให้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของเรา ภายใต้ "การรวมบริการและประสานภารกิจ" ที่หนุนเสริมให้เราสามารถใช้ภาษีของประชาชนได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และจำเป็นมาที่พวกเราชาววลัยลักษณ์จะต้องร่วมมือ ประสานภารกิจให้รวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 135027เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้นึกถึงบรรยากาศ มวล เก่าๆ สมัยที่ผมเรียนผมเป็นรุ่นแรก ก็มีพวกพี่นักวิทยาศาสตร์นี่แหละครับที่รับน้อง ส่วนใหญ่ก็เป็นพี่ๆที่จบจาก มอ.
  • รุ่นแรกๆนักศึกษาค่อนข้างที่จะสนิทสนมกับพวกพี่ๆ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมาก

 

สวัสดีคะ คุณสุดทางบูรพา P

  • ดีใจ ยินดีมากที่ได้แลกเปลี่ยนกับศิษย์เก่ารุ่นแรกของ มวล.
  • มวล. รุ่นแรกเป็นรุ่นอาจารย์และพี่ๆ บุคลากร ภูมิใจเสมอ
  • ตอนนี้มหาวิทยาลัยเติบโตขึ้น ทั้งจำนวนนักศึกษามากขึ้น สำนักวิชาเพิ่มขึ้น มีสำนักวิชาเภสัชศาสตร์และในปีหน้าก็มีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ด้วยจะ
  • พี่เองก็ได้บันทึกความเป็นมาและเป็นไป การเปลี่ยนเปลงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ในบันทึก มวล.มีดีกว่าที่คุณคิด
  • ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ
  • คิดว่าคงจะได้แลกเปลี่ยนกันอีก
  • ขอบคุณคะ

ปล. พี่ขออนุญาต Add Blog ของน้องเข้าบันทึกของพี่ด้วยนะคะ

พี่เม
หน่วยพัฒนาองค์กร ม.วลัยลักษณ์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท