สัมมนาภาวะโลกร้อนกับผลผลิตทางการเกษตร (2) :การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่องานด้านส่งเสริมการเกษตร


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่องานด้านส่งเสริมการเกษตร

               จากตอนที่แล้ว  http://gotoknow.org/blog/www-doae/127829  ได้เล่าภาพรวมของการสัมมนาเรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตทางการเกษตร เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ 

             การสัมมนาในคร้งนี้  วิทยากรแต่ละท่านได้ให้ความรู้ถึงสาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อสิ่งต่างๆ ของโลกเรามากมาย และใช้หลักวิทยาศาสตร์มาบรรยายให้เราได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง  ซึ่งทำให้ดิฉันเก็บความรู้มาได้บ้างไม่ได้บ้าง ที่ลึกซึ้งเป็นความรู้เฉพาะด้านจริงๆ ก็ผ่านๆ ไป แต่ก็พยายามจะเก็บมาถ่ายทอดเท่าที่เก็บมาได้ในภาพรวมแล้วกันนะคะ...

             ขอเริ่มจาก ผศ.ดร. กัณฑรีย์ บุญประกอบ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  บรรยายเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่องานด้านส่งเสริมการเกษตร     มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ดังนี้

                  

                                  ผศ.ดร. กัณฑรีย์ บุญประกอบ

 

  • สถานการณ์/ปัญหา    ปัจจุบันนี้ โลกของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น คลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น เกิดภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ ฤดูกาลแปรปรวน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำในทะเลสูงขึ้นๆ 
  •  สาเหตุก็มาจาก ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น 
  •  ทางออก คือ เ ราต้องมีการปรับตัว (Adaptation) ให้อยู่ได้ในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง  และลดสาเหตุของปัญหา (Mitigation) โดยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั่นเอง
  •  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change  ก็คือ   การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของอากาศ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เรา ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งมีผลทำให้ส่วนประกอบของบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป  นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน
  • ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

          -ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง  มีผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร และการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ -ผลผลิตจากธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ

           -ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย  น้ำทะเลขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

          -เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ     พายุ น้ำท่วม ไฟป่ารุนแรง ถี่ขึ้น

  • การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่พบว่าเกิดขึ้นแล้ว ในศตวรรษที่ 20 

         -พืช แมลงนก ปลา อพยพขึ้นเหนือหรือสูงขึ้นตามแนวเทือกเขา

         -ฤดูกาลเพาะปลูกยาวนานขึ้นทางละติจูดเหนือ

         -พืชออกดอกเร็วขึ้น นกอพยพมาเร็วขึ้น ฤดูผสมพันธุ์ และแมลงวางไข่เร็วขึ้นในซีกโลกเหนือ

  • ความเป็นไปได้ของผลกระทบที่จะเกิดกับระบบนิเวศ

         -อาจทำให้ระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คืนกลับของระบบโลก (Earth system)

         -ส่วนประกอบของชนิดพันธุ์พืช/สัตว์ และความเด่นของชนิดพันธุ์พืช/สัตว์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง   

         -ขนาดและความหนาแน่นของประชากรของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง

         -พฤติกรรมสัตว์ป่าเปลี่ยนแปลง

  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาของโลก และเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์  UNEP&WMO จึงได้ก่อตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ United Nation Framwork Convention on Climate Change  (UNFCCC) 1992   โดยมีการกำหนดคำสำคัญ( Key Words ) เกี่ยวกับ Climate Change ตาม UNFCCC คือ

          -ต้องทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกคงที่

          -เพื่อให้ระบบนิเวศมีการปรับตัว

         -การผลิตอาหารมั่นคง

         -และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

  • การจะทำสิ่งต่างๆดังกล่าวได้  จำเป็นต้อง

          -มีองค์ความรู้ เชิงวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ แบบบูรณาการ (Interdisciplinary)

         -จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างนานาชาติ ทั้งเชิงวิจัย และนโยบาย เพื่อทำให้โลกนี้รอด

  • กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มขึ้น

          -การใช้พลังงานฟอสซิล (น้ำมัน ถ่านหิน)  และการสูญเสียพื้นที่ป่า     ทำให้เพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

          -การทำนาข้าว   การทำปศุสัตว์ การบำบัดของเสีย        ทำให้เพิ่ม  ก๊าซมีเทน

          -การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน    ทำให้เกิดก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์  

  •   ประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด

            1. USA  2.จีน 3.กลุ่ม EU 25  ประเทศ 4.รัสเซีย 5.อินเดีย

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (หลีกเลี่ยงไม่ได้)  เราต้องรับสภาพ และปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • ปัญหาที่สำคัญของมนุษย์ คือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ต่างๆ จะปรับตัวอย่างไรให้มีผลกระทบน้อยที่สุด   จึงจำเป็นต้องมีการสร้างแบบจำลองภูมิอากาศในอนาคต ลดสาเหตุทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงน้อยลงได้อย่างไร ลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร
  • มีการจำลองภาพการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต  แบบจำลองภูมิอากาศ สร้างภาพจำลองภูมิอากาศในอนาคต
  • การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น

          -อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้น 1.4 - 5.8 องศา C

          -ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 0.09 - 0.88 เมตร

         -ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นหรือลดลงในบางพื้นที่

         -ความถี่และความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มขึ้น

         -ระบบนิเวศตามธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร โดยบางกรณีไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิม

  • ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในศตวรรษที่ 21

         -อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น วันร้อนๆ และคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น  ทำให้ สิ่งมีชีวิตมีการเจ็บป่วย และตายเพิ่มขึ้น พืชได้รับความเสียหาย ความต้องการไฟฟ้ามากขึ้น  (อุณหภูมิสูง  ทำให้ความสมบูรณ์ของละอองเรณูข้าวลดลง  อุณหภูมิมีผลต่อผลผลิตพืชในทางทฤษฎี อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยทำให้ผลผลิตในเขตอบอุ่นเพิ่มขึ้น แต่ในเขตร้อนลดลง)

         -ฝนตกแรงและหนักขึ้น  ทำให้ความเสียหายจากน้ำท่วม ดินทรุด โคลนถล่ม สูยเสียหน้าดิน สาธารณภัยมากขึ้น

          -พายุโซนร้อน เพิ่มขึ้น  ชีวิตมีความเสี่ยงภัย  การระบาดของโรคติดต่อมากขึ้น ระบบนิเวศชายฝั่งเสียหาย

          -น้ำท่วมและภัยแล้งรุนแรงขึ้น เนื่องจากเอง นิโญ  ทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลง ศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลดลง

          -มรสุมในเอเชียแปรปรวนยิ่งขึ้น  ทำให้เกิดภัยแล้งและน้ำท่วมรุนแรงขึ้นในเอเชียและเขตอบอุ่น   

  • ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศรุนแรงที่สุด เพราะขาดความรู้ เทคโนโลยี กลไกและสถาบันในการปรับตัว
  • ผลกระทบและแนวทางในการปรับตัว

          -ผลผลิตทางการเกษตร  

           ผลกระทบ   อุณหภูมิ น้ำฝนและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการผลิตดอก และติดผล

           แนวทางการปรับตัว   เปลี่ยนแปลงพื้นที่และเวลาปลูก   ปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

          -ปศุสัตว์

            ผลกระทบ    สัตว์เกิดความเครียด ป่วยเป็นโรคระบาดส่งผผลต่อปริมาณคุณภาพ และผลผลิตปศุสัตว์

           แนวทางการปรับตัว     ปรับเปลี่ยนพื้นที่หรือรูปแบบในการเลี้ยงสัตว์  ปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์สัตว์ที่ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

         -ทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ

           ผลกระทบ      โครงสร้างป่าเปลี่ยนแปลงมีผลต่อสมดุลของระบบนิเวศ  พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธุ์  ผลผลิตป่าไม้ลดลง สูญเสียแหล่งพันธุกรรม

           แนวทางการปรับตัว      เชื่อมโยงพื้นที่อยู่อาศัย อุทยานฯ ด้วยการสร้างเป็นที่อพยพของพืชและสัตว์  อนุรักษ์พันธุกรรมในและนอกพื้นที่อยู่อาศัย

          -ทรัพยากรน้ำจืด

            ผลกระทบ       คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงจากการระเหยน้ำเพิ่มขึ้นและน้ำทะเลหนุน  น้ำท่วมและภัยแล้งจากความแปนปรวนของน้ำฝน

              แนวทางการปรับตัว       สร้างแนวป้องกันน้ำท่วม  วางแผนการใช้ทรัพยากรน้ำ

               -ทรัพยากรชายฝั่งทะเลและการประมง

                  ผลกระทบ   ระบบนิเวศชายฝั่งเสื่อมโทรมจากการเพิ่มระดับน้ำทะเล พายุ และความรุนแรงของคลื่น  ผลผลิตทางการประมงลดลง สูญเสียชุมชนชายฝั่ง

                   แนวทางการปรับตัว   สร้างแนวป้องกันชายฝั่ง  เคลื่อนย้ายชุมชนและปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและชุมชนชายฝั่ง

              -สุขภาพอนามัย

                  ผลกระทบ   พื้นที่ระบาดของโรค เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออกเปลี่ยนแปลง  ไม่สามารถระบายน้ำเสีย เนื่องจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดโรคระบาด เช่น อหิวาหตกโรค  มีการเจ็บป่วยเนื่องจากอุณหภูมิสูงและคลื่นความร้อน  เกิดความเครียดจากการปรับตัวทางสังคม เษรษฐกิจ และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อยครั้ง

                   แนวทางการปรับตัว    ให้ความรู้ประชาชนด้านสุขอนามัยและโรคติดต่อในสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง  ให้บริกาทางสังคมที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเครียดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย โรคระบาดและโภชนาการ  ปรับปรุงระบบสุขาภิบาลให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

          สุดท้าย วิทยากรได้มีข้อเสนอแนะว่าสิ่งที่ประเทศไทยควรเร่งดำเนินการด้าน  Climate Change 

         -จัดตั้ง Climate Change Research Center เป็นหน่วยประสานงาน

          -แบ่งกลุ่มการทำงานออกเป็น 2 กลุ่ม

           1. เจรจาตาม UNFCCC 

           2. การวิจัยตามแนวทางของ IPCC  (Intergovernmenttal Panel on Climate Change)

          -มีแผนแม่บทการวิจัยแบบบูรณาการ และ

          -มีการพัฒนาบุคลากรแบบบูรณาการ

และสำหรับท่านที่สนใจเรื่อง Climate Change  สามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ http://www.ru.ac.th/climate%2Dchange/

           

 นันทา ติงสมบุติยุทธ์

15 กย. 50            

หมายเลขบันทึก: 128463เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามมาอ่านต่อครับ
  • บันทึกนี้มีประโยชน์มาก ๆ ครับ
  • คงต้องช่วยกันสร้างความตระหนักให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกรครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณ น้องวิศรุต ที่หมั่นให้กำลังใจ
  • อย่าลืมเล่าเรื่อง เวทีในตลาดนัดความรู้ด้วยนะคะ จะคอยติดตามค่ะ

ดิฉันสนใจเรื่องนี้มากค่ะ ขอความกรุณาชวยส่งข้อมูลที่ที่ e-mail ของดิฉันด้วยนะค่ะ อีเมล คือ [email protected] ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ (ต้องการมากๆๆๆๆๆๆๆๆเพราะจะต้องทำรายงานค่ะ )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท