สินรินทร์สเตชั่น
อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ความพอเพียงสู่ชุมชน:บ้านระโงนกรอย


อยู่แบบพึ่งตนเองโดยชุมชน

 

      หากจะพูดว่าเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองแล้วหลายท่านคงจะได้รู้ถึงคำนี้บ่อยๆ  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐเอกชน พยายามที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีการพึ่งตนเองมาโดยตลอด  หมู่บ้านที่ผมพูดถึงนี้  คือเป็นหมู่บ้านระโงนกรอย ตำบลบึง อำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์

      กระบวนการพัฒนาของหมู่บ้านนี้โดยอาศัยพื้นฐาน  คือตั้งอยู่บนความสามัคคีของคนในบ้านระโงนกรอย  งานแรกที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกัน ก็คือการสร้างศูนย์สาธิตการตลาด   ถ้าพูดไปแล้ว ศูนย์สาธิตการตลาดที่หมู่บ้านอื่นก็มี  แต่ที่แปลกกว่าที่อื่นก็คือที่นี่  ตั้งเป็นร้านค้าเดียวที่ขายสินค้าอุปโภค  บริโภคหลายอย่างในชุมชน  และเป็นร้านเดียวเท่านั้นในหมู่บ้าน   การบริหารจัดการของคณะกรรมการรวมทั้งสมาชิกที่มีทั้งหมู่บ้าน  ส่งผลให้บ้านระโงนกรอย มีผลกำไรแบ่งสมาชิก และมีประชาคมหมู่บ้านในการจัดซื้อรถนวดข้าว  รถบรรทุก  6 ล้อ ตามลำดับ

 

 

ศูนย์สาธิตการตลาด (ร้านค้าชุมชน) 

 

         ารดำเนินการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาดเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนให้หมู่บ้านในแต่ละแห่งระดมทุนเพื่อจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาดหรือร้านค้าชุมชนขึ้น  โดยบางหมู่บ้านได้จัดตั้งขึ้นตามนโยบายแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก  บางหมู่ก็ต้องยุบ เพราะไม่สามารถที่จะอยู่ได้ก็ด้วยสาเหตุหลายประการ  แต่หมู่บ้านระโงนกรอย  ได้จัดเวทีประชาคมและตามความเห็นของชาวบ้านโดยได้ระดมทุนครั้งแรก หุ้นละ 100 บาท จำนวน 88 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 8,800 บาทในขณะนั้น  จัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2530  เมื่อเวลาต่อมาปี 2532 ก็ได้คืนหุ้นทั้งหมดให้สมาชิก  แต่ได้นำเอากำไรที่ได้รับมาเป็นต้นทุนดำเนินการแทน  เฉลี่ยเป็นกำไรคนละ 77 บาท การดำเนินการครั้งนั้นก็เริ่มจากหุ้นละ 77 บาท  ซึ่งมาปัจจุบันมีสมาชิกผู้ถือหุ้น 47 คน จำนวนหุ้น 140 หุ้น   ซึ่งเมื่อรวมทั้งทุน + หุ้น = 164,632 บาท          

 

จุดเด่น

 

1.ร้านค้าในหมู่บ้านมีเพียงร้านเดียว คือร้านค้าชุมชน2.คณะกรรมการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีวาระดำรงตำแหน่ง 1ปี3.สินค้าราคาถูกและมีเพียงพอที่จะบริการสมาชิก4.สมาชิกทุกคนเคารพในกฎระเบียบข้อบังคับของร้านค้าชุมชน5.ความสามัคคีในกลุ่มสมาชิกและความร่วมมือกันซื้อสินค้า

 

 

ความเป็นมาของรถนวดข้าว (คันที่ 1)

 

             ปีพ.ศ.2537 ในที่ประชุมชาวบ้านโดยนายบุญจันทร์  เจริญยิ่ง ซึ่งได้ดำรงเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นได้มีมติในการที่จะจัดซื้อรถนวดข้าวเพื่อการเกษตร เป็นจำนวนเงิน 230,000 บาท  ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีแต่ของนายทุนมาดำเนินการ ผลประโยชน์ก็จะอยู่ที่นายทุนคนเดียว  เมื่อในที่ประชุมเห็นชอบก็ได้นำเงินในบางส่วนของกิจกรรม ศูนย์สาธิตการตลาด ธนาคารข้าว และเงินจากการทอดผ้าป่าที่แยกออกมาจากวัด แต่บางส่วนก็ยังคงติดค้างอยู่  แต่เมื่อซื้อรถนวดข้าวมาแล้วก็สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด การบริหารรถนวดข้าว  จะตั้งคณะกรรมการดูแล 3 – 4 คน และส่วนที่ได้จะได้รับ 25 เปอร์เซ็นต์มาแบ่งกัน   และมีกฎระเบียบข้อบังคับของการดำเนินการรถนวดข้าวชุมชน

 

 

 

ความเป็นมาของรถบรรทุก 6 ล้อ (คันที่ 2)            

 

ปี 2544 ในที่ประชุมหมู่บ้าน  ได้ให้เหตุผลจากการดำเนินกิจกรรมรถนวดข้าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจจึงมีการเสนอให้ชุมชนจัดซื้อรถบรรทุก 6 ล้อ เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อใช้ในการขนผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว หรือสินค้าเพื่อนำมาจำหน่ายในศูนย์สาธิตการตลาด   ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวของรถบรรทุก 6 ล้อก็คล้ายกับรถนวดข้าว โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแล  และระเบียบข้อบังคับในการใช้รถ 

 

 

 

        

ความเป็นมาของรถเกี่ยวข้าว (คันที่ 3 )  

 

  ปี 2545 ในที่ประชุมชาวบ้านระโงนกรอย เมื่อได้เห็นผลงานการดำเนินกิจกรรมของรถทั้งสองคันแล้ว  ซึ่งเป็นที่น่าพอใจสำหรับชาวบ้านในชุมชนและเพื่อเป็นการสร้างความอำนวยความสะดวกในเรื่องการเกษตรให้ครบวงจรจึงได้ลงมติเห็นชอบที่จะจัดซื้อรถเกี่ยวข้าวเป็นจำนวนเงิน 450,000 บาท     สำหรับในเรื่องการบริหารจัดการก็จะดำเนินการคล้ายกันและสอดคล้องกันตามกระบวนการจัดเก็บผลผลิตในด้านการเกษตร  และในด้านอื่นๆตามที่ประชุมเห็นชอบ 

 

 

โรงสีข้าวชุมชน

 

     ปี 2545 ประชาคมตำบลบึง  มีมติให้ตั้งโรงสีข้าวชุมชน ตำบลบึง ณ บ้านระโงนกรอยเพราะมองเห็นรูปแบบการดำเนินกิจกรรมที่ได้ผล  และเพื่อการดำเนินกิจกรรมที่ครบวงจร  รวมทั้งการดำเนินการ แปรรูปข้าว ,บรรจุภัณฑ์ และจัดหาตลาดเพื่อการจำหน่าย  ให้ประชาชนมีรายได้เสริม   โดยการตั้งโรงสีข้าวชุมชนประจำตำบลบึงใช้งบประมาณ  จำนวน 999,700 บาท  และเงินสมทบจากชาวบ้าน จำนวน 230,000 บาท                         

 

 

ประวัติหมู่บ้าน

    บ้านระโงนกรอย  หมู่ที่ 9 ตำบลบึง  กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์ เดิมชื่อ “บ้านโนนกลอย” คำว่า “กลอย” เป็นพืชเถาชนิดหนึ่งมีหัวอยู่ในดิน ใช้รับประทานได้  ซึ่งบุคคลในสมัยก่อนได้เล่าว่า ในบริเวณแห่งนี้มีกลอยเป็นจำนวนมาก  จึงได้ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับชื่อพืชชนิดนั้น            เดิมหมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหนองน้ำสาธารณะ  ซึ่งเป็นที่สูงเรียกว่า “โนน”  แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ทางทิศเหนือของหนองน้ำ  แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ระโงนกรอย”  ภาษาถิ่นที่ใช้เป็นภาษาส่วยซึ่งในตามประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ สันนิษฐานว่าน่าสืบทอดจากบรรพบุรษกลุ่มที่ 3  ประวัติศาสตร์จังหวัดสุรินทร์ (เสนอ มูลศาสตร์)          “จังหวัดสุรินทร์เกิดขึ้นเมื่อปี   พ.๒๒๖๐  ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา  ขณะนั้นมีชาวพื้นเมืองที่เรียกตนเองว่า  "กูย"   หรือ   "กวย"   และถูกเรียกว่า  "ส่วย"  อพยพมาจากหลายทาง  มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ประมาณ ๖ กลุ่ม คือ           กลุ่มที่  ๑ มีเชียงปุมเป็นหัวหน้า มาตั้งบ้านเรือนที่เมืองที ซึ่งอยู่ในเขตบ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองปัจจุบัน           กลุ่มที่ ๒ มีเชียงสีเป็นหัวหน้า ตั้งชุมชนที่บ้านกุดหวาย หรือเมืองเตา อยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรีปัจจุบัน 

      กลุ่มที่ ๓ มีเชียงสงเป็นหัวหน้า ตั้งบ้านเรือนที่บ้านเมืองลีง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ กลุ่มที่  ๔  มีเชียงขันเป็นหัวหน้า  สร้างบ้านขึ้นที่โคกลำดวน  อยู่ในเขตอำเภอขุขันธ์ 

จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน          กลุ่มที่  ๕  มีเชียงฆะเป็นหัวหน้า  สร้างบ้านแปงเมืองที่บ้านอัจจปะนึงหรือโคกอัจจะ  อยู่ในเขตอำเภอสังขะปัจจุบัน           กลุ่มที่  ๖ มีเชียงไชยเป็นหัวหน้า ตั้งบ้านแปงเมืองขึ้นที่บ้านกุดปะไท คือบ้านจารพัต เขตอำเภอศีขรภูมิปัจจุบันบ้านระโงนกรอยมีการปกครอง โดยมีผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังมีรายชื่อ      
1.นายดี  สายบุตร      
2.นายพัน  สายบุตร      
3.นายนา  สายบุตร      
4.นายบุญจันทร์  เจริญยิ่ง      
5.นายเรวัต  สายบุตร      
6.นายเมียน  เงางาม      
7.นายเสมือน  สายบุตร  หมู่บ้านระโงนกรอยมี 47 ครัวเรือน มีประชากร 196 คน แยกเป็น ชาย 96 คน หญิง 100 คน (มี.ค.46)
  ปัจจุบัน  ดำรงตำแหน่ง เป็นกำนันตำบลบึง     
จุดเด่น 
           ชาวบ้านระโงนกรอยเป็นคนรักความสงบ มีความสมัครสมานสามัคคีในหมู่บ้าน  ซื่อสัตย์สุจริต  การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  จึงทำให้การดำเนินกิจกรรมกลุ่มของเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและได้ผลสัมฤทธิ์ที่สูงสุด  หน่วยงานราชการทุกหน่วยได้เล็งเห็นผลงาน กิจกรรมที่ผ่านมาของหมู่บ้านระโงนกรอย จึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อที่จะสนับสนุนกิจกรรมของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง เช่น  ศูนย์สาธิตการตลาดซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เป็นจุดแรกของประชาคมหมู่บ้านที่จะเสริมสร้างกระบวนการกิจกรรมอื่นได้ในเวลาต่อมา ซึ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปี รถนวดข้าว รถบรรทุก 6 ล้อ และรถเกี่ยวข้าว ซึ่งล้วนเป็นผลงานการบริหารงานของผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้านด้วยทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าโดยบางส่วนงบประมาณที่ขาด ก็สามารถนำจากกิจกรรมส่วนอื่นมาทดแทนกัน จากศูนย์สาธิตการตลาด ธนาคารข้าว รวมทั้งการระดมทุนจากผ้าป่าเพื่อมาพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นทุนของหมู่บ้านต่อไป
  
อาชีพหลัก  
 1.การทำนา  
 2.การจำหน่ายสลากกิน แบ่งรัฐบาล
 อาชีพเสริม    
1.การทอผ้าไหม 
 2.ปลูกพืชผักสวนครัว(เพื่อครัวเรือน,จำหน่าย)  
1. ด้านเศรษฐกิจ       
1.ทุกครัวเรือนมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม  โดยมีโครงการสนับสนุนดังต่อไปนี้
1.1  โครงการศูนย์สาธิตการตลาดประจำหมู่บ้าน
1.2   โครงการโรงสีข้าวชุมชน
1.3  ธนาคารข้าว
1.4  โครงการกองทุนหมู่บ้าน
1.5  โครงการปุ๋ยชีวภาพ
1.6  โครงการทำน้ำหมักชีวภาพ
1.7  โครงการรถเกี่ยวนวดชุมชน
1.8  โครงการเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน
2. ประชากรที่อยู่ในวัยทำงานมีงานทำทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมและหลังจากช่วงเก็บเกี่ยวประกอบอาชีพรับจข้างทั่วไป       
3. ทุกคนในครัวเรือนได้กินอาหารที่มีคุณภาพ  ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
       
4.ทุกครัวเรือนมีเงินทุนประกอบอาชีพ  โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก  กองทุนเงินล้าน,โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.)  ,กลุ่มสัจจะแม่บ้าน, กลุ่มออมทรัพย์ฃ
       
5.ครัวเรือนมีอาชีพเสริมอย่างน้อย 1 อย่าง  โดยการจัดกิจกรรมสนับสนุนดังนี้
                   
5.1จัดตั้งกลุ่มส่งเสริมการทอผ้าไหมมัดหมี่  อนุรักษ์ผ้าลายท้องถิ่น
                       
5.2 จัดตั้งกลุ่มแปรรูปข้าว
                       
5.3 กลุ่มออมทรัพย์สตรี
                       
5.4 กลุ่มจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล
2.ด้านสังคม
2.1    สุขภาพอนามัย           
1.รณรงค์ให้มีถังขยะทุกหลังคาเรือน
           
2.ทุกหลังคาเรือนมีห้องน้ำห้องส้วมที่สะอาดถูกสุขลักษณะ
           
3.สนับสนุนส่งเสริมให้มีภาชนะเก็บกักน้ำฝนไว้ดื่มทุกหลังคาเรือน
           
4.จัดตั้งกองทุน  ธนาคารยา  และเวชภัณฑ์ จัดหายาสามัญประจำบ้านสำหรับการบรรเทา เบื้องต้น
           
5.อสม.มีการตรวจและกำจัดลูกยุงลายทุกเสาร์ของเดือน
           
6.จำนวนประชากรที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้มีจำนวนลดลงโดยดำเนินการดังนี้
-          แจกทรายอเบสเพื่อควบคุมวงจรชีวิตยุงลาย
2.2    ด้านการศึกษา           
7.จำนวนประชากร คน อายุ 15
60 ปี สามารถอ่านออกเขียนได้           
8. ชาวบ้านได้รับข่าวสารจากที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
           
9. ได้รับข่าวสารทางราชการ ข่าวประชาสัมพันธ์ ผ่านหอกระจายข่าวอย่างสม่ำเสมอ
 2.3    ด้านคุณธรรมจริยธรรม           
1.ทางหมู่บ้านได้สนับสนุนให้มีการจัดงานที่เกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา  วันอาสฬบูชา  วันวิสาขบูชา  วันมาฆบูชาและมีการทำบุญตักบาตรทุกวันพระ
           
2.มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  ไม่ให้ชาวบ้านเกี่ยวข้องกับอบายมุข  โดยผ่านหอกระจายข่าวและทุกครั้งที่มีการประชุมประจำเดือน และจัดให้มีการดำเนินการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด
           
3.ด้านประเพณีวัฒนธรรม
            ส่งเสริมและรณรงค์ให้ชาวบ้านแต่งชุดผ้าไหมพื้นเมือง  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นและเป็นเอกลักษณ์ของกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ด้วย            ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน  เช่น ประเพณีแซนโดนตา  รำมะม๊วด  รำตรด  เซ่นปูตา รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์  
3.ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม
     
3.1  ด้านกายภาพ
           
1.หมู่บ้านมสีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย  และใช้ได้ทุกฤดูกาล  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานของภาครัฐ ดังนี้
-          ลงหินคลุกเส้นทางสายหลักเป็นระยะทาง 1,500  เมตร (อบต.บึง)-          ลงหินคลุกในซอยเข้าหมู่บ้าน (อบต.บึง)-          ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ ลงหินคลุกจากปากทางบ้านปะ อำเภอจอมพระ  – บ้านระโงนกรอย  หมู่ 9 ตำบลบึง เป็นระยะทาง 1,000 เมตร-          ปี 2546 ก่อสร้างถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านเป็นระยะทาง 150 เมตร -          ปี 2548 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นระยะทาง  800 เมตร       
2.ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคา
       
3.หมู่บ้านมีระบบโทรศัพท์สาธารณเพียงพอ
       
4.ด้านแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคมีเพียงพอ  โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนขุดลอกคลองหนองน้ำสาธารณะจากอบต.บึง  เมื่อปี  2548
     
3.2 ด้านสิ่งแวดล้อม
              สนับสนุนส่งเสริมให้แต่ละหลังคาเรือนมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการทำความสะอาดบ้านเรือนแหล่งที่อยู่อาศัย  พร้อมกับให้มีการจัดเก็บและกำจัดขยะอย่างเหมาะสม คือให้ทุกหลังคาเรือนมีการรองรับขยะ  และยังส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้ตามบ้านเรือนและทางเดิน ถนน  เพื่อให้เกิดความร่มรื่น  สวยงาม  พร้อมกับส่งเสริมให้มีการรักษาความสะอาดถนนและแหล่งน้ำ ให้เกิดความสะอาดอย่างต่อเนื่อง
 4.ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย        บ้านระโงนกรอย เป็นหมู่บ้านที่ปลอดอาชญากรรมและเป็นหม

 

 

หมายเลขบันทึก: 130200เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2007 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
wawary พันธมิตรกู้ชาติ

เป็นที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง กับการดำเินินงานของชาวบ้านระโงนกรอย น่าเอาเป็นตัวอย่างขอความดีที่ชาวระโงนกรอยและความสามัคคีของท่านทั้งหลายจงร่วมมือกันพัฒนาหมู่บ้านต่อไป เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจชุมชนความมั่นคงให้ชาติต่อไป โดยเฉพาะร้านค้าชุมชน(สหกรณ์หมูบ้าน)น่าเอาเป็นแบบอย่าง เพราะอยู่มาได้ถึง 21 ปี แสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ของคณะกรรมการบริหาร แถมยังมีร้านค้าเพียงร้านเดียว เป็นไปได้อยากสำหรับสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันทำมาหากิน ขอแสดงความนับถือ

wawary พันธมิตรกู้ชาติ

ตอนนี่ชาวบ้านระโงนกรอยมีอะไรพัฒนาไปมากกว่าเดิมบ้างครับคุณ ทางสายใหม่ กรุณา นำข้อมูลใหม่มาลงให้ผมได้ติดตามกันบ้างนะครับ

ไม่เห็นมีข้อมูลใหม่เลยแฮะ

โทษนะครับ ช่วงนี้ผมกำลังดำเนินการลงพื้นที่อยู่ มีเรื่องราวใหม่จะมาเล่าสู่กันฟัง ขอบคุณมากครับที่ติดตาม

จะรอนะครับ ท่าน

ขอบคุณครับที่นำเสนอสิ่งดีๆ

เอะมีเรื่องหมู่บ้านตัวเองด้วยแฮะ ดีดี แต่ยังไม่ละเอียดเท่าไหร่นะ บางโครงการก็ทำไม่ได้จริงเช่น โครงการปุ๋ยชีวภาพ โครงการทำน้ำหมักชีวภาพ โครงการเกษตรอินทรีย์ยั่งยืนจัดตั้งกองทุน ธนาคารยา และเวชภัณฑ์ จัดหายาสามัญประจำบ้านสำหรับการบรรเทา เบื้องต้น และ โครงการชาวบ้านได้รับข่าวสารจากที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน เป็นต้น รถเกี่ยวข้าวมี 2คัน ส่วนรถนวดข้าวไม่มีแล้วฮะ รถอื่นๆยังมีอยู่ แต่ฉันภูมิใจ เพราะหมู่บ้านพวกเรา สะอาด เป็นระเบียบ และสามัคคีปรองดอง แม้ประชากรน้อย แต่ถ้าได้ทำอะไรแล้วไม่แ้พ้ใครในตำบลบึง รางวัลระดับประเทศยังรับมาแล้ว รัฐมนตรีก็เคยมาเหยียบหมู่บ้านนี้แล้ว

ผมก็เป็นคนสุรินทร์ครับนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีมากเลยครับตอนนี้ผมก็มีความคิดจะจัดตั้งสหกรณ์ของหมู่บ้านของผมครับไว้คอยช่วยเหลือชาวบ้านที่ใด้รับความเดือดร้อนเรื่องการทำนาที่เขาขาดแคลนปุ๋ยและส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ให้มากขึ้นเพราะว่าจะช่วยลดต้นทุนในการทำนาและเพิ่มผลผลิตให้ใด้คุณภาพที่ดีและเยอะกว่าเดิมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท