แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (การออมทรัพย์) สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1


การออมทรัพย์

แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (การออมทรัพย์) ช่วงชั้นที่ 1

 

ชื่อผู้เสนอนวัตกรรม นางประนอม ไชยพงศ์ โรงเรียนบ้านหัวทะเล สพท.นครราชสีมาเขต 1

สาเหตุที่ต้องทำนวัตกรรมเรื่องนี้เนื่องจาการสังเกตเห็นว่านักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 1 ขาดวินัยในการใช้จ่ายเงิน กล่าวคือ ก่อนเข้าโรงเรียนมักจะซื้อของเล่น หรือซื้ออาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายรับประทานทำให้ทำให้เงินที่ได้มาหมดในช่วงเช้า ทางโรงเรียนเล็งเห็นปัญหานี้จึงดำเนินการให้นักเรียนรู้จักแนวทาง ในการประหยัดโดยให้มีการออมทรัพย์ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมด้านการมีวินัย ซื่อสัตย์ และประหยัด

การดำเนินงานมีวัตถุประสงค์ คือ ฝึกให้นักเรียนมีระเบียบ วินัยในตนเอง รู้จักการออมทรัพย์ และใช้เงินที่เป็นประโยชน์

การดำเนินงานมีขั้นตอน คือ เสนอโครงการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ประชุมคณะกรรมการกำหนดกิจกรรม โดยให้นักเรียนเข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง การประหยัด โดยการฝากเงินกับครูประจำชั้นทุกวัน ไม่จำกัดจำนวนเงิน ครูประจำชั้นจะลงบัญชีเงินออมทรัพย์ให้ และงบบัญชีทุกสิ้นเดือน วันศุกร์สัปดาห์ต้นเดือนของทุกเดือน เจ้าหน้าที่จากธนาคารออมสินมาให้บริการรับฝากเงิน โดยโรงเรียนจะประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบก่อน 1 วัน นักเรียนเบิกเงินฝากจากครูประจำชั้นมาฝากเงินกับเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินโดยเขียนใบฝากเงินด้วยตนเอง นักเรียนมีสมุดบัญชีเงินฝากนำไปให้ครูประจำชั้น และผู้ปกครองดู นักเรียนเขียนประโยชน์ของการออมทรัพย์ และวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคต ตลอดจนฝึกทำบัญชีรับจ่าย

ผลการดำเนินงาน นักเรียนมีบัญชีเงินฝากสามารถใช้จ่ายในการศึกษาได้โดยไม่ขัดสน ไม่รบกวนผู้ปกครอง เกิดความภาคภูมิใจ มีวินัย ประหยัด และซื่อสัตย์ ดีขึ้นตามลำดับ

ข้อมูลเสนอแนะ ชื่อเรื่องควรสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง นวัตกรรมเป็นเรื่องเก่า ควรพัฒนาต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 133498เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ระบบเศรษฐกิจพอเพียง  นำหลักการไป คิด สร้างนวัตกรรมได้  เยี่ยมเลยค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท