การเขียนวิทยานิพนธ์ : การเตรียมข้อมูลก่อนการวิเคราะห์ข้อมูล


การตรวจสอบข้อมูล

การตรวจสอบข้อมูลก่อนการดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล

 การตรวจสอบข้อมูล ถือว่ามีความจำเป็นมากและสำคัญอย่างยิ่ง โดยทั่วไปการตรวจ
ข้อมูลจะปฏิบัติทันเมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นในแต่ละช่วงเวลา  แต่ความเป็นจริงแล้วมักจะไม่ได้รับความสนใจจากนิสิต นักศึกษาเอง  เนื่องจากการตรวจข้อมูลเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียด เป็นงานซ้ำซาก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบข้อมูล คือ เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์  ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลที่ได้จากคำตอบในเครื่องมือวัดประกอบด้วยประเด็นต่อไปนี้  
  1.  ความสมบูรณ์ (Completeness)  ของข้อมูลที่ตอบในเครื่องมือเป็นสิ่งแรกที่ควรได้รับการตรวจ ความสมบูรณ์ในที่นี้หมายถึง คำถามทุกข้อมีคำตอบครบตามต้องการหรือไม่  เช่น กรณีเป็นแบบสอบถามให้นิสิต นักศึกษา ตรวจสอบข้อถามแต่ละข้อว่ามีกาเครื่องหมายในช่องระดับความคิดเห็นครบทุกช่องหรือไม่ ถ้าไม่ครบก็ควรให้กลุ่มตัวอย่างดำเนินการตอบให้เรียบร้อย  กรณีแบบสัมภาษณ์ ควรมีการตรวจดูว่า ได้มีการสอบถามครบทุกคำถามหรือยัง  ข้อมูลมีการบันทึกทุกคำถามหรือยัง  ถ้าลืมควรทบทวนบันทึกให้เรียบร้อยเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล
  2.  ความสอดคล้องกัน(Consistency)  จะพบข้อบกพร่องมากในแบบสอบถามอาจจะเกิดจากความตั้งใจ สมัครใจหรือไม่สมัครใจก็ได้  คำตอบที่ไม่ถูกต้องเกิดจากความเกี่ยวพันผลประโยชน์ส่วนตัวหรือเกิดจากความโน้มเอียงทางศักดิ์ศรี  เช่น คำตอบเกี่ยวกับรายได้ การแจ้งอายุมากหรือต่ำกว่าอายุจริง  หรือตอบสถานภาพโสด ข้อต่อไปตอบ มีบุตร 3 คน ซึ่งมีความขัดแย้งอย่างชัดเจน เป็นต้น
  3.  ความชัดเจน (Clarity)  ว่าผู้ตอบแบบสอบถามเขียนข้อความหรือกรอกข้อมูลชัดเจนหรือไม่  เช่น การเขียนตัวเลขต่าง ๆ ในแบบสอบถาม เลข 1 หรือเลข 7  เลข 9 หรือ 0 เป็นต้น

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 19/09/2550

หมายเลขบันทึก: 129516เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท