หลักคิดของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คือ "รอด,พอเพียง,ยั่งยืน"


รอดจากวงจรอุบาทว์ (หนี้สิน,แหล่งเสื่อมโทรม,เร่งด่วน,อบายมุข,ฯลฯ)

ในอดีต  ขงจื่อ เคยกล่าวว่า "ถ้าฉันไม่สามารถได้คนปานกลางมาเป็นเพื่อน   ฉันอยากได้คนที่หุนหันและขี้อายมาเป็นเพื่อนแทน เพราะคนหุนหันจะพิทักษ์สิทธิของตน  ส่วนคนขี้อายจะปล่อยความชั่วไว้ไม่ทำทันที"   จากประโยคดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การเลือกคบเพื่อนของขงจื่อ มิได้คบเพื่อเอาเปรียบกัน  ถ้าเลือกไม่ได้ก็เลือกคบคนขี้อาย ซึ่งเขาจะไม่กล้าทำชั่วทันที  และคนที่หุนหัน ก็จะคิดถึงเรื่องตัวเขาเอง (คือของ ๆ เขาใครก็อย่าไปยุ่ง  ส่วนของคนอื่นเขาก็จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวเช่นกัน) และไม่คิดเอาเปรียบคนอื่น ............

ถ้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นของชุมชน  และต้องดำเนินการให้เกิดให้ได้ ไม่ว่าจะสนองนโยบาย หรือต้องการทำเพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็ตาม หรือเพื่อปกป้องตัวเองจาก นโยบายต่าง ๆ นานา ที่กำลังรุมเร้าของมาถึงชุมชน  คงต้องหาแนวร่วมที่ทำตัวเป็นผู้ที่พิทักษ์สิทธิของตนเอง และแนวร่วมที่ขี้อายที่จะทำความชั่วร้ายมาร่วมในคณะทำงานของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นฐาน ถ้าศูนย์ใดมีผู้คณะทำงานที่ดี ก็ย่อมบังเกิดผลดีแน่นอน กิจกรรมที่เกิดขึ้นก็จะเป็นกิจกรรมที่สนองตอบชุมชนอย่างแท้จริง (อย่าลืมพึ่งตนเองให้ได้ หนึ่งในสี่ ครับ)  แล้วชุมชนของท่านจะผ่านพ้นจากวงจรอุบาทว์ได้ (โดยไม่ต้องคิดซับซ้อนให้ปวดหัวเลย)  เป็นพื้นฐานสำคัญของชุมชนที่มีหลักคิดว่า  จะอยู่รอดได้อย่างไร? เนื่องจากปัจจุบันกระแสความคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระแสหลักของประเทศไปแล้ว  หลายพื้นที่ไม่อยากแต่ก็ต้องทำ โดยที่ไม่เข้าใจความคิดหลัก  การหาคนที่มีความรู้และคุณธรรมมาช่วยเหลือก็เป็นได้ยาก ถ้าหาไม่ได้ก็เอาคนแบบไว้ก่อน แล้วว่าระเบียบว่า " ถ้ามีเรื่องสำคัญก็ให้นัดประชุมกันดีที่สุด"  ..............นี่คือหลักดำเนินการภายในชุมชนที่ควรจะกระทำครับ

หมายเลขบันทึก: 132560เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท