เรื่องดี ๆ ต้อนรับปีงบประมาณใหม่ : หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ 1)


เป็นไงบ้างค่ะ หลักการทรงงาน 12 ข้อแรก มีข้อไหนบ้างค่ะที่โดนใจ

วันนี้ ถือเป็นวันเบิกฤกษ์สำหรับการทำงานในปีงบประมาณใหม่ ของเหล่าราชการ  ดิฉันจึงขอนำสิ่งดี ๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ


ด้วยในวันนี้ ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้เรียนเชิญ ฯพณฯ นายเกษม  วัฒนชัย  ท่านองคมนตรี  มาเล่าให้ฟังถึง "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างสังคมคุณธรรม" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านจริยธรรม ในหัวข้อเรื่อง การสร้างสังคม ม.อ.ที่สงบเย็นและเป็นสุข

 ในส่วนของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คิดว่าหลาย ๆ ท่าน คงจะได้รับฟัง รับรู้ และหาอ่านได้จากสื่อต่างๆ  อยู่แล้ว 

 แต่สิ่งหนึ่งที่ ท่านองคมนตรี ได้นำมาให้พวกเราได้รับทราบในช่วงท้ายของการพูดคุยนั้น  ท่านได้ยกให้พวกเราเห็นถึง "หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว " ซึ่งดิฉันคิดว่า น่าจะเหมาะที่สุดกับพวกเรา ๆ ที่เป็นข้าราชการ 

 เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน และไม่อยากตัดทอนประเด็นที่สำคัญ  จึงขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอนนะคะ
 
 ตอนที่ 1 ประกอบด้วยหลักต่างๆ  12 ข้อ (ข้อที่ 1 ถึง ข้อที่ 12) 

 ส่วนตอนที่ 2 ประกอบด้วย ข้อที่ 13 ถึงข้อที่ 23  ดังนี้ค่ะ

1. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ   โดยศึกษาจากฐานข้อมูลเบื้องต้น  เอกสาร แผนที่ และจากการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และชาวบ้าน เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ครบถ้วน รวดเร็ว

2. ระเบิดจากข้างใน  หมายความว่า "ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน"

3. แก้ปัญหาที่จุดเล็ก  นั่นคือ ทรงมองในภาพรวม (macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาจะเริ่มจากจุดเล็ก ๆ (micro) คือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม

4. ทำตามลำดับขั้น  โดยเริ่มจากสิ่งที่จำเป็นที่สุด


5. ภูมิสังคม    โดยในการพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึง
      (1)  ภูมิประเทศ
      (2)  สังคมวิทยา (นิสัยใจคอของผู้คน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น)


6.องค์รวม   โดยมองทุกอย่างอย่างครบวงจร มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง


7. ไม่ติดตำรา  โดยไม่ผูกมัดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริง


8. ประหยัด  เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด  ตัวอย่างในข้อนี้คือ "ทรงบอกให้ราษฎรปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูกป่า  นั่นคือ ปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ จะได้ประหยัดงบประมาณ"


9. ทำให้ง่าย - simplicity   นั่นคือ ทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย


10.การมีส่วนร่วม  "ต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังผู้อื่นอย่างฉลาดนั้นแท้จริง คือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย มาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง


11.ประโยชน์ส่วนรวม  "ขอให้คิดว่า คนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้น มิได้ให้แต่ส่วนรวมอย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้"


12.บริการที่จุดเดียว   คือ one stop service นั่นเอง

 

เป็นไงบ้างค่ะ หลักการทรงงาน 12 ข้อแรก  มีข้อไหนบ้างค่ะที่โดนใจ

อ่านหลักการทรงงานที่เหลือ (ตอนที่ 2) ได้จากบันทึกนี้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 133551เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์หมอมาบรรยายที่ ม.เชียงใหม่ด้วยค่ะ ดีมาก ๆ แป๊ดสรุปให้อ่านและเข้าใจง่าย

ขอบคุณนะคะ

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่นำมาบอกเล่าค่ะ

สวัสดีครับ... พี่แป๊ด

  • ไม่ติดตำรา  .. :  อันนี้น่าสนใจมาก  ทฤษฎีต้องพิสูจน์ด้วยบริบทของการปฏิบติจริง
  • ประหยัด  เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุดเรียบง่าย สมถะ  คือความงดงามของการดำเนินชีวิต  โดยเฉพาะการให้ความเคารพต่อกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ  และตระหนักในวิถี "กรรม" ...
  • .....
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท