สอนคุณธรรมอย่างไรให้ธำรงสามัคคี หน้า 6


คุณธรรม

อย่างไรก็ตามแม่สี 3 สีกับคุณธรรม 4 ก็ยังมีความแตกต่างกันตรงที่ว่า แม่สีแต่ละชนิด

แม้อยู่โดดเดี่ยวก็ยังเป็นสี คือ แดง น้ำเงิน เหลือง ต่างก็เป็นสีหนึ่งๆได้อย่างอิสระ หากเอาเพียง 2 สีใดก็ได้ผสมกันในอัตราส่วนต่างๆกัน ก็จะได้สีจริงมีชื่อเรียกต่างๆกันมากมาย ผิดกับคุณธรรมแม่บท เพราะแต่ละคุณธรรมหากอยู่โดดเดี่ยวก็จะได้ชื่อว่ากิเลส หรือมีคุณธรรมแม่บท 2 หรือ 3 ประการ ก็คงเป็นกิเลสอยู่นั่นเอง เพราะไม่ครบองค์ 4 คุณธรรมไม่ครบองค์จึงอาจจะดูเหมือนว่าเป็นคุณธรรม แต่เสียศูนย์ และไม่อาจจะเป็นคุณธรรมได้

คุณธรรมแม่ บท 4

 

คุณธรรมแม่บท 4 คือ ลักษณะจำเป็น 4 ประการที่ทำให้การกระทำได้ชื่อว่าดี หากไม่ครบก็ถือว่าเป็นความประพฤติไม่ดี ดังนี้

 

1. ความรู้รอบ (Prudence) ความรู้รอบ ที่เป็นลักษณะจำเป็นของความประพฤติดีนั้นมิได้หมายถึงการมีความรู้มาก ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด มีถมไป ความรู้ รอบ จึงหมายถึงการเล็งเห็น หรือการหยั่งรู้ได้ง่ายและชัดเจนว่าอะไรควรประพฤติ อะไรไม่ควรประพฤติ การแสวงหาความรู้มีส่วนช่วยให้เกิดความรู้รอบ แต่ทว่าความรู้รอบอันลึกซึงส่วนมากเกิดจากการคิดคำนึงและประสบการณ์

 

2. ความเข้มแข็ง (Fortitude, Courage) ความเข้มแข็งทางกายภาพ ได้แก่ กล้าเสี่ยงความยากลำบาก อันตราย และความตาย เพื่ออุดมการณ์ ความเข้มแข็งทางจิตใจ ได้แก่ กล้าเสี่ยง การถูกเข้าใจผิด กล้าเผชิญการใส่ร้ายและการเยาะเย้ย โดยมั่นใจว่าตนทำดี

 3. ความพอเพียง (Sufficiency, Temperance) สัตว์มีสัญชาตญาณกระตุ้นให้กระทำกิจการบางอย่างเพื่อการอยู่รอดของมันและเผ่าพันธุ์ เมื่อหมดความจำเป็นสัญชาตญาณนั้นก็ หยุดทำงานโดยอัตโนมัติ มนุษย์มีสัญชาตญาณเช่นเดียวกันแต่มนุษย์ยังมีความสำนึก สามารถสำนึกและปลุกสัญชาตญาณได้ ตามใจ มนุษย์จึงมักจะใช้ สัญชาตญาณเลยเถิดเกินความจำเป็นตามธรรมชาติ จนบางครั้งปลุกสัญชาตญาณเพื่อความพึงพอใจเท่านั้น การไม่รู้จักควบคุมพลังในตัวให้อยู่ในขอบเขตของจุดมุ่งหมายของชีวิต มักจะก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากมากมายแก่ ตัวเองและสังคม เมื่อคนหนึ่งใช้พลังเกินขอบเขตอย่างไม่ ถูกต้อง ก็มักจะก้าวก่ายสิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่น เช่น

อยากสร้างความมั่นคงให้แก่อนาคตของตนและทายาท ก็จะหาวิธีสั่งสมสมบัติไว้ ไว้มากๆโดยวิธีไม่สุจริต เป็นต้น คุณธรรมความพอเพียงช่วยให้รู้ ว่าอะไรควรอยู่ในขอบเขตแค่ไหน การไม่ใช้สัญชาตญาณเลยจะทำให้เป็นคนไร้พลังและไร้ประโยชน์ การใช้สัญชาตญาณเกินขอบเขตก็มักจะก่อความเดือดร้อน จึงต้องฝึกให้รู้จักใช้พลังและสัญชาตญาณในขอบเขตอันควรในแต่ละสภาพและฐานะของบุคคล

 ความพอเพียงได้แก่การเดินสายกลางระหว่างกิเลสที่ตรงกันข้าม เช่น ความเข้มแข็ง

เป็นทางสายกลางระหว่างความขี้ขลาดกับความบ้าบิ่น ความพอเพียงเป็นทางสายกลางระหว่างการขาดกับการเกินให้สังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่าทางสายกลางมิได้หมายถึงบวกกันหารสองหรือตัวกลางทางเลขคณิต แต่หมายถึงการเก็บแง่ดีจาก 2 ข้างที่เลยเถิด เพื่อดำเนินชีวิตให้สูงขึ้นๆเรื่อยไป ดังนั้นทางสายกลางจึงอยู่ระหว่างกิเลสที่ตรงข้ามกัน แต่อยู่คนละระดับกับกิเลส

 4. ความยุติธรรม (Justice) ได้แก่ การให้แก่ทุกคนและแต่ละคนตามความเหมาะสม (giving each his due) ดังอริสโทเทิลได้นิยามไว้ นั่นคือว่าต้องรู้ว่าเรามีกำลังให้เท่าไร ควรให้แก่ใครเท่าไรและอย่างไร เช่น แก่ตัวเราเอง แก่บุคคลในครอบครัว   แก่บุคคลในวงญาติ เพื่อนฝูง มิตรสหาย แก่บุคคลร่วมงาน แก่ผู้บังคับบัญชา แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ฯลฯ ซึ่งทั้งนี้ย่อมต้องมีคุณธรรมความรู้ รอบ ความเข้มแข็ ง และความพอเพี ยงเข้ ามากำกับด้วยโดยจำเป็น ความยุติธรรมเป็นพื้นฐานของคุณธรรมทุกอย่างดังที่เพลโทได้ให้ข้อสังเกตไว้ อาจจะกล่าวได้ว่า คุณธรรมอื่นอาจเป็นเพียงแง่ต่างๆของความยุติธรรมนั่นเอง ความยุติ ธรรมจึงเป็นแก่นหรือสารัตถะของคุณธรรมทุกชนิด ผู้ใดมีความยุติธรรมสูงย่อมเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมทุกอย่าง คุณธรรมบางอย่าง

อาจไม่ปรากฎออกมาให้เห็น เพราะไม่มีโอกาสจะแสดงออกมา แต่ถ้ามีโอกาสเมื่อใดก็พร้อมที่จะแสดงออกได้ทันทีอย่างถูกต้องเพียบพร้อม ผู้มีความยุติธรรมสูงจึงเป็นผู้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตัว สังคมที่มีความยุ ติธรรมย่อมเป็นสังคมที่สงบสุข เพราะทุกคนมั่นใจว่าตนเองจะได้รับสิทธิอันชอบธรรม หากมีผู้ใดละเมิดก็จะได้รับการลงโทษอันควรแก่โทษ จึงมั่นใจได้ว่าไม่มีใครอยากละเมิดโดยง่าย

คำสำคัญ (Tags): #สามัคคี
หมายเลขบันทึก: 129053เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท