KMข้อคิดจากอาจารย์ทรงพล ทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้เป็นเรื่อง


หัดฟังคนที่บ้านอย่างลึกซึ้งก่อนไปสอนคนอื่น(ตัวเราต้องเข้าใจและปฏิบัติได้ก่อน ทำกับคนที่บ้านก่อน

18-9-50

วันนี้ดิฉันมีโอกาสเข้ามาคุยกับอาจารย์ทรงพลที่จะมาสอนเราเรื่องการสร้างFAในสถาบัน    หมอหน่อยได้มาปรึกษาและ ไปคุยกับอาจารย์ทรงพล

วันนี้อาจารย์นัดมาคุยกับกรรมการKMและ กรรมการพัฒนาคุณภาพ   และทีมที่เกี่ยวข้อง 

 อาจารย์คงมาวินิจฉัยองค์กรและไม่สอนๆไปตามความรู้ที่มี  

อาจารย์เปรียบท่านเหมือนหมอค่ะ

ดิฉันเล่าให้ท่านฟังเรื่องทั่วๆไปในสถาบัน      หลังจากนั้นหมอรุจ  และมอมก็เล่าเพิ่มเติมว่า   พรพแนะว่าเรามีผู้บริหารที่ตั้งใจและผู้ปฏิบัติให้ใจแต่ขาดแต่ตรงกลางที่จะประสานและเชื่อมต่อค่ะ

หมอต่อ ยกตัวอย่างหมอชยนันท์ที่อยากให้หมอสั่งยาไม่เกินสองสัปดาห์       แต่ทำไม่ได้ทำให้ ท้อใจ

หมอนภาอยากให้พัฒนาห้องบัตร    คุณสุนันทาพูดเรื่อง ผู้บริหารอาจจะไม่ค่อยเปิดโอกาสให้น้องๆได้คิดมากนัก

คุณศิริรัตน์แจ้งว่าอบรม  FA  แล้วลืมแล้วเพราะไม่ได้ทำงานและใช้งาน คุณอารมณ์ คิดว่าได้ความรู้ไปใช้

ตบท้ายด้วยหมอปรีชาบอกว่าจะทำงาน  รักงาน  คุณหมอบอกว่าไม่ไล่ไม่ลาออกค่ะ     จะทำไปเรื่อยๆ และจะทำCQI

สรุป 

คนที่มาอบรมFAควรมาจาก PCTทั้งหมด    IT   IC ( สองไอหนึ่งทีหนึ่งซี)   เภสัช  หมอนภาขอให้ห้องบัตรมีโควต้าเพิ่มพิเศษ

หมอหน่อยเจ้าของงานให้ ปิ่งเป็นคนรับเรื่อง ในการ อบรมและเป็นคนประสานและดำเนินการ

หมอรุจดีใจที่อาจารย์ให้แนวคิดที่ดีที่ให้เราต้องได้ใจเจ้าหน้าที่ก่อน

พวกเราถามถึงคนที่จะถูกเลือกควรมีลักษณะอย่างไร

อาจารย์อยากให้เป็นคนประสานง่าย   รู้จักฟัง  พูดทางบวก  ฟังเป็น

พวกเราอยากให้หัวหน้างานอบรมแล้วจะได้นำไปใช้ได้

อาจารย์กลัวหัวหน้าที่เป็นตัวป่วนค่ะ

 พวกเรารีบแจ้งว่าประเภทนั้นออกไปเกือบหมดแล้วค่ะ

จะนำเสนอชื่อสัปดาห์หน้าและเรามาดูกันอีกครั้งเนื่องจากกลัวเลือกคนผิด ที่เป็นตัวป่วนใหอาจารย์

สิ่งที่ประทับใจ

เราควรทำKMกับคนรอบข้าง   ถ้าเราทนฟังคนในครอบครัวได้    เราควรพัฒนาตัวเองดีขึ้น 

ไม่ใช่ไปสอนคนอื่นแต่ตัวเองไม่รู้เรื่อง     เข้าใจแต่คุยกับลูกน้องไม่รู้เรื่อง 

( สงสัยว่าอาจารย์จะว่าดิฉันหรือเปล่า   ฟังแล้วชักร้อนๆตัว   )

ดิฉันเล่าให้อาจารย์ฟังว่าดิฉันทำKMโดยใช้ตัววัดว่าทนฟังสามีได้ดีขึ้น   

ทนลูกน้องที่ไม่ถูกใจได้มากขึ้น (กำลังสงสัยตัวเองเหมือนกันว่าจะทนได้นานไหม )

  การหลุดของอารมณ์เราน้อยลง

สรุปKMของอาจารย์

ต้องไม่เป็นภาระ ใช้ง่าย  เกิดผล

สุขกับงาน

Share Visionก่อน

ไม่ให้ความสำคัญกับความรู้มากกว่าคน

สร้างใจ กระบวนทัศน์ ความรู้ ทักษะ

อารมณ์ ใจ ความรู้สึกเป็นฐานที่สำคัญ

ออกแบบการเรียนรู้

หัดฟังคนที่บ้านอย่างลึกซึ้งก่อนไปสอนคนอื่น(ตัวเราต้องเข้าใจและปฏิบัติได้ก่อน   ทำกับคนที่บ้านก่อน

ทักษะต้องทำบ่อยๆ  )

การเปิดใจคือต้องเป็นเพื่อนกัน    ( ไม่ปิดบัง  )

ความเป็นเพื่อนต้องมีมิติทางสังคมด้วย

อย่าเอาแต่งานๆๆ   ติดตามงาน   คนจะเบื่อ   ลองคุยเรื่องมิติทางสังคมที่ใกล้ตัวเช่น  คุยเรื่องหนังเกาหลี (นันเสนอ)    การมัดใจสามี(ผอ. เสนอ   )  การกินอาหาร ฟังเพลง ร่วมกัน  

อาจารย์บอกว่า เมื่อคนมีทักษะแล้วจะสามารถปรับใช้ได้ทุกเรื่องค่ะ

เวลาเราคุยกันอาจคุยในเรื่องไม่เป็นเรื่องให้เป็นเรื่องได้ค่ะเช่น(การดูแลลูก   การเก็บและการออม  การสอนการบ้านลูก  )

หลังจากเราด้เทคนิกเราค่อยทำเรื่องเกี่ยวกับงานได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 129456เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2007 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท