เคล็ด (ไม่) ลับในการฝึกเด็ก


การฝึกที่ดี คือ การฝึกด้วยใจ

เคล็ด (ไม่) ลับในการฝึกเด็ก 

  1. ควรสร้างบรรยากาศในการฝึกให้ดูเป็นธรรมชาติคล้ายลักษณะการเล่น  เพราะเวลาที่เด็กสนุก เด็กจะเกิดการเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  
  2. ต้องไม่บังคับเด็กในการทำกิจกรรมถ้าเด็กไม่อยากทำ แต่ไม่ใช่ตามใจเด็ก และผู้ฝึกต้องมีความยึดหยุ่นบ้างตามสถานการณ์ โดยที่ผู้ฝึกต้องค่อยๆสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เด็กร่วมมือในการทำกิจกรรม 
  3. ควรเริ่มฝึกจากกิจกรรมที่เด็กสามารถทำได้และค่อยปรับรูปแบบกิจกรรมที่ให้ ให้มีความยากเพิ่มขึ้น และควรมีความท้าทายความสามารถแต่ไม่ยากเกินความสามารถของเด็ก 
  4. ควรมีการแบ่งขั้นตอนในการทำกิจกรรมให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ ง่ายๆ 
  5. กิจกรรมที่ให้เด็กทำควรมีความสม่ำเสมอและชัดเจนในสิ่งที่สอน  
  6. พยายามให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันภายใต้วัตถุประสงค์ข้อเดียว เพื่อให้เด็กไม่เบื่อกับการฝึกและทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่เพิ่มขึ้น 
  7. กิจกรรมที่เด็กชอบทำควรนำมาสร้างเป็นเงื่อนไขในการฝึกทักษะใหม่ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมของเด็ก  
  8. ควรมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับความชอบของเด็ก  
  9. เมื่อเด็กสามารถทำกิจกรรมแต่ละอย่างได้ดีแล้ว ควรมีการผสมกิจกรรมให้มีความยากและท้าทาย เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ และฝึกการแผ่ขยายประสบการณ์ที่ตนเองได้เรียนรู้มาไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่  
  10. ผู้ฝึกควรมีความอดทนและใจเย็นในการสอน   

เหนื่อย              พัก            หาย           ทำต่อ

หมายเลขบันทึก: 134651เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท