newwave1
หลักสูตร การพัฒนาผู้นำ คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำ


บุคลิกภาพพัฒนาได้ ทั้งการไหว้นั่ง เดิน ยืน ท่วงท่าฝึกไว้อย่าให้ฝืน ให้กลมกลืนทั้งกาละและเทศะ....
บันทึกบทเรียน วันที่ 8 กันยายน 2550 

การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำ วิทยากร : ผศ.ทองทิพภา  วิริยะพันธ์    คณะบริหารธุรกิจ  .หอการค้าไทย

ความสำคัญของบุคลิกภาพ                บุคลิกภาพ (Personality)  หมายถึงลักษณะภาพของบุคคลที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่นหรือภาพที่แสดงในชีวิตสังคมด้านต่างๆ  ดังนี้                1. ด้านกายภาพ  ได้แก่  รูปร่าง  ขนาด  สุขภาพ  ความสุข  น้ำหนัก  การแต่งกาย  หน้าตา  ทรงผม  อิริยาบถต่างๆ  เช่น  นั่ง  เดิน  กิน  ฯลฯ                2. ด้านสมอง  สติปัญญาดี  ความเฉลียวฉลาด                3. ด้านความสามารถ  ได้แก่  ความรู้ด้านวิชาชีพ  ความสามารถในการทำงาน                4. ด้านความประพฤติ  ความมีศีลธรรม  ความสุภาพอ่อนโยน                5. ด้านสังคม  ได้แก่  ทัศนคติที่มีต่อผู้อื่น  กริยาท่าทางการแสดงออก                6. ด้านอารมณ์  อารมณ์มีบทบาทในการกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล  เช่น  อารมณ์ดี  อารมณ์ร้าย  ใจเย็น  ใจร้อน7. ด้านกำลังใจ  ผู้ที่มีกำลังใจเข้มแข็ง  สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆเอาไว้ได้เป็นอย่างดีลักษณะที่เป็นพิษภัยต่อบุคลิกภาพ  เช่น  ความริษยา  ความหยิ่งทะนง  ความมักใหญ่ใฝ่สูง ความอวดดีจองหอง  ความลังเล  ความดื้อรั้น  การมองโลกแง่ร้าย  และอาการทางประสาท

การเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี  

บุคลิกภาพ สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้  โดย                1. การเอาใจใส่สุขภาพ  สุขภาพที่ดี  ช่วยให้บุคคลมีร่างกายแข็งแรง  ปราศจากโรคภัย  หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส                2. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม  ช่วยเสริมสร้างบารมี  ทำให้สังคมเป็นสุข  จะได้รับการยกย่องให้เป็นคนที่มีคุณค่าต่อสังคม                3. ศึกษางานในหน้าที่ให้มากที่สุด  ความรอบรู้นำมาซึ่งความเชื่อมั่นในตนเอง                4. รู้จักถ่อมตน  การไม่ยกตนข่มท่าน  จะช่วยให้เอาชนะใจผู้อื่นได้โดยง่ายถ้าใครต้องการจะทำให้ใหญ่ขึ้นแล้ว  เขาจะต้องทำตัวเสมือนผู้น้อยเสมอ”                5. ฝึกนิสัยให้เป็นคนขวนขวายอยู่เสมอ  มีความกระตือรือร้นในการทำงาน  เป็นผู้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา                6. ฝึกนิสัยให้เป็นนักฟังที่ดี  การฟังผู้อื่น จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่าการเป็นคนสำคัญมีค่าและมีความหมาย                7. ฝึกมีวาทศิลป์  การพูดดีมีวาทศิลป์  ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจในตัวผู้พูด  และเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของผู้พูดบุคลิกภาพที่มีความพอดีหรือรู้จักพอ  

คนที่มีความพอดี  คือ คนที่สามารถจัดการกับชีวิตของตัวเองได้ในทุกด้าน  มองเห็นตนเองในทางที่ดี  ไม่มีแรงกดดันอยู่ในจิตใจ  บุคคลที่มีความพอดีหรือรู้จักพอ  จะสามารถจัดการกับชีวิตได้เป็นอย่างดี  และมีความสุขตามอัตภาพ  ซึ่งในทางตรงกันข้าม  บุคคลที่ไม่รู้จักพอ  จะประสบกับความทุกข์นานัปการ  ดังเช่น  แนวพระราชดำริ  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงชี้แนะให้เห็นว่า  ความพอเพียง คือความสุข”  โคมบส์และสนิกก์ได้อธิบายบุคลิกคนที่มีความพอดีไว้  3  ลักษณะ  ดังนี้                1. การมองเห็นความดีงามในตัวเอง  มนุษย์เมื่อมีความพอแล้ว  จะไม่มีความกังวลหรือเดือดร้อนกับสิ่งที่ตนขาด                2. การยอมรับและปรับแนวความคิดของตนให้เข้ากับผู้อื่น  การยอมรับหมายถึงการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น                3. การเป็นคนพอและการสร้างเอกลักษณ์ให้เหมือนกับคนหมู่มาก  คนที่มีความพอมากเท่าใดจะสามารถกระทำตนให้เป็นผู้มีเอกลักษณ์เดียวกันกับคนอื่นๆได้มากขึ้นนั้น                หากผู้บริหารนำแนวคิดของความพอมาประยุกต์ใช้โดยการคำนึงถึงหลักการของพุทธศาสนาประกอบด้วย  จะเป็นการง่ายแก่ความเข้าใจมากขึ้น  เพราะความพอในจิตใจ     จะนำมาซึ่งความสุข  มนุษย์จะเป็นสุขเพราะเป็นอิสระจากความกลัว  จากความทุกข์ทั้งปวง  ฉะนั้นความพอจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตมาก  ไม่ว่า  คำว่า  พอแล้ว  พอดี  พอเหมาะ  พอใจ  และพอมีพอกิน 

ถ้าเราไม่ตะกละต่อความรวยเราก็ไม่ต้องทุกข์เพราะความจน

ถ้าเราไม่ตะกละต่อความเยินยอเราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะคำนินทา

เพราะความทุกข์ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความพอ                 

นำเสนอโดย จินตนาภร คงชะนะ นวส.6ว คลื่นลูกใหม่ รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 5
หมายเลขบันทึก: 128903เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสดีจ้ะ
  • แวะมาทักทายกันจ้ะ
  •  คนที่มีความพอดี  คือ คนที่สามารถจัดการกับชีวิตของตัวเองได้ในทุกด้าน  มองเห็นตนเองในทางที่ดี  ไม่มีแรงกดดันอยู่ในจิตใจ  บุคคลที่มีความพอดีหรือรู้จักพอ  จะสามารถจัดการกับชีวิตได้เป็นอย่างดี  และมีความสุขตามอัตภาพ  ซึ่งในทางตรงกันข้าม  บุคคลที่ไม่รู้จักพอ 
  • เห็นด้วยนะ กับประโยคนี้  ถ้าทุกคนมีความพอดีและความพอเพียงกับสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่  สังคมทุกวันนี้คงน่าอยู่ขึ้นนะ

พรุ่งนี้ที่อุดรมีงาน OTOPใหญ่เชีญมาเที่ยวอุดรธานีนะครับ

เห็นหรือยังว่า

1. การเปิดบล็อกนอกจากจะเป็นสถานที่นัดพบกันของเราชาว นิวเว็บรุ่นที่ 1 แล้ว

2. ยังมีสมาชิกท่านอื่น ได้เข้ามาเยี่ยมชม และได้รับข่าวสารความรู้ ดีๆ

3. แล้วเราชาว นิวเว็บรุ่น1 หล่ะครับ

ว่าที่ร.ต.ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์

 อยากให้ทุกท่านได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติ  ซึ่งมี 3 ส่วนที่ต้องท่องจำไว้ให้ดี คือ

ทางสายกลาง ประกอบด้วย  3ห่วง คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน

และ 2 เงื่อนไข ความรู้ (ความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ) และคุณธรรม( ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน และอดทน)

นำไปสู่  ชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข สมดุล มั่นคง และยั่งยืน ตลอดกาลนานเทอญ

ซึ่งข้าพเจ้าได้น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะลดความเสี่ยงไปได้มากกว่าวิธีอื่นๆ ทีเดียวละและเป็นคาถาที่ท่องสวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน ครับได้ผลดีมากครับ

ว่าที่ร.ต.ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว  ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย

ชอบแนวคิดคุณดุจเดี่ยวจังเลย ดีมากๆ

สวัสดีจ้ะ น้องเขียว

แวะมาทักทายเหมือนกัน

ขอบคุณน้องที่ช่วยเผยแพร่สิ่งดีๆ และขอบคุณคุณเอนกที่ทำให้เริ่มใช้บล็อกเป็น ถึงแม้จะยังไม่ได้มีบล็อกของตนเอง

ทำไมวันนี้ไม่เห็นน้องเขียวที่มารวย สัมมนาKM หวังว่าคงสบายดีนะ

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาทบทวนความรู้ครับ

สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาวnew weve

ดีใจจังได้ทักทายกันเช้าๆก่อนเริ่มงานวันสดใส ก็คงไม่มีการเซ็งเกิดขึ้นบ่อยๆแล้วนะเพราะมีวิธีแก้แล้วคือคิดถึงเพื่อนๆ อาจารย์ที่สอนเราและเรื่องขำๆจากพวกเรา

คุณ2ด.ทำให้พี่แอ๊ดนึกถึงเรื่องหัวเราะได้เยอะเลยดีแล้วละถือว่าได้สร้างกุศล ขอบคุณ

แวะมาแจมเหมือนกัน
  • ทบทวนความจำสักนิด ดีมากเลย
  • เข้าใจง่ายด้วย
  • คิดถึงทุกคนเลยนะ
  • จะแวะไปเทียวชมเรื่องอื่นอีกครับ
  • ขอบคุณที่มา ลปรร. ค่ะ
  • อยากเป็น new wave บ้าง  แต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์  555

หวัดดีคะ

ชื่อ .......... นะ

แวะมาแจมกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท