สัญญลักษณ์


หากจะบอกว่าสังคมไทยเป็นสังคมแห่งสัญญลักษณ์ก็คงไม่ผิดเพราะหลายต่อหลายครั้งที่เรายึดติดสัญญลักษณ์เป็นตัวบ่งชี้การตัดสินใจในหลายเรื่อง
เรื่องต่อไปนี้เป็นเพียงวาบของความคิดนะครับอย่าคิดมาก 
หากจะบอกว่าสังคมไทยเป็นสังคมแห่งสัญญลักษณ์ก็คงไม่ผิดเพราะหลายต่อหลายครั้งที่เรายึดติดสัญญลักษณ์เป็นตัวบ่งชี้การตัดสินใจในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น เราเชื่อว่าคนที่เป็นเจ้านาย ต้องเป็นคนดี ต้องเป็นคนที่เป็นซุปเปอร์แมน ไม่ด่างพร้อย
หากเรามาสายเรามักบอกว่าเรามีธุระ โน่น นี่ ชีวิตมีความจำเป็นมากมาย
แต่หากเจ้านายมาสายเรามักบอกว่าทำตนไม่น่าเคารพ (หลายยคนคงเริ่มเห็นแย้ง)
แต่หากเราถอดความเป็นหัวโขนเหล่านั้นทุกคนต่างต้องมีภาวะที่เหมือนกัน
สิทธิของความเป็นคนที่น่าจะได้รับอย่างทัดเทียมหมายถึงมุมนี้ด้วยหรือเปล่า
เช่นเดียวกัน เรามักมองภาพของนักธุรกิจ เจ้าของกิจการการค้าว่าเป็นพวกนายทุน
นายทุนคือพวกกอบโกยผลประโยชน์ เป็นตัวแทนของระบบทุนนิยม นักธุรกิจเพื่อสังคมหายากมาก
แต่กลับมองชาวนา ชาวไร่เป็นตัวแทนของผู้ถูกกระทำ ความยากจน ของกล่มคนที่ใสซื่อบริสุทธิ์
เป็นคนด้อยโอกาส ในขณะที่ชาวนาชาวไร่ที่ กอบโกยต้องการทำนาให้ได้มาก ๆ แก่งแย่งทรัพยากร
มีปัญหากันหรือกระทั่งการโกงสอดไส้ผลผลิต ต่าง ๆ  นานา (ตัวอย่าง) คนเหล่านี้ยังเป็นสัญญลักษณ์ของความใสซื่ออยู่ไหม ไม่ต่างกันนะครับนักธุรกิจเขาก็อาจไม่ต่างจากชาวนาที่ต้องลงทุนแล้วได้รับผลตอบแทนสูงสุด
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยุ่ที่ว่าเป็นภาคธุรกิจหรือเกษตรกร เพรามันเป็นโครงสร้างของระบบทุนที่สังคมยอมรับโดยไม่ทัดทาน หาใช่เป็นเฉพาะกลุ่มนายทุนอย่างเดียวก็หาไม่
ผมไม่ได้หมายความว่านักธุรกิจหรือนายทุนที่กอบโกยผลประโยชน์จนเบียดเบียนคนอื่นไม่มีนะครับ
แค่เพียงอยากให้เราทำใจให้เป็นกลางให้มากที่สุด
ทำอย่างไรเราจะหลุดออกจากความรู้สึกอย่างนี้
หลุดออกจากความเป็นสัญญลักษณ์ที่เราเชื่อ และถูกสอนให้เชื่อ
เราจะมองคนที่ความเป็นคนได้บ้างไหม
นักธุรกิจหรือชาวนาก็เป็นคนเช่นกัน
ทุกคนต่างถูกกลไกของสังคมผลักดันให้แสดงพฤติกรรมที่ต่างกัน
นักธุกิจ พ่อค้า มีเงินมากก็ลงทุนมาก หวังผลกำไรมาก
ในขณะที่ชาวนาชาวไร่ คนค้าขายมีเงินน้อยก็ลงทุนน้อย
แต่หากเราเรียนรู้ที่จะมองเห็นทั้งระบบสังคมที่เท่าเทียมกัน
ทำอย่างไรเราจะไม่แบ่งเขาแบ่งเรา
นั่นนายทุนนี่ประชาชน แล้วคนเหมือนกันไหม
มีแรงผลักดันภายในเหมือนกันไหม
เรามักใช้สัญญลักษณ์เป็นตัวตัดสินอะไรบางอย่าง
ตัดสินพฤติกรรมการแสดงออกของคน
แล้วสังคมไทยจะอยู่อย่างไรถ้าทุกอย่างเป็นเรื่องของภาพลักษณ์
สัญญลักษณ์ โดยขาดเหตุผลและการพิจารณาที่ตัวปัจเจกบุคคล
อย่าลืมนะว่าเราต่างแสดงพฤติกรรมเหมือนเขาก็ได้แค่วิธีการต่างกันเท่านั้น
หมายเลขบันทึก: 130903เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เข้าใจครับ สภาพการทำงานที่ต่างก็มีเหตุผลที่ดี แต่การใช้ปัญญาในการนำทาง หลีกเลี่ยงการใช้อารมรณ์เป็นเรื่องที่ชอบ

ให้กำลังใจนะอาร์ต

พี่เอกครับ

ประเด้นสำคัญน่าจะอยู่ที่เราจะมักละเลยการใช้ปัญญาในการนำทาง ความเชื่อมีผลต่อการตัดสินใจสูง

จริง ๆ แล้วผมไม่ได้ปฏิเสธศรัทธาและความเชื่อของสังคมนะครับแต่ว่าต้อง...ไม่ตัดสินเท่านั้น

 

สวัสดีค่ะ

  พี่อาร์ท  แอนว่า  ถ้าจะเปลี่ยนแนวคิดคนในสังคมว่าไม่ให้ติด ยึด ความเชื่อว่าสัญญาลักษณ์ นั้น น่าจะอยู่จิตใต้สำนึกของคนนั้น ๆ   อืม  "" 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท