กัลยา สุเขื่อน
นางสาว กัลยา สุเขื่อน หน่อย สุเขื่อน

บันทึกครั้งแรก ชาวบ้านทำวิจัย


ชาวบ้านก็ทำวิจัยได้

   ยินดีต้อนรับทุกท่านที่คลิกเข้ามาอ่านในบล็อกนี้ ดิฉันได้บันทึกประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจำ ซึ่งเป็นงานที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมาก ในด้านการให้การศึกษา ทั้งการศึกษาเที่ยบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และโครงการต่างๆตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อหวังให้ประชาชน   อยู่ดี มีสุข และเกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการบันทึกการทำงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก จะขอนำเสนอ "การจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงวิจัยท้องถิ่น" โดยการนำพาชาวบ้านที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้นไปมาจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงวิจัยท้องถิ่น การนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาเพิ่มมูลค่า ก่อเกิดรายได้ให้ครอบครัวและเกิดชุมชนเข็มแข็ง สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับชุมชน

   ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบันทึกนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ ขอบคุณค่ะ

การจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงวิจัยท้องถิ่น

เรื่อง การเพาะเห็ดนางฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการปฏิบัติงาน

1.การปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน

2.ภาวะผู้นำ

3.การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

4.ความอดทน และความเสียสละ

5.คิดเป็น  ฟังเป็น

6.ลดอัตตา (Ego) ในตัวเองลง

แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้

  ประชาชนตำบลนาขุม อำเภอบ้านโคก ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ  การเกษตร ได้แก่ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ,ข้าว ,ถั่วชนิดต่างๆ อาชีพเสริม คือการทอผ้า แต่การทอผ้านั้นทอยากและต้องใช้เวลานาน บางครอบครัวไม่สามารถทอได้ ชาวบ้านจึงต้องการอาชีพเสริมอื่น ที่เหมาะกับตนเอง

การค้นหาปัญหา

   จากปัญหาที่เกิดขึ้น ครูและชาวบ้าน จึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้น ค้นหาปัญหาและความต้องการ ผลจากการจัดเวที คือ ชาวบ้านต้องการเพาะเห็ดชนิดใดก็ได้ เพราะเห็ดสามารถนำมารับประทานเพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว นำไปจำหน่ายได้ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นที่ต้องการของตลาด

การจัดกระบวนการเรียนรู้

การจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเห็ดได้จัดขึ้นถึง 3 ครั้งด้วยกัน ดังนี้

ครั้งที่ 1

ชาวบ้านและครูช่วยกันหาข้อมูลว่า จะเพาะเห็ดชนิดใด โดยใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน จากการสังเคราะห์ข้อมูล ผลคือ ชาวบ้านต้องการเพาะเห็ดนางฟ้าจากฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้และมีวิทยากร  ในท้องถิ่นด้วย เมื่อจัดกระบวนการเรียนรู้แล้ว ผลที่ได้รับคือ การเพาะเห็ดครั้งนี้ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะครูและชาวบ้านยังไม่มีประสบการณ์ในการเพาะเห็ดและการทำก้อนเชื้อเห็ดไม่ถูกวิธี

ครั้งที่ 2

จากประสบการณ์ครั้งแรก ครูและชาวบ้านได้สรุปบทเรียน และหาแนวทางพัฒนาอาชีพเสริมต่อ จึงปรึกษากันว่า ทดลองซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดก้อนเก็บดอกเห็ดจำหน่าย ผลที่ได้รับคือ ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะว่า อำเภอบ้านโคก อยู่ห่างจากแหล่งที่ผลิตก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 180 กิโลเมตร (อำเภอบ้านโคกอยู่ติดชายแดนไทย-ลาว)  ระยะทางขนส่งก้อนเชื้อเห็ดไกลและขึ้นเขา ส่งผลกระทบต่อก้อนเชื้อแตกหักเสียหาย และเนื่องจากระยะทางไกลก้อนเชื้อเห็ดจึงมีราคาแพงด้วย (ก้อนละ 6 บาท)

ครั้งที่ 3

จากประสบการณ์การเพาะเห็ด 2 ครั้ง ทำให้ ครูและชาวบ้านมีความชำนาญในการเพาะเห็ดมากขึ้น จึงได้นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน และหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผลจากการแลกเปลี่ยนกันคือ ชาวบ้านคิดว่า ถ้าต้องจัดหาวัสดุมาทำก้อนเชื้อเห็ดจากแหล่งอื่น คงจะพัฒนาอาชีพเสริมแบบยั่งยืนไม่ได้ จึงมีแนวคิดว่า ลองนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ที่ถูกทิ้งไว้ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ จากสมมุติฐานที่ว่า "วัสดุที่ทิ้งไว้ตามธรรมชาติแล้วเห็ดออก ถ้าเราใส่เชื้อเข้าไปเห็ดก็ต้องออก"จึงนำวัสดุเหล่านั้นมาทดลองทำก้อนเชื้อเห็ด แล้วเก็บสถิติการออกดอกเห็ด เป็นเวลา 3 เดือน ว่าวัสดุชนิดใด คุ้มทุน เหมาะที่จะนำมาเพาะเห็ดนางฟ้าแทนขี้เลื่อย และชุมชนสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

วัสดุที่นำมาทดลองได้แก่

1.ฟางข้าว

2.ซังข้าวโพดบด

3.เปลือกถั่วเขียว

4.นำทั้ง 3 ชนิดมารวมกัน

วิธีดำเนินงาน

1. สรุปบทเรียน ค้นหาปัญหา

2.สำรวจทรัพยากรในท้องถิ่น

3.จัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

4.เก็บสถิติ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล

5.สรุปผลการดำเนินงาน

6.จัดทำสารสนเทศเผยแพร่

ผลที่ได้รับ

มีวัสดุ 2 ชนิดที่สามารถนำมาเพาะเห็ดนางฟ้า(ภูฐาน)ได้แคุ้มทุน คือ

1.สูตรที่ดีที่สุด คือ ซังข้าวโพดบด ก้อนเชื้อจำนวน 500 ก้อน ต้นทุนเฉลี่ยก้อนละ 2.20 บาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 1,100 บาท เก็บดอกเห็นจำหน่ายระยะเวลา 3 เดือน  ได้ดอกเห็ด 102.5 กก. เป็นเงิน 5,125 บาท คุ้มกับการลงทุน

2.สูตรที่ดีรองลงมา คือ ฟางข้าว ก้อนเชื้อจำนวน 500 ก้อน ต้นทุนเฉลี่ยก้อนละ1.85 บาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 925 บาทเก็บดอกเห็ดจำหน่ายระยะเวลา 3 เดือน ได้ดอกเห็ด  80.5 กก. เป็นเงิน 4,025 บาท คุมกับการลงทุน

  ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การดูแลก้อนเชื้อเห็ด การเก็บสถิติ นั้น นักศึกษาซึ่งเป็นชาวบ้านเป็นผู้ดำเนินการ ครูมีหน้าที่เพียงให้คำแนะนำและนำผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดเข้าไปให้ความรู้เป็นบางครั้งเมื่อเกิดปัญหา

ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   จากการวิจัย ซังข้าวโพดเป็นสูตรที่ดีที่สุด และอำเภอบ้านโคกมีซังข้าวโพดมากมาย ชาวบ้านนำไปเผาทิ้งเกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม และชาวบ้านต้องการนำซังข้าวโพดมาทำอาชีพเสริมการเพาะเห็ดแบบยั่งยืน  แต่ขาดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องบด

 

หมายเลขบันทึก: 131591เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

 ดิฉันขอต้อนรับ ในนามสมาชิกที่เก่า(แก่)กว่านะคะ ขอให้G2K เป็นที่แสดงภาพฝันที่เป็นจริง ได้เต็มที่เลยค่ะ และอาจแลกปลี่ยนเรียนรู้ต่อกัน ได้อีกมากมาย และก่อเกิดความคุ้นเคย จนรักกันเหมือนเพื่อนสนิทในเวลาต่อไป และจะคอยมาตามอ่านนะคะ สวัสดีค่ะ

  • อืมน่าสนใจมากคะ..แถมเป็นงานวิจัยที่กินได้ซะด้วย
  • ยินดีต้อนรับคะ...G2K เป็นเวทีให้ถ่ายทอดความรู้ไปยังคนอื่นๆด้วยนะคะ
  • สวัสดีค่ะ
  • การทำงานแบบนี้น่าสนุกดีนะคะ
  • เอาใจช่วและจะรออ่านสิ่งดีๆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ครูกัลยา

  • เข้ามาทักทายทำความรู้จัก เรา คน กศน.ด้วยกันครับ
  • อยากรู้จักเพื่อนๆ คนในวงการ กศน.เพิ่ม เชิญที่นี่เกือบสองร้อยชีวิตครับ ชุมชน คน กศน.และ กศ.ตามอัธยาศัย
  • ได้ประโยชน์จากบันทึกนี้มาก ทำให้รู้ขึ้นบ้างว่าวิจัยไม่ใช่ยากเลยสำหรับชาวบ้านและผู้เรียน กศน.
  • ยินดีที่ได้รู้จัก แลกเปลี่ยน และจะเข้ามาอ่านเรื่อยๆครับ

ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจให้สมาชิกใหม่ เป็นกำลังใจที่ดีมากในการทำงาน

  • สุดยอดเลยค่ะ
  • ทามมายเก่งจางงงเยยยย
  • วันหลังสอนการทำวิจัยบ้างนะคะ

สุดยอด ครู กศน.ว่าง ๆ แวะมาเยี่ยมเยียนใหม่นะค่ะ อย่าลืมมาแวะเที่ยวประจวบฯนะจ๊ะ รู้สึกแบล็คกราวด์ข้างหลังคุ้นๆๆนิ

ครูกศน.เก่งอยู่แล้ว......จริงอย่างที่ครูเอ็มบอก  แบล็คกราวด์ข้างหลัง

คุ้นๆนะ  อย่างว่าหล่ะก็ของเค้าสวยน่าเที่ยวจริง ๆ

หากมีเวลาแวะมาเยี่ยมในบันทึกอีกก็ได้นะคะ.....

 

เก่งจังคับคิดการวิจัยเรื่องเห็ดนางฟ้ามาให้ความรู้

ผมกำลังทำเครื่องอัดก้อนเชื้อเห็ดอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท