idea


สอนวิทย์

27  พฤษภาคม 2550
เมื่อวานนี้หลังจากกลับมาจากทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษในการสัมมนาครูวิทยาศาสตร์ แล้วก็ได้ทำหน้าที่ ที่ติดตัวมาจากการ กทม. ในฐานะผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิทยากร KM ในระดับภูมิภาค ที่  สพฐ. จัดขึ้น หน้าที่ที่ว่าก็คือเรียนรู้เกี่ยวกับบล็อค (Blog) ซึ่งเพื่อนสมาชิกผู้เข้ารับการอบรมกำลังรับการอบรมอยู่ที่ โรงเรียนวัดเบ็ญจมบพิตร  วิธีการก็คือเข้าเว็บ  gotoknow  นี้  แล้วสมัครเป็นสมาชิก  และฝึกเขียนบล็อค  ทำไม่ค่อยถูก  จึงต้องโทรถาม น้องมาโนชญ์  ขุนกอง ที่กำลังอยู่ที่วัดเบญจมฯ  จึงสมัครได้ถูกแต่พอจะโพสต์เข้าบล็อค  ก็ทำไม่ได้  เพราะ เครื่องบอกว่าเราทำไม่ถูก  จะโทรถาม น้องมาโนชญ์อีกก็เกรงใจ  จึงพักไว้ก่อน
วันนี้เลยลองอีกที
สิ่งที่จะบันทึกไว้ในบล็อก เมื่อวานนี้ ก็คือ
“วันนี้ ได้พูดคุยกับครูวิทยาศาสตร์จำนวน 38  คน  เตรียมพาวเวอร์พ้อยไป 60  เฟรม
หลังจากกล่าวเปิดโดยใช้เวลา 3 นาที เกี่ยวกับความสำคัญของครูวิทยาศาสตร์ต่อการพัฒนาคนพัฒนานักเรียน และกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว  ก็เริ่มเข้าสู่สาระที่จะนำเสนอ ซึ่งเป็นการบรรยายเป็นช่วงประมาณช่งละ 10 นาที  แล้วหยุดเพื่อทบทวน ด้วยการตั้งคำถามให้สมาชิกอภิปรายประมาณ 5 นาที
ในช่วงเกริ่นนำผมตั้งประเด็นสถานการณ์บนจอภาพ  ดังนี้
“ครูอนุบาลกำลังทอดใข่  นักเรียนนั่งล้อมวงดูด้วยความสนใจ ครูทอดไข่ไป  พูดคุย  ตั้งคำถามไป” ขอถามท่านว่าในสถานการณ์นี้มีสาระทางวิทยาศาสตร์อะไรซ่อนอยู่บ้าง
หลายคนตอบได้ดี เช่น  พลังงาน  แสง  เสียง 
หลังจากนั้นผมนำคำ  10 คำขึ้นจอ  เช่น  โรงอาหาร  ห้องส้วม  ไก่ขัน  ฯลฯ
แล้วให้เวลา    5  นาที ให้สมาชิกเขียนสาระที่ซ่อนอยู่ในคำเหล่านั้น
ครบ 5 นาที ผมถามสมาชิกว่า ใครเขียนได้จำนวนเท่าใด  สูงสุดตอบได้  15
รองลงมา   8

กิจกรรมนี้ทำให้ผมเกิดแนวคิดต่อยอดการสอนวิทยาศาสตร์หลายอย่าง  จึงบันทึกไว้
หากท่านใดมาพบบล็อกนี้เข้า  มีอะไรที่จะคุยต่อยอดด้วย  ก็จะดีมากครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #วิธีสอน
หมายเลขบันทึก: 134403เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท