สัปดาห์ที่ 9-การออมและการใช้จ่ายเงินที่ออม


การออม
สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิตที่ผ่านการศึกษาวิชา การวางเป้าหมายและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต มาแล้ว เพื่อนนักศึกษาทุกท่านย่อมได้ฝึกการทำบัญชีครัวเรือน และได้เห็นความสำคัญของการพิจารณาตัวเลขรายรับ รายจ่าย ตลอดถึงการออมเงิน ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราตรวจพบวิธีการจัดการสภาพคล่องการเงินของเราเอง

ไม่ทราบว่าเพื่อนนักศึกษาได้เคยมองอีกมุมหนึ่งหรือไม่ว่า ในกรณีที่เราสามารถเก็บออมเงินได้นั้น มันมีแรงจูงใจทั้ง
1. ทำให้เรามีกำลังใจที่จะเก็บออมเงินต่อไป
2. ทำให้เรามีความอยากจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีจำนวนเงินออมที่มากขึ้น ความสามารถในการจ่ายก็ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย

กรณีที่สองนี้ ทำให้ข้าพเจ้าให้ความสำคัญกับการกำหนดวินัยในการออม และเป้าหมายของการใช้เงินที่ออมนั้นอย่างเคร่งครัดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะหากเผลอสติเมื่อใด ก็มีโอกาสใช้เงินออมนั้นไปอย่างไม่คุ้มค่ามากขึ้นเมื่อนั้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้นได้ง่ายมาก เนื่องจากมีสิ่งเร้ากระตุ้นให้เผลออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ตลอดถึงแคตาล็อกที่มีส่งให้ถึงบ้าน

ท่านอื่นมีความเห็นเช่นไรกับแรงจูงใจในการเก็บออม และใช้เงินที่เก็บออมนั้น?
คำสำคัญ (Tags): #การออม
หมายเลขบันทึก: 128541เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หนึ่ง - ตระหนักในการออมเป็นเบื้องต้น
  • สอง - พึงคำนึงว่า
    รายได้ - ค่าใช้จ่าย = เงินออม  ไม่มีเงินเหลือออม
    รายได้ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย  อย่างนี้มีเงินออมแน่นอน
  • สาม - เริ่มออมตั้งแต่บัดนี้ครับ

สวัสดีครับนักศึกษาทุก ๆคน

แวะมาเยี่ยม  ขอแสดงความดีใจด้วยครับ

ออมดีมีเงินใช้จ่าย ออมดีไม่ได้ เป็นออมสินแตกครับ

เก็บออม  ไมใช่ อดออม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท