การสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ เดือน ม.ค.49 (กำแพงเพชร สายที่ 2)


ทุกคนต่างเห็นแล้วว่า เราต้องใช้พื้นทีหรือเกษตรกรเป็นตัวตั้ง แล้วระดมสรรพกำลังทุกอย่างที่มีอยู่มาทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เราจะต้องทำลายวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นแบบ "ตัวใครตัวมัน" หรือ "งานข้าใครอย่าแตะ" ให้หมดไป เพราะรวมกันเราอยู่ แต่แยกกันเราแย่แน่ๆ ครับ

         19 มกราคม 2549 เป็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (DW) สายที่2 ของนักส่งเสริมการเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร วันที่ 18 มกราคม เป็นของสายที่1 (ลิงค์สายที่ 1)โดยสายที่ 2 นี้ ใช้สถานที่ห้องประชุมของที่ว่าการอำเภอคลองขลุง มีนักส่งเสริมการเกษตรของอำเภอคลองขลุง, ขาณุวรลักษบุรี ,ทรายทองวัฒนา,ปางศิลาทอง,คลองลาน และกิ่งอำเภอบึงสามัคคี มาร่วมการสัมมนา แต่น่าเสียดายหลายท่านที่ไม่ได้เข้าร่วมการสัมมนาเนื่องจากติดราชการ (เป็นธรรมดาของราชการ)

          ภาคเช้า

          เริ่มด้วยการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนงงานโครงการต่างๆ และตามด้วยการแบ่งกลุ่มนักส่งเสริมการเกษตรออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อร่วมกันระดมแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ใช้เวลาของภาคเช้าทั้งหมด และต่อไปจนถึงเวลาประมาณ 13.30 น ซึ่งทีมงานก็ได้พยายามปรับเวลาและดำเนินกระบวนการเพื่อรักษาเวลา เพราะนัดกลุ่มเกษตรกรที่จะไปศึกษาดูงานกันในเวลา13.00 น

  • บรรยากาศ  การสัมมนาในภาคเช้าที่เริ่มด้วยการชี้แจงแผนงานโครงการ (วิธีเก่าครับ)

                                         บรรยากาศในการสัมมนาฯของสายที่2 ณ ห้องประชุมอำเภอคลองขลุง

  • หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มนักส่งเสริมการเกษตรออกเป็น 4 กลุ่ม ช่วยกันระดมเพื่อแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ เกี่ยวกับการจำแนกพื้นที่ ,การบูรณาการแผน ,การถ่ายทอดเทคโนโลยี , การสร้างเครือข่าย, การตลาด  และการประเมินผล เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม (ร่วมคิด)

                                         การแบ่งกลุ่มนักส่งเสริมร่วมกันระดมความคิด เพื่อแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ

          ภาคบ่าย

  • เริ่มภาคบ่าย ด้วยการไปเยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรชีวภาพ บ้านบึงลาด หมู่ที่ 4 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง โดยคุณสังวาลย์  กันธิมา นักส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 และคุณสัญชัย  ปานสุด ประธานกลุ่มฯได้นำสมาชิกกลุ่มให้การต้อนรับ  และทางกลุ่มได้สรุปผลการดำเนินงาน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มฯ กับนักส่งเสริมการเกษตรจากอำเภอต่างๆ อย่างหลากหลาย

                                         ศึกษาดูงานกลุ่มเกษตรชีวภาพ หมู่ที่ 4 ตำบลวังแขม อ.คลองขลุง

  • หลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรชีวภาพบึงลาดแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการ AAR ซึ่งผมได้เป็นคนดำเนินการ ก่อนทำ AAR ก็ได้จัดเก้าอี้ให้เป็นวงกลม เพื่อลบบรรยากาศที่เป็นทางการ สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง วันนี้ใช้ 3 คำถามหลักๆ และผลที่ได้ร่วมกันสรุป เป็นดังนี้ครับ

          สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

  1. ได้เห็นการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมคิดและวางแผนร่วมกัน
  2. ได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการทั้งความคิด/การปฏิบัติ
  3. เรียนรู้วิธีการประเมินผล (ที่กำลังทำ AAR)
  4. ได้เห็นวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  5. วิธีการขอรับการสนับสนุนงบประมาณของตำบลวังแขม
  6. ได้เรียนรู้วิธีการทำงานให้ประสบผลสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ
  7. เห็นกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
  8. เรียนรู้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มที่ดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ
  9. ได้เรียนรู้และศึกษาจากกลุ่มโดยตรง ซึ่งได้เห็นของจริง
  10. ได้เรียนรู้วิธีการระดมความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

         สิ่งที่จะนำกลับไปปรับใช้ในพื้นที่

  1. การกลับไปต่อยอดการทำงานกับกลุ่มในพื้นที่
  2. ต้องกลับไปร่วมกับคณะทำงานศูนย์ฯ ขอรับการสนับสนุนจาก อบต.
  3. ต้องกลับไปพัฒนากลุ่มอาชีพในตำบลต่อไป โดยนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปปรับใช้
  4. ต้องประสานงานและเข้าถึง อบต.ให้มากกว่านี้

                                          AAR นักส่งเสริมการเกษตร สายที่ 2

          ข้อเสนอแนะกับทีมงาน

  1. ควรใช้ประโยชน์จากคลีนิกเกษตร ในการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน(ช่วยนักส่งเสริมในพื้นที่)
  2. การคัดเลือกสถานที่ศึกษาดูงานไม่ควรไกลจากสถานที่จัดสัมมนามากเกินไป
  3. หากมีหลายจุด อาจปรับเปลี่ยนให้เชิญเกษตรกรมาเล่าเรื่องแทนการออกไปดูงานในบางจุด
  4. ข้อเสนอแนะกับเพื่อนนักส่งเสริมฯ ควรตรงต่อเวลาเพราะเราคือนักพัฒนาต้องตรงเวลานัด

         ใช้คำถาม และกลุ่มนักส่งเสริมการเกษตรร่วมกันแสดงความคิดเห็น แล้วผมจะเป็นคนจดบันทึกและกระตุ้น หรือดึงเข้ามาสู่ประเด็น  บรรยากาศการมีส่วนร่วมดีมาก ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า กระบวนการที่ใช้ในวันนี้ แม้จะเป็นครั้งแรกแต่ก็เป็นกระบวนการเริ่มต้นแบบมีส่วนร่วมที่ดี และก่อให้เกิดกำลังใจและแนวทางในการทำงานร่วมกัน ทุกคนต่างเห็นแล้วว่าเราต้องใช้พื้นทีหรือเกษตรกรเป็นตัวตั้ง แล้วระดมสรรพกำลังทุกอย่างที่มีอยู่มาทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์  เราจะต้องทำลายวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นแบบ "ตัวใครตัวมัน" หรือ "งานข้าใครอย่าแตะ" ให้หมดไป  เพราะรวมกันเราอยู่ แต่แยกกันเราแย่แน่ๆ ครับ 

          เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่บันทึกมาเพื่อ ลปรร.ครับ ทีมงานคงต้องเรียนรู้และพัฒนากระบวนการกันต่อไปครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก 20/01/49

หมายเลขบันทึก: 12805เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2006 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท