R&D : ลองทำดู(๗)


ขั้นที่ ๓  ของกระบวนการวิจัยเชิงประจักษ์ก็คือ "การรวบรวมข้อมูล"

เนื่องจาก สมมุติฐานที่เราได้ตั้งไว้นั้น "ต้องการการทดสอบด้วยข้อมูล" เราจึงต้องเก็บข้อมูลมาเพื่อการนี้ ซึ่งเราต้องดำเนินการอย่างน้อยดังนี้ คือ (๑) เลือกกลุ่มตัวอย่าง   (๒) สร้างเครื่งมือ (๓) เก็บข้อมูล

เครื่องมือตาม(๒) ก็คือ แบบสอบถาม  ซึ่งต้องสอดคล้องกับ สมมุติฐานที่เราตั้งไว้  และ H ของเราก็คือ "ลักษณะของข้อกะทงมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของแบบสอบถาม"  ซึ่งเราจะต้องวิเคราะห์ตัวแปรจาก H  ออกมาก่อน  ซึ่งก็คือ  "ลักษณะของข้อกะทง"  กับ "คุณสมบัติของแบบสอบถาม"

     ข้อกะทง  แปรค่าเป็น  "ข้อความยาว"  --  "ข้อความสั้น"

                                       "จำนวนกะทงมาก -- จำนวนกะทงน้อย"

เราจะได้แบบสอบถามดังนี้

     ฉบับที่ ๑ ข้อความยาว  --  จำนวนกะทงมาก

     ฉบับที่ ๒ ข้อความยาว --  จำนวนกะทงน้อย

     ฉบับที่ ๓ ข้อความสั้น --   จำนวนกะทงมาก

     ฉบับที่ ๔ ข้อกะทงสั้น --  จำนวนกะทงน้อย

     คุณสมบัติ  ของแบบสอบถามก็คือ  ค่าความเที่ยง (Reliability)  กับ ค่าความตรง (Validity)  ซึ่งในที่นี้เราจะเลือกค่าความเที่ยงเพียงอย่างเดียว

จากนั้นก็นำแบบสอบถามไปสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เราเลือกไว้แล้ว  แล้วนำผลมาตรวจให้คะแนน  ก็เป็นอันเสร็จสิ้นของขั้นตอนที่ ๓ ของกระบวนการวิจัย

ขั้นตอนที่ ๓ นี้  ถ้าเป็นรายงานการวิจัย  ก็จะอยู่ในบทที่ว่าด้วย วิธีดำเนินการวิจัย  และถ้าเป็น Research Article  ในวารสารทางวิชาการฉบับมาตรฐานสากล  ก็จะอย่ที่ตอนที่เรียกว่า Method 

ผมบันทึกเรื่องนี้ไว้เพื่อกันลืม ครับ  บางท่านที่เข้ามาเยี่ยม  อาจจะตั้งคำถามอยู่ในใจว่า  --  เอ -- แล้ว R&D อยู่ตรงไหนเล่า?

หมายเลขบันทึก: 129207เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2007 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท