เก็บตกจากการประชุม ระดมสมอง IWRM กับการจัดสัมมนาท้องถิ่นที่ มมส. ปฏิบัติการถอดประสบการณ์การจัดการน้ำของชาวบ้าน


<p>
เมื่อช่วงบ่าย วันที่ 3 ต.ค.2550 มีการประชุมที่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส. เรื่องแนวคิดการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดย พี่ยุทธ นิสิตปริญญาเอก รุ่น 1 ร่างโครงการขึ้นมา มีท่าน ดร.ประสิทธิ์ท่าน ดร.แสวง  รวยสูงเนิน</p>

นายบอนได้นั่งรับฟังการประชุม มีแนวคิดหลายส่วนที่น่าสนใจ จึงเก็บบางประเด็นมาเล่าสู่กันฟังครับ

<p>IWRM  การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนนั้น จากคำอธิบายของอาจารย์ทั้ง 2 ท่านนั้น IWRM ของไทย กับของชาติตะวันตก แตกต่างกัน ของตะวันตก เน้น การจัดการลุ่มน้ำ  เพราะปริมาณน้ำของชาติตะวันตกนั้น กระปิดกระปรอย แต่ของไทย เน้น เรื่องการใช้น้ำ เพราะปริมาณน้ำในไทย มีปริมาณเหลือเฟือ แต่ก็ยังไม่พอใช้  </p>บทบาทการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านๆมา มีการจัดทำแผนแม่บทลุ่มน้ำ แต่ไม่ได้มองถึงการใช้น้ำ!!! <p>จึงมีแนวคิดที่จะรวบรวมภูมิปัญญา ทั้งในระดับครัวเรือน (เชิงเทคนิค) และ ระดับชุมชน (เทคโนโลโยี) รวบรวมความรู้เรื่องการจัดการน้ำในระดับชาวบ้าน ที่ใช้น้ำอย่างพอเพียง มีใช้ตลอด นำมาเผยแพร่ ขยายผล เพื่อให้คนในท้องถิ่นอื่นๆที่ไม่มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำ จะได้ไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลา</p>

ต้องยอมรับว่า ภูมิปัญญาของหลายฝ่าย เริ่มเสื่อมไปแล้ว

IWRM ในระดับครัวเรือนนั้น มีอยู่แล้ว แต่มีเฉพาะจุดเท่านั้น
แนวคิดการจัดสัมมนา หรือประชุมครั้งนี้ ต้องการให้ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญามาเปิดใจ รวมใจ ร่วมใจ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้
โดยมีทีมงาน ผู้จัดงาน เป็น match maker , facilitator, หรือ วิทยากรกระบวนการ  ทีมงานไม่ต้องเข้าไปอยู่ตรงกลาง แต่เป็นผู้เชื่อมประสานใหเกิดกระบวนการเท่านั้น

ซึ่งที่ประชุมได้เลือกประเด็น ภูมิปัญญาการจัดการน้ำ กรณีน้ำกินน้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร
โดยคาดหวังถึงข้อมูลที่ได้จะหลั่งไหลออกมาจากครูภูมิปัญญา +  ชาวบ้าน แล้วนำข้อมูลไปวิจัย และพัฒนาต่อไป

ผลผลิต - ปัญหา, ความจำเป็น, ศักยภาพ
ผลลัพธ์ - โจทย์, ประเด็นศึกษา, วิจัย เชิงพัฒนา

รูปแบบ คือ การนำกลุ่มที่จัดการน้ำได้ ดี และจัดการได้ พอใช้ มาอยู่บนเวทีเดียวกัน
แลกเปลี่ยนให้ได้ประเด็นข้อมูล
- เรื่องอะไร
- อย่างไร
- เพราะอะไร
-  อะไรบ้างที่ต้องพิจารณา

หัวข้อที่เลือก ทำการเลือกประเด็น ไม่ได้เลือกพื้นที่เป็นหัวข้อการสัมมนา เพราะลักษณะของพื้นที่ ของลุ่มน้ำ มีความแตกต่างกัน เช่น แม่น้ำชีตอนบน ตอนกลาง ตอนล่าง จะมีลักษณะเป็นโนน ดอน หล่ม ฯลฯ ต่างกัน จึงมีการจัดการที่แตกต่างกันไป

= Issue based

ประเด็นที่เลือก   2 ประเด็น คือ
- ขาดแคลนน้ำ / น้ำแล้ง
- น้ำท่วม

มีการจัดการอย่างไร

ภาคอีสาน มีฝนตกเฉลี่ย 5 หมื่นล้าน ลบ.เมตร แต่เก็บกักน้ำได้ 20 %  แต่เพียงเท่านี้มีการใช้น้ำแบบฟุ่มเฟือย

<p>หมู่บ้านที่เลือก คือ บ้านนาฝาย อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งมีดินเค็ม และแห้งแล้ง
แต่กลับได้รับรางวัล หมู่บ้านชฯะเลิศในระดับภาคในด้านการจัดการน้ำ จึงมีความน่าสนใจที่จะเชิญชาวบ้านมาร่วมในเวทีสัมมนา</p>

การจัดกิจกรรมนี้ คาดว่าจะจัด 2 ครั้ง ครั้งแรกได้ข้อมูลแล้ว นำข้อมูลมาขยายผล ทดสอบ ศึกษาพัฒนาเชิงวิชาการ
ซึ่งครั้งแรก จัดสัมมนาเฉพาะกลุ่มชาวบ้าน ครูภูมิปัญญา ส่วนครั้งที่ 2 สัมมนากับ กลุ่ม อปท + นักวิชาการ+  นโยบาย

เป้าหมายอีกส่วนหนึ่งจากการสัมมนาครั้งนี้ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

</span>ครู อาจารย์ นักศึกษาปริญญาตรี โท เอก นักเรียน ชาวบ้านที่มาฟัง มาร่วมกิจกรรม
ได้เรียนรู้บนฐานความจริง จากหลักสูตรท้องถิ่น
<p>
สำหรับนักศึกษา เมื่อรับรู้ข้อมูลแล้ว สามารถทำวิจัยเชิงถ่ายทอด และเชิงทดสอบได้
ปริญญาตรี - ศึกษา what - why
ปริญญาโท - ศึกษา what - how - whay
ปริญญาเอก - ศึกษา what - how- why - to - do ….ประดิษฐ์คิดค้น
</p>


รูปแบบการจัด ในบรรยากาศกันเอง จับเข่าคุยกัน ในวันที่ 29 ต.ค.2550 เวลา 9.30-15.00
สถานที่ คณะสิ่งแวดล้อมฯ มมส.เก่า

คุยกันถึง หลักการ IWRM, การถอดประสบการณ์ แก้ปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ทั้งกลุ่มจัดการน้ำในพื้นที่แล้ง และน้ำท่วม
และแยกกลุ่มประเด็น คุยกันเรื่องปัญหา / สาเหตุ แนวทางพัฒนา


นี่คือ เก็บตกบางส่วนจากการประชุมเตรียมงาน ซึ่งจะมีการประชุมอีกครั้งเพื่อรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้งในโอกาสต่อไป
แต่เมื่อมีโอกาสไปนั่งฟังการประชุม นายบอนได้ความรู้เยอะทีเดียว หลายเรื่องที่เหมือนจะลืมไปแล้ว ได้รื้อฟื้นความจำอีกครั้งหนึ่ง
เลยต้องรีบบันทึกความรู้ไว้โดนพลัน

 

</span></span>  <p></p><p>

</p>

หมายเลขบันทึก: 134676เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราเป็นประเทศยากจน การช่วยเหลือต้องถึงระดับครัวเรือน

แต่ฝรั่งเขาช่วยกันแค่ระดับชุมชนก็พอครับ

ดังนั้น

IWRM ของเขาจึงเน้นเชิง sectoral distributions

แต่ของเราต้องถึง multiple water uses

นี่คือความต่าง ในความเหมือน

และความเหมือน ในความต่าง ครับ

ขอบพระึคุณที่มาช่วยขยายความเพิ่มเติมครับ
ช่วงวันพุธที่นั่งฟังสดๆ ก็เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เพราะฟังหลายเรื่อง และหลายมุขไม่ทันบ้าง (รับมุขไ่ม่ทันบ้างครับ )

คงได้ซึมซับประเด็นเหล่านี้อีกในโอกาสต่อๆไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท