นาตยา มียศ


พระอภัยมณีพาคิด
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นปีที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เน้นอ่านออกเสียงทำนองเสนาะ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การอ่านวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ เวลา ๒ ชั่วโมง สาระที่ ๑ การอ่าน มาตรฐานที่ ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน สาระสำคัญ การอ่านงานประพันธ์อย่างพินิจพิจารณา ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้นั้น เรียกว่าการวิเคราะห์งานประพันธ์ นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีเป็นรูปแบบหนึ่งของงานประพันธ์ หากผู้อ่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องทรรศนะการเสนอเรื่องย่อมเป็นแนวทางนำไปสู่ความคิดและข้อสรุปได้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อ่านออกเสียงและอ่านทำนองเสนาะได้คล่องแคล่ว ถูกต้องตามอักขรวีและลักษณะของคำประพันธ์ โดยวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ด้านภาษา เนื้อหา และสังคม ตลอดจนท่องจำคำประพันธ์ที่มีคุณค่าเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการพูดหรือเขียน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังย่อย ๑. บอกแนวทางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอนได้ ๒. อธิบายลักษณะของคำประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอนได้ ๓. วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อได้ สาระการเรียนรู้ ๑. แนวทางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน ๒. นิทานคำกลอน ๓. พระอภัยมณี ตอนระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ กิจกรรมการเรียนการสอน กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเรียนภาษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการพัฒนา ๑. ความสามัคคี -ช่วยกลุ่มทำงาน - ให้ความร่วมมือ ๒. การตรงต่อเวลา - ทำกิจกรรมตรงเวลา - ส่งงานตรงเวลา การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง ๑. ความพอประมาณ นักเรียนอ่านเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อได้ตามเวลาหรือน้อยกว่าเวลาที่กำหนด แล้วบอกแนวทางการวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ๒. ความมีเหตุผล ๒.๑ อธิบายที่มาของเรื่องพระอภัยมณีตอนหนีนางผีเสื้อได้ ๒.๒ บอกความจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์คุณค่าเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณี หนีนางผีเสื้อได้ ๓. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ๓.๑ ยกย่องและชื่นชมวรรณคดีไทย ๓.๒ ภูมิใจวรรณคดีไทยที่เกิดจากภูมิปัญญาของกวีไทย ๓.๓ตระหนักถึงความสำคัญของวรรณคดีไทยในฐานะเอกลักษณ์ของชาติ ๔. เงื่อนไขความรู้ ๔.๑ บอกแนวทางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน ๔.๒ อธิบายลักษณะของคำประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอน ๔.๓ วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ๕. เงื่อนไขคุณธรรม ๕.๑ มีความสามัคคี ๕.๒ ตรงต่อเวลา กระบวนการจัดการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังย่อยข้อ ๑ – ๓ ใช้เวลาเรียน ๒ ชั่วโมง ชั่วโมงที่ ๑ ๑. ทำสมาธิ ๓ – ๕ นาที ๒. นักเรียนฟังครูอ่านบทประพันธ์จากเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ เป็นทำนองเสนาะ “จะกล่าวกลับจับความไปตามเรื่อง ถึงบาทเบื้องปรเมศพระเชษฐา องค์พระอภัยมณีศรีโสภา ตกยากอยู่คูหามาช้านาน กับด้วยนางอสุรีนีรมิต เป็นคู่ชิดเชยชมสมสมาน ต้องรักใคร่ไปตามยามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย” แล้วร่วมกันอภิปรายว่าพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อเหมาะสมที่จะนำมาอ่านเป็นเป็นทำนองเสนาะหรือไม่เพราะเหตุใด ๓. ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้นักเรียนทราบ นักเรียนทดสอบก่อนเรียน ๔. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๕ – ๖ คน แต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ ๑ เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน และใบความรู้ที่ ๒ เรื่องนิทานคำกลอนแล้วตอบคำถามลงในใบงานที่ ๑ เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน ๕. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ ๓ เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ แล้วร่วมกันอภิปรายในประเด็นคำถามจากใบงานที่ ๒ เรื่องพระอภัยมณี แล้วตอบคำถามลงในใบงานที่ ๒ ๖. นักเรียนแต่ละกลุ่มรับใบเฉลยใบงานที่ ๑ และ ๒ ไปตรวจเปรียบเทียบกับผลงานของกลุ่ม แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ๗. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปสาระสำคัญของเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ และจดบันทึกลงสมุด ชั่วโมงที่ ๒ ๘. นักเรียนทำสมาธิ ๓ – ๕ นาที ๙. ครูนำสทนาถึงเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อที่ได้เรียนในชั่วโมงที่ผ่านมา และทบทวนความรู้ในเรื่องความหมายของกลอนนิทาน รูปแบบของกลอนนิทานว่านักเรียนเข้าใจอย่างไร ๑๐. แบ่งนักเรียนตามกลุ่มเดิมแต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการแล้วศึกษาใบความรู้ที่ ๓ เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้ออีกครั้งอย่างละเอียด แล้วร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นตามประเด็นต่อไปนี้ลงในใบงานที่ ๓ เรื่อง การวิเคราะห์พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ ๑๐.๑ พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษอะไรบ้างตามความคิดของนักเรียน ๑๐.๒ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านสังคมที่ได้รับจากเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ ๑๑. ขณะที่นักเรียนปฏิบัติงานกลุ่มครูคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ๑๒. ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานของแต่ละกลุ่ม แล้วประเมินด้านความสามัคคี ความตรงต่อเวลาลงในแบบประเมิน ๑๓. ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และหลังจากการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนกลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ๑๔. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ๑๕. ครูชมเชยกลุ่มที่มีผลงานดีเด่น และบอกคุณลักษณะที่พึงประสงค์เรื่องความสามัคคีและการตรงต่อเวลา ๑๖. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปตามประเด็นต่อไปนี้ ๑๖.๑ บอกแนวทางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน ๑๖.๒ ลักษณะของคำประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอน ๑๖.๓ การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ๑๗. นักเรียนและครูประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และความคิดริเริ่ม และการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตามเกณฑ์ที่กำหนดลงในแบบประเมิน และกำหนดสิ่งที่ตนเองควรจะพัฒนาต่อไป ๑๘. นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนในใบงานที่ ๔ เรื่องการวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ ๑๙. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องการอ่านวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอน สื่อการเรียนรู้ ๑. แถบบันทึกเสียง เรื่อง พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ๒. ใบงานที่ ๑ เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน ๓. เฉลยใบงานที่ ๑ ๔. ใบงานที่ ๒ เรื่อง เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ๕. เฉลยใบงานที่ ๒ ๖. ใบงานที่ ๓ เรื่อง การวิเคราะห์พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ ๗. เฉลยใบงานที่ ๓ ๘. ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน ๙. ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง นิทานคำกลอน ๑๐. ใบความรู้ที่ ๓ เรื่อง พีระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ๑. วิธีการวัดและประเมินผล ๑.๑ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแบบปรนัย จำนวน ๑๐ ข้อ ๑.๒ ประเมินการปฏิบัติตามใบงานกิจกรรมทบทวน ๑.๓ ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการพัฒนาของนักเรียนด้านความความสามัคคี และการตรงต่อเวลา ๑.๔ ประเมินความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ และคิดริเริ่มจากผลงาน ๒. เกณฑ์การวัดและประเมินผล ๒.๑ เกณฑ์การประเมินผลหลังเรียน ถือเกณฑ์ผ่านร้อยละ ๖๐ ๒.๒. เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทบทวน ถือเกณฑ์ผ่านร้อยละ ๖๐ ๒.๓ เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ถือเกณฑ์ผ่านร้อยละ ๖๐ ใช้เกณฑ์ดังนี้ พฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป ได้ระดับคุณภาพ ๔ = ดีเยี่ยม พฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ร้อยละ ๖๐-๗๙ ได้ระดับคุณภาพ ๓ = ดี พฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ร้อยละ ๕๐-๕๙ ได้ระดับคุณภาพ ๒ = ผ่านเกณฑ์ พฤติกรรมตามตัวบ่งชี้ร้อยละต่ำกว่า ๕๐ ได้ระดับคุณภาพ ๑ = ปรับปรุง ๒.๔ เกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ และความคิดริเริ่ม ใช้เกณฑ์ดังนี้ วีธีการพิจารณา ๑. วิเคราะห์งานประพันธ์ที่อ่านได้ถูกต้อง ๒. วิเคราะห์งานประพันธ์ที่อ่านได้ชัดเจน ๓. วิเคราะห์งานประพันธ์ที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล ๔. อธิบายเพิ่มเติมหรือตอบคำถามงานประพันธ์ที่อ่านได้ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนักคะแนน การวิเคราะห์คุณค่าบทประพันธ์เรื่องพระอภัยมณี ๔ ๓ ๒ ๑ ๒ ทำได้ครบ ๔ ข้อ ทำได้ครบ ๓ ข้อ ทำได้ครบ ๒ข้อ ทำได้ ๑ ข้อ ๒.๕ ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลในแต่ละด้าน ผู้สอนจัดการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ๒.๖ ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะ ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขพฤติกรรม ที่มีระดับคะแนนในการประเมินต่ำ ๓. เครื่องมือวัดและประเมินผล ๓.๑ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหลังเรียนแบบปรนัย จำนวน ๑๐ ข้อ ๓.๒ แบบประเมินกิจกรรมทบทวนตามใบงานเรื่อง การวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ ๓.๓ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการพัฒนาของนักเรียน ๓.๔ แบบประเมินความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ และความคิดริเริ่ม กิจกรรมเสนอแนะ แนะนำนักเรียนไปหาอ่านพระอภัยมณีฉบับเต็ม เพื่อให้ได้ความรู้และสาระสำคัญอย่างสมบูรณ์ และได้รับรสทางวรรณศิลป์เพิ่มขึ้น แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ ที่ ชื่อกลุ่ม ความสามัคคี การตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือทำงานกลุ่ม นำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ ทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด นำเสนอผลงานตรงต่อเวลา ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ๔ ๓ ๒ ๑ ลงชื่อ...........................................................ผู้ประเมิน (.......................................................) ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เกณฑ์การประเมิน ๔ หมายถึง ดีเยี่ยม ๓ หมายถึง ดี ๒ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ ๑ หมายถึง ปรับปรุง วีธีการพิจารณาการวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ ๑. วิเคราะห์งานประพันธ์ที่อ่านได้ถูกต้อง ๒. วิเคราะห์งานประพันธ์ที่อ่านได้ชัดเจน ๓. วิเคราะห์งานประพันธ์ที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล ๔. อธิบายเพิ่มเติมหรือตอบคำถามงานประพันธ์ที่อ่านได้ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนักคะแนน การวิเคราะห์คุณค่าบทประพันธ์เรื่องพระอภัยมณี ๔ ๓ ๒ ๑ ๒ ทำได้ครบ ๔ ข้อ ทำได้ครบ ๓ ข้อ ทำได้ครบ ๒ข้อ ทำได้ ๑ ข้อ แบบบันทึกคะแนนผลงาน (การวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ ) คำชี้แจงการคิดคะแนน ทำเครื่องหมาย / ลงในข้อที่มีการปฏิบัติและผ่านการประเมิน แล้วรวมคะแนนที่ได้เทียบกับเกณฑ์การให้ระดับคุณภาพ และนำ ผลที่ได้คูณกับน้ำหนักคะแนนของแต่ละคน (แล้วนำคะแนนลงใน ปพ.๕) กลุ่ม ชื่อ-สกุล ประเด็นการประเมิน การถอดคำประพันธ์ ระดับคะแนน น้ำหนักคะแนนX ระดับคุณภาพ คะแนนที่ได้ (ใส่ปพ.๕) ทำได้ครบ ๔ ข้อ ทำได้ ๓ ข้อ ทำได้ ๒ ข้อ ทำได้ ๑ ข้อ ๒ ๒Xระดับคุณภาพที่ได้% ระดับคุณภาพสูงสุด ๔ ๓ ๒ ๑ ลงชื่อ.......................................................ผู้ประเมิน (.....................................................) เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน จุดประสงค์ วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอนได้ คำชี้แจง ๑. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๕ -๖ คน แต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม ๒. ศึกษาใบความรู้ที่ ๑ – ๒ ๓. อภิปรายภายในกลุ่มแล้วสรุปลงในใบงานที่ ๑ ๔. ตรวจคำตอบจากใบเฉลย ประเด็นคำถาม ๑. หัวใจของนิทานคำกลอนคืออะไร ...................................................................................................................................................... ๒. นิทานคำกลอนหมายถึงอะไร ...................................................................................................................................................... ๓. นิทานคำกลอนในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใดบ้าง...................................................................................................................................................... ๔. ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีนิทานคำกลอนที่แต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ คือเรื่องอะไร ใครเป็น ผู้แต่ง ...................................................................................................................................................... ๕. กวีโวหารที่ใช้ในการแต่งนิทานคำกลอนได้แก่อะไรบ้าง ...................................................................................................................................................... ๑. หัวใจของนิทานคืออะไร คือการเล่าเรื่องต่อ ๆ กันมา หรือเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเวลานาน ๒. นิทานคำกลอนหมายถึงอะไร นิทานคำกลอนหมายถึง การเล่าเรื่องโดยใช้บทกลอนสุภาพ ๓. นิทานคำกลอนในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใดบ้าง แต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนาง ๒๘ ๔. ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีนิทานคำกลอนที่แต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ คือเรื่องอะไร ใครเป็นผู้แต่ง กาพย์พระไชยสุริยา แต่งโดยสุนทรภู่ ๕. กวีโวหารที่ใช้ในการแต่งนิทานคำกลอนได้แก่อะไรบ้าง กวีโวหารที่ใช้ในการแต่งกลอน ได้แก่ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร สาธกโวหาร อุปมาโวหาร เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ จุดประสงค์ ตอบคำถามเรื่องพระอภัยมณีตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อได้ คำชี้แจง ๕. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๕ -๖ คน ตามกลุ่มเดิม ๖. ศึกษาใบความรู้ที่ ๓ ๗. อภิปรายภายในกลุ่มแล้วสรุปลงในใบงานที่ ๒ ๘. ตรวจคำตอบจากใบเฉลย ประเด็นคำถาม ๑. “ฉุดกระชากลากหางขึ้นกลางหาด และประหลาดลักษณามีตาหู จะเอาไปให้พระบิดาดู แล้วลากลู่เข้าในถ้ำด้วยกำลัง” บทประพันธ์นี้กล่าวถึงใคร อย่างไร ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................๒. ให้อธิบายถึงความผูกพันระหว่างสินสมุทรกับนางผีเสื้อสมุทร ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ๓. นักเรียนคิดว่าตัวละครใดมีคุณธรรมอันน่ายกย่อง .......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ๔. ถ้านักเรียนเป็นพระอภัยมณี จะคิดอุบายเพื่อหนีนางผีเสื้อสมุทรหรือไม่ เพราะเหตุใด .......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ๕. นักเรียนคิดว่านางผีเสื้อสมุทรมีข้อดีอะไรบ้าง .......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ๑. “ฉุดกระชากลากหางขึ้นกลางหาด และประหลาดลักษณามีตาหู จะเอาไปให้พระบิดาดู แล้วลากลู่เข้าในถ้ำด้วยกำลัง” บทประพันธ์นี้กล่าวถึงใคร อย่างไร กล่าวถึงสินสมุทรที่ออกท่องเที่ยวทะเล พบเงือกเฒ่าเกิดสงสัยว่าเป็นสัตว์ชนิดใด จึงลากไปให้พระอภัยมณีดูที่ถ้ำ ๒. ให้อธิบายถึงความผูกพันระหว่างสินสมุทรกับนางผีเสื้อสมุทร สินสมุทรมิได้มีความผูกพันกับนางผีเสื้อ จึงรักรพอภัยมณีมากกว่า เพราะนางผีเสื้อไม่สนใจเลี้ยงดูสินสมุทร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระอภัยมณี มิหนำซ้ำยังขู่ตะคอกให้สินสมุทรกลัว ยิ่งได้เห็นร่างลวงของนางผีเสื้อสมุทรก็ยิ่งกลัวและเลือกที่จะอยู่เคียงข้างพระอภัยมณีต่อไป ๓. นักเรียนคิดว่าตัวละครใดมีคุณธรรมอันน่ายกย่อง เงือกพ่อแม่แสดงน้ำใจด้วยการเสียสละชีวิตของตน เพื่อหลอกล่อนางผีเสื้อสมุทรให้ติดตามไปทางหนึ่ง ยอมตายไม่ยอกบอกความจริง เพื่อให้พระอภัยมณีพ้นจากเงื้อมมือของนางผีเสื้อสมุทร นับเป็นตัวละครที่น่าสงสาร และน่ายกย่องที่ต้องมาเสียชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ๔. ถ้านักเรียนเป็นพระอภัยมณี จะคิดอุบายเพื่อหนีนางผีเสื้อสมุทรหรือไม่ เพราะเหตุใด ถ้าเป็นพระอภัยมณีก็คงต้องคิดอุบายเพื่อหนีจากนางผีเสื้อสมุทรให้ได้ เพราะนางผีเสื้อสมุทรบังคับจิตใจมาตลอด ตนมิได้รักนางแม้แต่นิด มิหนำซ้ำยังต่างเผ่าพันธุ์กันอีกด้วย และประการสำคัญ คือ เป็นห่วง คิดถึงพ่อแม่และน้องชาย ๕. นักเรียนคิดว่านางผีเสื้อสมุทรมีข้อดีอะไรบ้าง เป็นคนรักเดียวใจเดียว ยึดมั่นในความรักไม่เปลี่ยนแปลง พยายามทำทุกวิธีเพื่อที่จะให้ได้พระอภัยมณีกลับคืนมาอยู่กับตนเอง เรื่อง การวิเคราะห์พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ จุดประสงค์ วิเคราะห์พระอภัยมณีตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อได้ คำชี้แจง ๑. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๕ -๖ คน ตามกลุ่มเดิม ๒. ศึกษาใบความรู้ที่ ๓ เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อให้เข้าใจ ๓. อภิปรายภายในกลุ่มแล้วสรุปลงในใบงานที่ ๓ ๔. ส่งตัวแทนออกไปรายงาน ประเด็นคำถาม ๑. พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทรมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษอะไรบ้าง ตามความคิดของนักเรียน ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านสังคมที่ได้รับจากนิทานคำกลอนพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร ได้แก่อะไรบ้าง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๑. พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน สำนวนกลอนมีความไพเราะ เนื้อเรื่องแฝงข้อคิดเรื่องความรักที่มิได้เกิดจากความผูกพันนั่นย่อมไม่จีรังและแฝงคุณธรรมเป็นการสอนใจผู้อ่าน จดจำง่าย ตัวละครเต็มไปด้วยอารมณ์รัก โกรธ หลง เหมือนมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ซึ่งผู้ประพันธ์สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครผ่านทางศิลปะการประพันธ์ของท่านได้อย่างน่าชื่นชม ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร แต่งด้วยกลอน สุภาพ เป็นบทร้อยกรองที่เด่นทั้งเนื้อหา สร้างความสนุกสนาน สร้างจินตนาการ ให้ ข้อคิดสาระที่มีคุณค่า ขณะเดียวกันก็เด่นในด้านศิลปะการประพันธ์ด้วย สำนวนกลอนของ สุนทรภู่มีลีลาเป็นเอกลักษณ์เด่นสัมผัสใน ทำให้ผู้อ่านจดจำได้ดี ใช้ถ้อยคำสามัญ แต่กลับ มีความหมายลึกซึ้ง เพราะกวีเข้าใจและรู้จักธรรมชาติของคำ สามารถโน้มน้าวอารมณ์และ ความสนุกของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการและมโนภาพได้ ๓. คุณค่าด้านสังคม พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร แสดงให้เห็น ความรักที่มิได้เกิดจากความผูกพันนั่นย่อมไม่ยั่งยืน ในที่นี้คือความรักระหว่างนางผีเสื้อสมุทรกับพระอภัยมณี และความรักระหว่างพ่อแม่ลูก นางผีเสื้อสมุทรกับพระอภัยมณี คือตัวอย่างความรักที่มิได้เกิดจากความสมัครใจ ความรักนั้นต้องมีพื้นฐานความรักความเข้าใจของคนสองคน และมีปัจจัยหลายอย่างที่จะยึดเหนี่ยวความผูกพันคนสองคนไว้ได้ ถ้าฝืนครองคู่โดยมิได้เกิดจากความเต็มใจของอีกฝ่าย โอกาสที่จะใช้ชีวิตตามที่คำโบราณกล่าวว่า “ถือไม้เยอดทอง กระบองยอเพชร” ก็คงเป็นไปได้ยาก นางผีเสื้อกับสินสมุทร คือตัวอย่างแม่ลูกที่มิได้มีความผูกพันกัน นางผีเสื้อรักแต่พระอภัยมณี ปล่อยให้พระอภัยมณีเป็นฝ่ายดูแลสินสมุทรแทน เมื่ออยู่ด้วยกันก็มิได้แสดงความรักใคร่เอ็นดู จนสินสมุทรรักพ่อมากกว่ารักแม่ เพราะ “ด้วยมิได้ขู่เข็ญเช่นมารดา” ท้ายที่สุดแม้สินสมุทรจะรักแม่แต่ก็เป็นไปโดยสัญชาติญาณเท่านั้น เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน เนื้อหา แนวทางการวิเคราะห์คุณค่าทางวรรณคดีของนิทานคำกลอน มีดังนี้ ๑. วิเคราะห์คุณค่าทางด้านเนื้อหา เนื้อหาในบทร้อยกรองนั้นมีความหลากหลาย ในการพิจารณาระดับที่ง่ายที่สุด คือ ดูว่าเรื่องนั้นเป็นไปในทำนองใด สร้างสรรค์ ยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้น สะท้อนสังคม แสดงแง่คิด ปรัชญาต่าง ๆ ทำให้รู้จักชีวิตและโลกกว้างขึ้น รู้วิธีในการอยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคมได้อย่างมีความสุข หรือเป็นเรื่องมอมเมาชักจูงจิตใจของผู้อ่านให้ต่ำลง ดังนั้นเมื่ออ่านแล้วควรตอบตัวเองให้ได้ว่า รู้สึกอย่างไรต่อไปในเนื้อหาในบทร้อยกรองเรื่องนั้น ๆ มีคุณค่าให้ประโยชน์ ความรู้ ความคิด หรือให้ความเพลิดเพลิน ๒. วิเคราะห์คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ คือ การพิจารณาคุณค่าด้านการใช้ถ้อยคำ ว่ามีการเลือกสรรถ้อยคำมาใช้ให้ตรงตามความหมาย หรือใช้อย่างมีความหมายแฝงอย่างไร มีความไพเราะ มีการใช้คำสะเทือนอารมณ์ ความรู้สึก กระทบใจผู้อ่านอย่างไร โดยพิจารณาจาก ๑) การใช้บรรยายโวหาร คือ ใช้คำให้เห็นภาพชัดเจน ตามลำดับเหตุการณ์ ๒) การใช้พรรณนาโวหาร คือ การใส่อารมณ์ ความรู้สึกในบทประพันธ์ ๓) การใช้เทศนาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวสั่งสอนอย่างมีมีเหตุผล ๔) การใช้สาธกโวหาร คือ โวหารที่ยกตัวอย่าง หรือเรื่องราวประกอบ ๕) การใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง ๖) การใช้โวหารเปรียบเทียบโดยใช้คำตัดกัน หรือตรงกันข้าม ๗) การซ้ำคำ คือ การเน้นคำหรือข้อความให้เกิดความประทับใจ ๘) การใช้โวหารสัญลักษณ์ คือใช้คำที่เป็นสัญลักษณ์ ๙) การใช้อุปลักษณ์ คือ การใช้คำเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ๑๐) การใช้โวหารบุคคลวัต คือ การทำสิ่งที่ไม่มีชีวิตให้มีชีวิต มีรูปร่าง ๑๑) การใช้โวหารอธิพจน์ คือ การเปรียบเทียบที่เกินจริง ๑๒) การใช้โวหารสัทพจน์ คือ การใช้คำเพื่อให้ได้ยินเสียง ๑๓) การใช้นาฏการ คือ การใช้คำที่ให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ๓. วิเคราะห์คุณค่าทางด้านสังคม คือ การพิจารณาว่าบทประพันธ์นั้น ๆ ผู้แต่งมีจุดประสงค์อย่างไร ให้ผู้อ่านได้รับความรู้อะไรบ้าง ผู้แต่งแสดงทรรศนะแนวคิดอย่างไร ให้คำสอนข้อคิด ให้คติเตือนใจ ให้แนวทางในการดำรงชีวิตอย่างไร แสดงให้เห็นวิถีชีวิตอย่างไร ความคิด ความเชื่อของคนในสังคมสมัยที่แต่งอย่างไร ผู้อ่านต้องพิจารณาสิ่งที่ผู้ประพันธ์แฝง หรือสอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ซึ่งผู้แต่งมักจะสอดแทรกเอาไว้อย่างแนบเนียน เรื่อง นิทานคำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร (กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๘ : ๖๓ – ๘๐) กิจกรรมทบทวน เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมายถูก (/) หน้าข้อความที่เห็นถูกต้อง และทำเครื่องหมายผิด (X) หน้าข้อความที่เห็นว่าผิด ...................๑. พระอภัยมณี เริ่มแต่งในขณะที่สุนทรภู่ดื่มสุรา ..................๒. พระอภัยมณีสอนวิชาเป่าปี่ให้สินสมุทร ...................๓. เหตุที่สินสมุทรรักพระอภัยมณีมากกว่านางผีเสื้อสมุทรเพราะรู้ว่านางผีเสื้อเป็นยักษ์ ...................๔. ตาเงือก เป็นผู้อาสาช่วยพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร ...................๕. เงือกตายายพาพระอภัยมณีเข้ามาหลบภัยที่เกาะแก้วพิสดาร ...................๖. โยคี เป็นผู้ที่ช่วยให้ที่หลบภัยแก่พระอภัยมณี ...................๗. พระอภัยมณีใจอ่อนยอมให้นางผีเสื้อสมุทรตามเสด็จไปยังเมืองของพระองค์ ...................๘. เมื่อโยคีให้โอวาทนางยักษ์ก็ยอมรับฟังแต่โดยดี ...................๙. โยคีเสกทรายใส่นางผีเสื้อทำให้นางเข้ามาที่เกาะแก้วพิสดารไม่ได้ ..................๑๐. สินสมุทรเมื่อเห็นนางผีเสื้อร้องไห้คร่ำครวญเจ็บปวดก็รู้สึกสงสารจับใจ กิจกรรมทบทวน เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ เรื่องพระอภัยมณี ๑. X ๒. / ๓. X ๔. / ๕. X ๖. / ๗. X ๘. X ๙. / ๑๐. / แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่อง การอ่านวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ วิชา ท ๓๓๑๐๑ ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นปีที่ ๓ ………………………………………………………………………………………………………………………… คำชี้แจง แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบปรนัย ๔ ตัวเลือก ก ข ค และ ง จำนวน ๑๐ ข้อ ๑. ข้อใดเป็นแนวคิดในการแต่งพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร ก. ความรักชนะทุกสิ่ง ข. ความรักก่อให้เกิดทุกข์ ค. ความรักคือการเสียสละ ง. ความรักที่มิได้เกิดจากความผูกพันย่อมไม่จีรัง ๒. นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด ก. กลอนบทละคร ข. กลอนสุภาพ ค. กาพย์ยานี ๑๑ ง. กาพย์ฉบัง ๑๖ ๓. คำประพันธ์ข้อใดแสดงความรักอันลึกซึ้งระหว่างชายหญิง ก. แม้นสิ้นสูญบุญนางในปางนี้ ไม่มีที่พึ่งพาจะอาศัย จะกอดศพซบหน้าโศกาลัย ระกำใจกว่าจะม้วยไปด้วยกัน ข. ครั้นพลบค่ำทำรักนางยักษ์ร้าย ประคองกายกอดแอบแนบถนอม ชื่นแต่หนาอารมณ์นั้นกรมกรอม แต่คิดอ่านหว่านล้อมจะล่อลวง ค. ฝ่ายว่านางผีเสื้อก็เชื่อถือ คิดว่าซื่อสุจริตพิสมัย จึงตอบว่าถ้ากระนั้นฉันจะไป อยู่เขาใหญ่ในป่าพนาวัน ง. พระโฉมยงจงอยู่ในคูหา เลี้ยงรักษาลูกน้อยคอยหม่อมฉัน จะอดใจให้เหมือนคำที่รำพัน ถ้วนสามวันก็จะมาอย่าอารมณ์ ๔. ข้อใดเป็นการตัดพ้อ ก. เสียแรงรักหนักหนาอุตส่าห์ถนอม สู้อดออมสารพัดไม่ขัดสน ข. ซึ่งรักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก มิใช่จักลืมคุณกรุณา ค. ถึงตัวไปใจลูกยังผูกคิด พอปลดปลิดเรื่องธุระจะมาหา ง. ขอลาแล้วแก้วตาไปธานี อย่าราคีขุ่นข้องให้หมองมัว ๕. ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของเรื่องพระอภัยมณี ก. มีสัมผัสในทุกวรรค ข. มีรสคำรสความที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ค. แต่งด้วยกลอนสุภาพ ง. ถูกทุกข้อ ๖. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับนิทานคำกลอนพระอภัยมณี ก. แต่งด้วยกลอนสุภาพ ข. มีสัมผัสในทุกวรรค ค. มีรสคำรสความที่มีความหมาย ง. ใช้คำครุลหุได้ถูกต้อง ๗. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่นางผีเสื้อสมุทรรู้ว่าพระอภัยมณีหนีไป ก. การที่นางฝันร้าย ข. ประตูถ้ำเปิดทิ้งไว้ ค. ไม่พบพระอภัยมณีและสินสมุทร ง. ปี่ของพระอภัยมณีหายไป ๘. “ท่านส่งเราที่เกาะละเมาะนี้ แล้วรีบหนีไปในน้ำแต่ลำพัง” คำกล่าวนี้แสดงว่าผู้พูดเป็นคนอย่างไร ก. ขี้ขลาด ข. กล้าหาญ ค. เสียสละ ง. เห็นแก่ตัว ๙. คำประพันธ์ข้อใดบรรยายให้เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด ก. ฝ่ายผีเสื้อเมื่อลูกลอบลงน้ำ พอจวนค่ำคิดว่าวิ่งขึ้นสิงขร ข. ด้วยใจนางคิดว่าพาบิดร มาซุ่มซ่อนอยู่ที่นี่จึงหนีมา ค. เที่ยวแลรอบขอบเขตเขาชะอุ้ม ยิ่งมืดคลุ้มก็ยิ่งคลั่งตั้งแต่หา ง. เสียงครืนโครมโดดตะครุบก้อนศิลา จนหน้าตาแตกยับลงสับเงา ๑๐. ข้อใดเป็นการวางแผน ก. อันตาข้าถ้าค่ำเห็นสว่าง ทั้งเดินทางเรี่ยวแรงแข็งขยัน ข. ถ้าแก้ไขให้นางไปค้างป่า ไว้ล่วงหน้าเสียบ้างจะยังชั่ว ค. เห็นละเมาะเกาะใหญ่ที่ไหนบ้าง หยุดเสียบ้างให้สหายจึงผายผัน ง. เห็นลูกไม้ในป่าคว้าเข้าปาก กำลังยากยืนขยอกจนกรอกหัว เรื่อง การอ่านวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์เรื่องพระอภัยมณี ๑. ง ๒. ข ๓. ก ๔. ก ๕. ง ๖. ง ๗. ก ๘. ค ๙. ง ๑๐. ข แบบทดสอบหลังเรียนเรื่อง การอ่านวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ วิชา ท ๓๓๑๐๑ ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นปีที่ ๓ ………………………………………………………………………………………………………………………… คำชี้แจง แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบปรนัย ๔ ตัวเลือก ก ข ค และ ง จำนวน ๑๐ ข้อ ๑. นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด ก. กลอนบทละคร ข. กลอนสุภาพ ค. กาพย์ยานี ๑๑ ง. กาพย์ฉบัง ๑๖ ๒. คำประพันธ์ข้อใดแสดงความรักอันลึกซึ้งระหว่างชายหญิง ก. แม้นสิ้นสูญบุญนางในปางนี้ ไม่มีที่พึ่งพาจะอาศัย จะกอดศพซบหน้าโศกาลัย ระกำใจกว่าจะม้วยไปด้วยกัน ข. ครั้นพลบค่ำทำรักนางยักษ์ร้าย ประคองกายกอดแอบแนบถนอม ชื่นแต่หนาอารมณ์นั้นกรมกรอม แต่คิดอ่านหว่านล้อมจะล่อลวง ค. ฝ่ายว่านางผีเสื้อก็เชื่อถือ คิดว่าซื่อสุจริตพิสมัย จึงตอบว่าถ้ากระนั้นฉันจะไป อยู่เขาใหญ่ในป่าพนาวัน ง. พระโฉมยงจงอยู่ในคูหา เลี้ยงรักษาลูกน้อยคอยหม่อมฉัน จะอดใจให้เหมือนคำที่รำพัน ถ้วนสามวันก็จะมาอย่าอารมณ์ ๓. ข้อใดเป็นแนวคิดในการแต่งพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร ก. ความรักชนะทุกสิ่ง ข. ความรักก่อให้เกิดทุกข์ ค. ความรักคือการเสียสละ ง. ความรักที่มิได้เกิดจากความผูกพันย่อมไม่จีรัง ๔. ข้อใดเป็นการตัดพ้อ ก. เสียแรงรักหนักหนาอุตส่าห์ถนอม สู้อดออมสารพัดไม่ขัดสน ข. ซึ่งรักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก มิใช่จักลืมคุณกรุณา ค. ถึงตัวไปใจลูกยังผูกคิด พอปลดปลิดเรื่องธุระจะมาหา ง. ขอลาแล้วแก้วตาไปธา
หมายเลขบันทึก: 129960เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลองแก้ไข   แล้วจัดใหม่เป็นตอนๆ จะดีกว่าไหมคะ?

 

ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นปีที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เน้นอ่านออกเสียงทำนองเสนาะ

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การอ่านวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ เวลา ๒ ชั่วโมง

 

สาระที่ ๑ การอ่าน มาตรฐานที่ ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

สาระสำคัญ การอ่านงานประพันธ์อย่างพินิจพิจารณา ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้นั้น เรียกว่าการวิเคราะห์งานประพันธ์ นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีเป็นรูปแบบหนึ่งของงานประพันธ์ หากผู้อ่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องทรรศนะการเสนอเรื่องย่อมเป็นแนวทางนำไปสู่ความคิดและข้อสรุปได้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อ่านออกเสียงและอ่านทำนองเสนาะได้คล่องแคล่ว ถูกต้องตามอักขรวีและลักษณะของคำประพันธ์ โดยวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ด้านภาษา เนื้อหา และสังคม ตลอดจนท่องจำคำประพันธ์ที่มีคุณค่าเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการพูดหรือเขียน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังย่อย

 ๑. บอกแนวทางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอนได้

๒. อธิบายลักษณะของคำประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอนได้

๓. วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อได้

สาระการเรียนรู้

๑. แนวทางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน

๒. นิทานคำกลอน

๓. พระอภัยมณี ตอนระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

 

กิจกรรมการเรียนการสอน

กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเรียนภาษา

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการพัฒนา

๑. ความสามัคคี -ช่วยกลุ่มทำงาน - ให้ความร่วมมือ

๒. การตรงต่อเวลา - ทำกิจกรรมตรงเวลา - ส่งงานตรงเวลา

การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง

๑. ความพอประมาณ นักเรียนอ่านเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อได้ตามเวลาหรือน้อยกว่าเวลาที่กำหนด แล้วบอกแนวทางการวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

๒. ความมีเหตุผล

             ๒.๑ อธิบายที่มาของเรื่องพระอภัยมณีตอนหนีนางผีเสื้อได้

             ๒.๒ บอกความจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์คุณค่าเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณี หนีนางผีเสื้อได้

๓. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

             ๓.๑ ยกย่องและชื่นชมวรรณ คดีไทย

            ๓.๒ ภูมิใจวรรณคดีไทยที่เกิดจากภูมิปัญญาของกวีไทย

            ๓.๓ตระหนักถึงความสำคัญของวรรณคดีไทยในฐานะเอกลักษณ์ของชาติ

๔. เงื่อนไขความรู้

             ๔.๑ บอกแนวทางการวิ เคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน

           ๔.๒ อธิบายลักษณะของคำประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอน

           ๔.๓ วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

 ๕. เงื่อนไขคุณธรรม

           ๕.๑ มีความสามัคคี

          ๕.๒ ตรงต่อเวลา กระบวนการจัดการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังย่อยข้อ ๑ – ๓ ใช้เวลาเรียน ๒ ชั่วโมง

        ชั่วโมงที่ ๑ ๑. ทำสมาธิ ๓ – ๕ นาที

                   ๒. นักเรียนฟังครูอ่านบทประพันธ์จากเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ เป็นทำนองเสนาะ “จะกล่าวกลับจับความไปตามเรื่อง ถึงบาทเบื้องปรเมศพระเชษฐา องค์พระอภัยมณีศรีโสภา ตกยากอยู่คูหามาช้านาน กับด้วยนางอสุรีนีรมิต เป็นคู่ชิดเชยชมสมสมาน ต้องรักใคร่ไปตามยามกันดาร จนนางมารมีบุตรบุรุษชาย” แล้วร่วมกันอภิปรายว่าพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อเหมาะสมที่จะนำมาอ่านเป็นเป็นทำนองเสนาะหรือไม่เพราะเหตุใด

             ๓. ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้นักเรียนทราบ นักเรียนทดสอบก่อนเรียน

 

           ๔. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๕ – ๖ คน แต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ ๑ เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน และใบความรู้ที่ ๒ เรื่องนิทานคำกลอนแล้วตอบคำถามลงในใบงานที่ ๑ เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน

           ๕. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ ๓ เรื่องพ ระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ แล้วร่วมกันอภิปรายในประเด็นคำถามจากใบงานที่ ๒ เรื่องพระอภัยมณี แล้วตอบคำถามลงในใบงานที่ ๒

 

            ๖. นักเรียนแต่ละกลุ่มรับใบเฉลยใบงานที่ ๑ และ ๒ ไปตรวจเปรียบเทียบกับผลงานของกลุ่ม แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง  

 

            ๗. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปสาระสำคัญของเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ และจดบันทึกลงสมุด ชั่วโมงที่ ๒

 

          ๘. นักเรียนทำสมาธิ ๓ – ๕ นาที 

 

          ๙. ครูนำสทนาถึงเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อที่ได้เรียนในชั่วโมงที่ผ่านมา และทบทวนความรู้ในเรื่องความหมายของกลอนนิทาน รูปแบบของกลอนนิทานว่านักเรียนเข้าใจอย่างไร

 

          ๑๐. แบ่งนักเรียนตามกลุ่มเดิมแต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการแล้วศึกษาใบความรู้ที่ ๓ เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้ออีกครั้งอย่างละเอียด แล้วร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นตามประเด็นต่อไปนี้ลงในใบงานที่ ๓ เรื่อง การวิเคราะห์พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ

 

                    ๑๐.๑ พระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษอะไรบ้างตามความคิดของนักเรียน

 

                   ๑๐.๒ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านสังคมที่ได้รับจากเรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ

 

              ๑๑. ขณะที่นักเรียนปฏิบัติงานกลุ่มครูคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

 

              ๑๒. ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานของแต่ละกลุ่ม แล้วประเมินด้านความสามัคคี ความตรงต่อเวลาลงในแบบประเมิน

 

              ๑๓. ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และหลังจากการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนกลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

 

             ๑๔. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

 

           ๑๕. ครูชมเชยกลุ่มที่มีผลงานดีเด่น และบอกคุณลักษณะที่พึงประสงค์เรื่องความสามัคคีและการตรงต่อเวลา

 

           ๑๖. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปตามประเด็นต่อไปนี้

 

                ๑๖.๑ บอกแนวทางการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน

                ๑๖.๒ ลักษณะของคำประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอน

                ๑๖.๓ การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

 

         ๑๗. นักเรียนและครูประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และความคิดริเริ่ม และการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตามเกณฑ์ที่กำหนดลงในแบบประเมิน และกำหนดสิ่งที่ตนเองควรจะพัฒนาต่อไป

 

       ๑๘. นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนในใบงานที่ ๔ เรื่องการวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์

 

       ๑๙. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องการอ่านวิเคราะห์คุณค่างานประพันธ์ประเภทนิทานคำกลอน

หมวดหมู  ก็น่าจะเป็น    การเรียนการสอน

คำสำคัญ  น่าจะใช้หลายๆ อย่าง เช่น

แผนการสอนเรื่องพระอภัยมณี

การสอนภาษาไทย ม.๓

บทวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี

แบบฝึกหัดเรื่องพระอภัยมณี

แบบทดสอบเรื่องพระอภัยมณี

 

ครูภาทิพอยากจะนำไปเผยแพร่ที่ http://www.st.ac.th/bhatips/ และที่

http://www.st.ac.th/bhatips/webthai/index.htm ให้

แต่

๑. ต้องนำข้อความมาจัดหน้าใหม่อีกมาก

๒. เขียนไว้ว่า สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ

จึงไม่ได้นำไปเผยแพร่ให้ค่ะ     ขอโทษด้วยนะคะที่ละเมิดเข้ามาแนะนำโดยที่เจ้าของไม่ได้ขอร้อง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท