สร้างสื่อเพื่อใช้ในการนำเสนอผลงาน "วิจัยชุมชน"


บางครั้ง...การสรุปองค์ความรู้และผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) นั้น สามารถใช้สื่อสารได้ด้วยสื่อที่เหมาะสม...

     การนำเสนอผลงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่ทีมนักวิจัยจังหวัดสุพรรณบุรี ได้คิดและดำเนินการนั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ  1) ใช้สื่อนำเสนอภาพรวมของการทำงาน และ 2) ใช้บุคคลนำเสนอรายละเอียดของงานที่ทำ 

     ฉะนั้น จึงได้ตั้งเป้าหมายในการจัดทำสื่อก็คือ  เพื่อสร้างความเร้าใจและสีสรรให้กับผู้ฟัง  และเพื่อประมวลผลงานที่เกิดขึ้นโดยใช้
เทปภาพสื่อสาร 

     การเตรียมความพร้อมของการดำเนินงานที่ทีมงานได้ร่วมกันทำก็คือ 
      1.  การจัดสรรหน้าที่และแบ่งความรับผิดชอบ  ได้แก่  การจัดทำเนื้อหาสาระที่เป็นเอกสาร  และการประมวลเนื้อหาสาระออกมาเป็นสื่อเทปภาพ (VCD)
      2.  การประมวลข้อมูลและภาพประกอบ  ได้แก่  การลำดับเรื่องราวและเหตุการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ความเป็นมา  ข้อสงสัยที่เกิดขึ้น  ประเด็นที่ต้องการค้นหาคำตอบ
กระบวนการค้นหาคำตอบ  และข้อสรุปที่เกิดขึ้น
      3.  การสร้างเรื่องราวขึ้นมาเรียงร้อยข้อมูล เพื่อนำเสนอเป็นรายการกึ่งสารคดี  ได้แก่  การเขียนเนื้อหารวม  การตกแต่งเป็นสคริปส์  การใส่ภาพประกอบ  และการสอดแทรกจินตนาการของภาพกับเนื้อหา
      4.  การถ่ายทำ VDO และภาพนิ่ง  ได้แก่  การคัดเลือกภาพนิ่งที่มีอยู่เดิมมาตกแต่ง  และการถ่ายภาพเคลื่อนไหวมาเพิ่มเติม
      5.  การบันทึกเสียงและตัดต่อภาพ ได้แก่  การลำดับเรื่องราว  การนำเสียงกับภาพมาสัมพันธ์กัน
      6.  การตรวจสอบและปรับแก้งาน  ได้แก่  การดูความสัมพันธ์ของเนื้อหากับภาพประกอบ  การดูงานทางด้านเทคนิค  และการใช้เสียงประกอบต่าง ๆ
      7.  การจัดสื่อฉบับสมบูรณ์  ได้แก่  การดึงผลงานที่สำเร็จรูปแล้วลงสู่แผ่น DVD  และการทดสอบ DVD ก่อนนำไปใช้จริง

      ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือ
      1.  ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการสร้างสื่อเทปภาพเรื่อง  เปิดประตู สู่พื้นที่...กับ PAR
      2.  ได้สื่อเทปภาพเรื่อง  เปิดประตู สู่พื้นที่...กับ PAR จำนวน 1 เรื่อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

       ส่วนข้อคิดที่เกิดขึ้นก็คือ 
      1.  การสรุปผลงานที่เกิดขึ้นเป็นองค์รวมนั้น สามารถเลือกสรรสื่อที่เหมาะสมกับเนื้อหามาใช้ในการสรุปและนำเสนอบทเรียนที่เกิดขึ้นได้
      2.  การจัดทำหรือสร้างสื่อเทปภาพ เป็นการทำงานที่ต้องใช้ความรู้หลายด้าน ดังนั้น ทีมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจ เช่น  การเขียนบท  การตัดต่อ  การถ่ายภาพ  และเนื้อหา เป็นต้น
      3.  การจัดเก็บองค์ความรู้ สามารถทำได้โดยใช้เทปภาพ  และเป็นสื่อที่ทำให้เห็นได้ทั้งภาพและเสียง

      ฉะนั้น มุมมองของการจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการ "ทำวิจัย" จึงสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของเทปภาพ  และเอกสาร/สิ่งพิมพ์ได้ค่ะ.

หมายเลขบันทึก: 130785เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท