อนิจจา..เราช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย(อันเนื่องจากการฝึกนิเทศ)


การเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง..ต้องพิจารณากระบวนการดำเนินงานด้วยสติ

วันนี้..รู้สึกว่าตนเองผิดพลาดอย่างแรง ที่ไม่รอบคอบในการพิจารณา..ผลอันเกิดจากเหตุ..ทำให้สร้างรอยด่างในจิตใจของใครหลายคน

อันเนื่องมาจากการฝึกปฏิบัติการนิเทศการศึกษาแบบกัลยาณมิตร เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2550 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราเรียนรู้ว่า...เราต้องพิจารณาตนเองให้ถ้วนถี่ก่อนที่จะกล่าวโทษผู้อื่น..ขออนุญาตเล่าเหตุการณ์ในวันนั้น...คือเมื่อสมาชิกในกลุ่มได้ร่วมประชุมเพื่อชี้แจงกระบวนการนิเทศและแจกแบบสังเกตพฤติกรรมการสอน(ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในวิธีนิเทศที่ตกลงกันไว้) ก่อนแยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่..ก้อยได้จัดให้สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่ม(สมมุติว่าชื่อ น้องA)ให้ฝึกการนิเทศ ที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และก้อยในฐานะเจ้าของสถานที่ได้นำ น้อง A ไปยังชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ...เมื่อถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก้อยได้แนะนำให้น้อง A รู้จักกับครูประจำชั้น (สมมุติว่าชื่อ ครู B) แต่ยังไม่ทันได้ชี้แจงถึงวิธีการนิเทศที่จะใช้ / ครู B  ก็พูดด้วยน้ำเสียงที่ไม่ค่อยพอใจต่อหน้าน้อง A ว่า "จะมากันทำไมก็ไม่รู้ ไม่มีอะไรให้ดูหรอกนะ" ซึ่งก้อยก็ตอบไปแบบงงงง / ว่า "ก้อยได้แจ้งเรื่องให้ผอ.ทราบและผอ.ก็ได้ทำหนังสือเวียนเพื่อแจ้งแล้วมิใช่หรือ" /  น้อง A คงเห็นใจก้อยก็เลยบอกให้ก้อยออกไปได้ เดี๋ยวเค้าอยู่เองได้

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการนิเทศ ก้อยได้ให้ครูทั้งหมดที่ได้รับการนิเทศประเมินความพึงพอใจในการได้รับการนิเทศ ปรากฏว่า "อาจารย์ B" ก็แสดงทีท่าไม่พอใจและกล่าวในทำนองว่า ไม่เห็นได้สอนอะไรเลยจะให้ประเมินอย่างไร ก้อยก็ได้อธิบายวิธีการนิเทศของกลุ่มให้ครู B ทราบว่ามีวิธีการนิเทศหลากลายวิธี แต่ท่าทางก็ยังไม่พอใจอยู่ดี

เมื่อถึงเวลากลับก้อยได้ส่งน้อง A ที่สถานีขนส่ง ...น้อง A ได้เล่าให้ฟังว่า ..หลังจากที่พี่ก้อยออกจากห้อง ครู B ก็แสดงท่าทางไม่พอใจและกล่าวว่า "ไม่รู้ว่าจะมาทำไม ไม่มีอะไรให้ดู จะมาจ้องจับผิดอะไรกัน" ยอมรับว่าก้อยรู้สึกตกใจและอายที่ได้ยินเช่นนี้ ไม่เข้าใจว่าทำไมครู B จึงแสดงปฏิกิริยาเช่นนี้ต่อหน้าน้อง A ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

ซึ่งก้อยรู้สึกไม่สบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมากในฐานะที่เป็นเจ้าของสถานที่..และคิดว่าครู B คงมีทัศนคติที่ไม่ดี/หรือไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการนิเทศอย่างแท้จริง แต่เมื่อได้พิจารณาและทบทวนเหตุการณ์ในวันนั้นอีกครั้ง..ก็พบความผิดพลาดทางเทคนิค.ดังนี้..

1. ก่อนทำการนิเทศ ก้อยยังไม่ได้ชี้แจงวิธีนิเทศให้ครู B (อารามตกใจกับคำพูดซะก่อน) ทราบว่ากลุ่มได้ตกลงว่าจะใช้วิธีการนิเทศ การสังเกตพฤติกรรมการสอน การสาธิตการสอน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2. น้อง A ได้ถือแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนเข้าไปในห้องและเข้าไปนั่งหลังห้อง ทำให้ครู B ซึ่งมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการนิเทศอยู่แล้ว รู้สึกว่ากำลังถูกประเมินพฤติกรรม(ผ่าน/ไม่ผ่าน) เลยยิ่งทำให้อารมณ์เสีย

3. เมื่อน้อง A เห็นว่า ครู B หงุดหงิด ทำให้บรรยากาศตึงเครียด เมื่อนั่งได้สักพัก น้อง A จึงขอตัวออกจากห้อง โดยมิได้พยายามชี้แจงทำความเข้าใจ

องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว คือ
1. ก่อนนิเทศผู้นิเทศต้องชี้แจงให้ครูทราบถึงวิธีการนิเทศ และพยายามสร้างความความคุ้นเคย/ศรัทธา ให้เกิดกับผู้ถูกนิเทศ(ครู)
2. ไม่ควรถือแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนเข้าไปในห้อง หรือหากนำเข้าไปก็ไม่ควรนำออกมาขีดเขียนอะไรต่อหน้าผู้ถูกนิเทศ เพราะอาจทำให้ผู้ถูกนิเทศรู้สึกอึดอัด เหมือนว่ากำลังถูกพิพากษา
3. ผู้นิเทศควรมีจิตวิทยา มีไหวพริบในการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นและพร้อมจะเผชิญและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์)

สรุป...ยึดหลักกัลยาณมิตรให้จงมั่น พร้อมรับทุกสถานการณ์ พยายามเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส สร้างศาสตร์ให้เกิดกับครู

ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยละเอียด..ถือได้ว่ากลุ่มของก้อย..โชคดีมาก ที่การทำกิจกรรมในครั้งนี้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น..เนื่องจากในการปฏิบัติงานจริงเรามีโอกาสพบครูที่อาจมีทัศนคติที่ไม่ดีและพฤติกรรมต่อต้านเช่นนี้ได้ในทุกที่...เราจึงเกิดองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงและมีมุมมองที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น..และต้องขอบคุณ "คุณครู B" ด้วยใจจริงที่ทำให้กลุ่มของก้อยพบเรื่องราวดีดีที่ซุกซ่อนอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ และที่สำคัญทำให้ก้อยมีเรื่องมาเขียนใน G2K ได้...ขอบคุณคร้าบ

หมายเลขบันทึก: 128864เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 01:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผลการเรียนรู้จากการนิเทศเป็นอย่างไรบ้างครับ บันทึกไว้ที่ไหนหรือเปล่า ผมสนใจ

  • การที่ครู B มีทัศนคติเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อวิชาชีพครู หรือการนิเทศเลยครับ น่าจะต้องหาทางช่วยเหลือ ซึ่งอาจดำเนินการดังนี้

เราไปพบครู B แล้วเชิญให้ไปทำหน้าที่ผู้นิเทศ  โดยอาจพูดดังนี้(ผมคิดเองนะครับ)

เรา..."อาจารย์ครับ ในฐานะที่อาจารย์มีประสบการณ์ในการสอน ขอให้ช่วยไปสังเกตการสอนและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสอนของผมหน่อยนะครับ"(ต้องขอร้อง จนครู B รับปาก)  หลังจากนั้นก้จัดให้มีการสังเกตการสอนจริง ๆ   เราอาจใช้ 2 ทางเลือก คือ 1) เตรียมการสอนให้ดีที่สุด แล้วแสดงตามที่เตรียม  หรือ 2) สอนให้มีข้อบกพร่อง เพื่อให้ครู B วิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะ   ถ้าใช้วิธีที่ 2 เราควรเชิญครู B ไปสังเกตการสอนอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เราปรับปรุงแล้ว(รอบหลังเตรียมอย่างดี)  ครู B น่าจะชมว่า "การสอนดีขึ้นมากเลย" ....เราก็ต้องขอบคุณครู B ด้วยความจริงใจ

    ครู B น่าจะเห็นคุณค่าของการนิเทศการสอนมากขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท