พหุปัญญา (Multiple Intelligence)


พหุปัญญา (Multiple Intelligence)

แนวคิดการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา

                                การจะใช้พหุปัญญาใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อย่างไรนั้นเราคงต้องเริ่มต้นด้วยเป้าหมายและค่านิยมของการศึกษา เช่น สอนเพื่อเข้าใจ เพื่อเตรียมบุคคลให้ทำงานเมื่อจบจากโรงเรียนแล้ว การพัฒนาศักยภาพของคนอย่างเต็มที่หรือสอนให้เด็กเชี่ยวชาญในวิชาหลัก เราจึงจะตอบได้ว่า พหุปัญญา (MI) จะนำมาใช้ได้อย่างไร ดร.การ์ดเนอร์ เห็นว่า พหุปัญญาจะเป็นเครื่องมือที่ดีเลิศในการเรียนการสอน  จากทฤษฎีดังกล่าวนี้ มี แนวคิดสำคัญคือ ความฉลาด ความเก่งหรือปัญญาของมนุษย์มีหลากหลาย จึงมีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องได้รับการส่งเสริมให้ถูกทางเต็มที่ เพื่อให้ความเก่งของมนุษย์ปรากฏออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยแนวคิดนี้ ครูควรค้นศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน และเมื่อพบแล้วก็ให้โอกาสนักเรียนได้พัฒนาความสามารถตามศักยภาพนั้น ซึ่งมีแนวทางกว้าง ๆ ดังนี้     1) ทำความรู้จักและเข้าใจนักเรียนแต่ละคน เช่น ศึกษาประวัติ เพื่อให้ทราบภูมิหลัง จุดเด่น จุดด้อย สภาพจิตใจ ความคิด ความฝัน ความทุกข์ ความสุข แล้วจัดทำข้อมูลไว้  2) ปฏิบัติตนให้นักเรียนเกิดความรัก ศรัทธา และไว้วางใจ ด้วยการเป็นกัลยาณมิตร รักษาความลับ มีความจริงใจ พร้อมที่จะช่วยเหลือ ให้สติและให้กำลังใจ  3) จัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ให้นักเรียนได้เรียนเป็นกลุ่ม ได้ทำกิจกรรมและสร้างผลงานอย่างหลากหลายตามความสามารถ  4) สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ตลอดจนการร่วมมือกับผู้ปกครองในการสร้างเสริม ดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้าน  5) ใช้เทคนิคการแนะแนว เพื่อให้สามารถสังเกตศักยภาพด้านต่าง ๆ ตลอดจนปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข  6) ใช้การประเมินผลด้วยวิธีที่เหมาะสมและครอบคลุมตามสภาพจริงของนักเรียน เช่น การทดสอบความรู้พื้นฐาน การประเมินจากแฟ้มผลงาน การประเมินกระบวนการทำงาน การประเมินจากพัฒนาการลักษณะนิสัย และการวัดความสามารถพิเศษด้วยข้อสอบมาตรฐาน                           

แคมป์เบลล์ (Campbell.1997) ได้กล่าวถึงการใช้พหุปัญญาในห้องเรียน ดังนี้  1) ใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียน เช่น เด็กบางคนอาจจะเข้าใจกราฟหรือพีชคณิต หรือเรขาคณิตบนกระดานดำยาก ครูจึงทำสนามเล่นหน้าโรงเรียนเป็นแกนกราฟ ครูนำนักเรียนมาทำกราฟที่สนามโดยทุกคนเป็นจุด ๆ หนึ่งบนเส้นกราฟ หรือในออสเตรเลีย โรงเรียนแห่งหนึ่งมีสนามเล่นปูอิฐเป็นรูปสุริยจักรวาล ครูนำเด็กมาเรียนดาราศาสตร์ในสนาม เด็ก ๆ เป็นดวงดาวต่าง ๆ หมุนรอบดวงอาทิตย์ เป็นต้น   2. ใช้ในการเสริมบทเรียน โรงเรียนในอเมริกาหลายโรงจัดสัปดาห์พหุปัญญา โดยพยายามใช้ปัญญาหลายอย่างในการเข้าใจบทเรียน เช่น ใช้ศิลปะหรือการละคร ในการเรียนวรรณคดีหรือเรียนดาราศาสตร์ หัวข้อสุริยจักรวาล โดยการใช้ปัญญาทางตรรกะและคณิตศาสตร์วัดระยะทางระหว่างดวงดาวที่สนามเล่น เดินเป็นดาวต่าง ๆ รอบดวงอาทิตย์ (ความสามารถทางกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว) เขียน หรือพูดบรรยายเกี่ยวกับสุริยจักรวาล (การใช้ภาษาพูดและเขียน) เป็นต้น แต่ละบทเรียนไม่จำเป็นต้องใช้ทุกปัญญา   3. ใช้ในการส่งเสริมการทำงานด้วยตนเองโดยครูให้เด็กคิด ริเริ่ม ค้นคว้า ดำเนินงานและรายงานผลการทำโครงงานของตนเอง ซึ่งเด็กมีโอกาสใช้แทบทุกปัญญาทั้ง 8 รายการได้  4. ใช้ในการประเมินผล นั่นคือให้เด็กที่ทำโครงงานเสนอโครงงานหรือแสดงโครงงานและฝึกประเมินโครงงานของตนโดยตนเอง และให้เพื่อน ๆ ช่วยประเมินด้วย เด็กจะได้ฝึกปัญญาต่าง ๆ หลายด้านเช่นกัน    5. การฝึกเป็นลูกเสือ ในข้อนี้ ดร.การ์ดเนอร์ ได้เสนอให้นักเรียนประถมและมัธยมฝึกเป็นลูกมือหรือฝึกงาน 3 ด้านคือ (1) ด้านศิลปหัตถกรรม (2) ด้านวิชาการ และ (3) ด้านร่างกาย เช่น กีฬาหรือกิจกรรมการแสดงกับสถานที่หนึ่ง โดยความร่วมมือของชุมชน

หมายเลขบันทึก: 128551เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณนะคะที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นให้
  • การบันทึกเรื่องราวต่างๆทำให้เราได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆแล้วยังทำให้เราได้เพื่อนด้วยค่ะ
  • แล้วจะมาเยี่ยมบล็อกบ่อยๆนะคะ
  • อย่าลืมมาทักทายบล็อกณัฐบ้างนะคะ
  • http://gotoknow.org/blog/nutjung-282532
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท