สวัสดิการด้านยุติธรรมชุมชน


ยุติธรรมชุมชน นับเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของชุมชนมาตั้งแต่อดีต เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันนำไปสู่ความสวัสดีทางวัตถุและจิตใจของสมาชิกในชุมชน และได้รับการเสริมหนุนจากรัฐในยุคปัจจุบันอย่างค่อนข้างเป็นรูปธรรม

เครือข่ายยุติธรรมชุมชนเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นสำหรับคน หรือกลุ่มคนที่สมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะของหุ้นส่วนเพื่อช่วยเหลือภารกิจต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรม อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม เป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับชุมชนสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมสัมมนาเครือข่ายยุติธรรมชุมชนเพื่อให้สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงาน ให้เครือข่ายมีความรู้ในการดำเนินงานเครือข่ายมากขึ้น  จนสามารถวางแผนงานโครงการสำหรับงานยุติธรรมชุมชน           

สมาชิกที่เข้าร่วมประมาณ 95% เป็นเพศชาย  ส่วนใหญ่เป็นระดับผู้นำชุมชน เวทีสัมมนาจัดรูปแบบเป็นวงคุยให้เกิดความใกล้ชิด สนิทสนมระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดความเป็นกันเองกล้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น             

ความเข้าใจของสมาชิกเครือข่ายฯ ต่อกระบวนการยุติธรรมชุมชน  เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดในชุมชน ให้ความเป็นธรรม ไกล่เกลี่ยคดีพิพาทให้ตกลงประนีประนอม ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายมาเข้ามาตัดสิน ไม่ต้องใช้กระบวนการศาลตัดสิน  หากคดีเข้าสู่กระบวนการศาลจะเกิดความยุ่งยากมากขึ้น  นักกฎหมายอาจใช้ความรู้เอาเปรียบชาวบ้าน ทำถูกเป็นผิด หรือผิดเป็นถูก ชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายไม่สามารถรับมือกับนักกฎหมายได้           

รูปแบบการจัดตั้งเครือข่าย สมาชิกรวมตัวหาข้อมูล ปรึกษาหาสาเหตุร่วมแก้ปัญหา  โครงสร้างประกอบด้วยกรรมการระดับหมู่บ้าน  ตำบล  ที่มาของคณะกรรมการจากการคัดเลือกผู้มีความสามารถ ความรู้เป็นที่เชื่อถือของคนในหมู่บ้าน           

ปัญหา หรือคดีที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชุมชน ได้แก่ ลักขโมย  ทะเลาะวิวาท  กรรมสิทธิ์ที่ดิน  ประกันภัย  คู่กรณีระหว่างชาวบ้าน กับ ชาวบ้าน   ชาวบ้าน กับ ภาครัฐ  ชาวบ้าน  กับ  เอกชน  ปัญหาที่ชุมชนไกล่เกลี่ย แก้ไขเองไม่ได้เป็นปัญหาที่มีคู่กรณีเป็นผู้มีอิทธิพล หรือมือที่สาม            

 การแก้ปัญหาด้วยคณะกรรมการเครือข่ายฯ ดำเนินการทั้งระดับบุคคล และเป็นคณะ  สถานะปัจจุบันสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพได้เพียง 70% เนื่องจากยังเป็นการเริ่มต้นของการทำงานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน  ชุมชนต้องการให้กระทรวงยุติธรรมเสริมหนุนด้านความรู้ข้อกฎหมาย เพื่อช่วยเสริมการทำงานของเครือข่ายให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น           

 ยุติธรรมชุมชน นับเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของชุมชนมาตั้งแต่อดีต เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันนำไปสู่ความสวัสดีทางวัตถุและจิตใจของสมาชิกในชุมชน  และได้รับการเสริมหนุนจากรัฐในยุคปัจจุบันอย่างค่อนข้างเป็นรูปธรรม

หมายเลขบันทึก: 130019เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท